Previous Page  17 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 17 / 62 Next Page
Page Background

17

ปีที่ 43 ฉบับที่ 195 กรกฎาคม - สิงหาคม 2558

ในวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 19.00 น.

ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดีจะชุมนุมกันในกลุ่ม

ดาวปู ปรากฏการณ์นี้จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยยืนหันหน้าไป

ทางทิศตะวันตก เวลา 19.00 น. จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น

(ตามปฏิทินตรงกับขึ้น 5 ค�่

ำ) อยู่ต�่

ำกว่าดาวศุกร์ซึ่งเป็นดาวเคราะห์

ดวงสว่างที่สุดรองจากดวงจันทร์

ซ้ายมือสูงกว่าดาวศุกร์คือ

ดาวพฤหัสบดี ดวงจันทร์เสี้ยวข้างขึ้นมีลักษณะเหมือนริมฝีปาก

ของคนก�

ำลังยิ้ม ท�

ำให้ปรากฏการณ์ชุมนุมของดวงจันทร์

ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี ในครั้งนี้ว่าเป็น ดวงจันทร์ยิ้มได้

โดยมีดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีเป็นตา 2 ข้าง ดังรูป 1.

ที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เวลา 19:00 น. ดังรูป 2. ดวงจันทร์ยิ้มอยู่ทางตะวันออกของ

ดวงอาทิตย์เป็นมุม 46 องศา ดาวศุกร์อยู่ทางตะวันออกของ

ดวงอาทิตย์ 44 องศา ในขณะที่ดาวพฤหัสบดีอยู่ทางตะวันออก

ของดวงอาทิตย์ 50 องศา ท�

ำให้ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ และทุกแห่ง

ในประเทศไทยเห็นดวงจันทร์ยิ้มโดยมีตาข้างเดียวคือดาว

พฤหัสบดีซึ่งสว่างน้อยกว่าดาวศุกร์ ดาวศุกร์อยู่ต�่

ำกว่าดาวพฤหัสบดี

และอยู่ขวามือของดวงจันทร์ โดยอยู่ห่างดวงจันทร์ไปทางเหนือ

ประมาณ 10 องศา

ดวงจันทร์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา

19:00 น. เป็นดวงจันทร์ข้างขึ้น ตามปฏิทินจันทรคติของไทย

ตรงกับข้างขึ้น 5 ค�่

ำ อยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์ 46 องศา

จึงตกหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 3 ชั่วโมง เมื่อเวลา 19:00 น.

ดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกประมาณ 35 องศา

มีโชติมาตร -8.96 มีขนาดเชิงมุม 31.9 ลิปดา ในวันต่อไป

ดวงจันทร์จะอยู่ห่างดวงอาทิตย์มากกว่านี้ ท�

ำให้เห็นดวงจันทร์

ในเวลาหัวค�่

ำอยู่สูงจากขอบฟ้าตะวันตกมากขึ้น และสว่างมากขึ้น

ความเป็นเสี้ยวน้อยลง เคลื่อนที่ห่างไปทางตะวันออกของดาวศุกร์

มากขึ้น ในวันขึ้น 8 ค�่

ำดวงจันทร์จะปรากฏเป็นรูปครึ่งวงกลม

เวลาประมาณเที่ยงวัน เมื่อเวลาหัวค�่

ำจึงอยู่สูงประมาณ 80 องศา

จากขอบฟ้าทิศใต้ โดยเส้นแบ่งส่วนสว่างและส่วนมืดของดวงจันทร์

เมื่อต่อออกไปจนถึงขอบฟ้า จะตั้งฉากกับขอบฟ้าตรงจุดทิศใต้

เราจึงใช้ดวงจันทร์บอกทิศได้เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์หรือดาวอื่น ๆ

เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ประมาณ

วันที่ 1 กรกฎาคม จะเห็นดวงจันทร์เป็นจันทร์เพ็ญมีขนาด

เชิงมุม 31 ลิปดา 54 พิลิปดา (อยู่ที่ระยะห่างประมาณ 360,000

กิโลเมตร) ได้ชื่อว่าเป็นซูเปอร์มูนเพราะใหญ่กว่าดวงจันทร์เพ็ญ

ปกติซึ่งมีขนาดเชิงมุมประมาณ 30 ลิปดา เท่านั้นซูเปอร์มูนใน

วันนี้มีโชติมาตร -12.26 จึงสว่างไสวตลอดทั้งคืน

รูป 2. ปรากฏการณ์ดาวชุมนุม ท้องฟ้าประเทศไทย ทางทิศตะวันตก

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 19:00 น.

รูป 1. ต�

ำแหน่งดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดีในวงโคจร เมื่อเทียบ

กับต�

ำแหน่งของโลก

จันทร์เพ็ญวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ขึ้นทางตะวันออก

เฉียงไปทางใต้ประมาณ 25 องศา หลังจากนี้จะเป็นดวงจันทร์

ข้างแรมเริ่มสว่างลดลง และไปอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์

กลายเป็นดวงจันทร์ข้างแรมค่อนดวง ขึ้นช้าลงวันละประมาณ

50 นาที เมื่อถึงแรม 8 ค�่

ำจะเป็นรูปดวงจันทร์ครึ่งดวงหันด้านสว่าง

ไปทางตะวันออกตรงข้ามกับดวงจันทร์ข้างขึ้น 8 ค�่

ำที่หันด้านสว่าง

ไปทางตะวันตก ดวงจันทร์แรม 8 ค�่

ำจะขึ้นเวลาประมาณเที่ยงคืน

เมื่อเช้ามืดจะเห็นอยู่สูงเกือบเหนือศีรษะ หลังจากนี้อีก 2-3 วัน

ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นเสี้ยวข้างแรม หันด้านสว่างไปทางตะวันออก

กลายเป็นจันทร์ยิ้มทางทิศตะวันออก วันเดือนดับจะมองไม่เห็น

ดวงจันทร์เพราะดวงจันทร์อยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์

จนกระทั่งถึงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา

19:00 น. จะเห็นดวงจันทร์ไปชุมนุมกับดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี

อีกครั้งหนึ่งคล้ายกับเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา

19:00 น. แต่เห็นใกล้ขอบฟ้าตะวันตกมากกว่า คราวนี้ดาวศุกร์

อยู่สูงกว่าดาวพฤหัสบดี ท�

ำให้เห็นเป็นจันทร์ยิ้มที่มีดาวศุกร์

เป็นตาอยู่ซ้ายมือของผู้ดู และดาวพฤหัสบดีเป็นตาอยู่ขวามือ

ของผู้ดูโดยดาวพฤหัสบดีสว่างน้อยกว่าดาวศุกร์ ใกล้ดาวศุกร์

คือดาวฤกษ์ชื่อดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) อยู่ตรงหน้าอกสิงโต

ในกลุ่มดาวสิงห์ ดังรูป 3.