Previous Page  19 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 19 / 62 Next Page
Page Background

19

ปีที่ 43 ฉบับที่ 195 กรกฎาคม - สิงหาคม 2558

การร่วมทิศของดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2558

ในปี พ.ศ. 2558 ดาวศุกร์เคลื่อนที่ไปทางตะวันออก

เร็วกว่าดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์จึงไปทันดาวพฤหัสบดีในวันที่

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ณ บริเวณกลุ่มดาวปู เราสังเกตดาว

ทั้งคู่ได้ง่ายเพราะต่างเป็นดาวเคราะห์ที่สว่างมาก โดยดาวศุกร์

ปรากฏสว่างกว่า

เ มื่อมอง ไปทา งทิศตะวันตก ใน เวลาหัวค�่

ำของ

ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 เราจะเห็นดาวศุกร์อยู่ขวามือ

ของดาวพฤหัสบดีโดยอยู่ ต�่

ำกว่ าดาวพฤหัสบดีประมาณ

10 องศา ระยะห่างระหว่างกันจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึง

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558 จะมีดวงจันทร์มาร่วมชุมนุมด้วย

ดังกล่าวแล้ว

ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ดาวศุกร์จะ

เข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีมาก โดยเฉพาะวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ดาวศุกร์จะอยู่ร่วมทิศกันกับดาวพฤหัสบดี

ภายหลังร่วมทิศกันครั้งแรกนี้แล้ว ดาวศุกร์จะเคลื่อน

ห่างไปทางตะวันออกของดาวพฤหัสบดี จึงปรากฏอยู่สูงกว่า

ดาวพฤหัสบดีทางทิศตะวันตก ดาวศุกร์จะเริ่มเคลื่อนที่ถอยหลัง

ตั้งแต่ 25 กรกฎาคม ถึง 8 กันยายน พ.ศ. 2558 รวม 40 วัน

โดยอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ก่อนที่จะไปปรากฏอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์ กลายเป็น

ดาวรุ่งที่เริ่มเห็นได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และดาวศุกร์จะ

เดินหน้าไปร่วมทิศกับดาวพฤหัสบดีอีกในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โดยดาวศุกร์อยู่ชิดดาวพฤหัสบดีไปทางขวามือ

ส่วนดวงจันทร์ข้างแรมกับดาวอังคารจะมาชุมนุมกับ

ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เวลา 05:00 น. โดยดูทางทิศตะวันออกจะเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่

สูงสุด ต�่

ำลงมาคือดวงจันทร์ ต�่

ำลงมาอีกคือดาวอังคารมีสีแดง

และต�่

ำสุดคือดาวศุกร์

อีก 22 วันต่อมาคือ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร ดาวศุกร์ จะเรียงกันเป็นแถวอยู่ใน

กลุ่มดาวผู้หญิงสาวโดยดาวศุกร์อยู่ต�่

ำสุดและอยู่ใกล้ ๆ ดาวรวงข้าว

(Spica) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงสว่างที่สุดในกลุ่มดาวผู้หญิงสาว

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 วันพ่อแห่งชาติ ดวงจันทร์

ข้างแรมจะมาชุมนุมกับ ดาวพฤหัสบดี (อยู่สูงสุด) ดาวอังคาร

(ดาวสีแดง) และดาวศุกร์ กับดาวรวงข้าว โดยดวงจันทร์ซึ่ง

เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกเร็วกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นจึงไปอยู่

ต�่

ำกว่าดาวศุกร์ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 กลายเป็นจันทร์

ยิ้มที่มีดาวศุกร์เป็นตาข้างเดียว ทางทิศตะวันออกในเวลา 05:00 น.

ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมและดาวเคราะห์ร่วมทิศ

มีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ แต่ไม่บ่อยนักที่จะมีดาวพฤหัสบดีและ

ดาวศุกร์ชุมนุมร่วมกับดวงจันทร์ ดาวชุมนุมและดาวร่วมทิศ

ไม่มีอิทธิพลอันใดต่อชีวิตของมนุษย์บนโลก แต่เป็นภาพที่

สวยงามบนท้องฟ้า ควรที่จะติดตามเฝ้าดูเพื่อให้รู้จักดาวที่

เป็นต้นก�

ำเนิดวันเกิดของเรา

จุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดี. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2558,

จาก

http://www.fromquarkstoquasars.com/a-day-

on-jupiters-great-red-storm/

ดาวศุกร์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2558 , จาก http://www.

narit.or.th/index.php/astro-photo/solar-system-objects

/849-venus

นิพนธ์ ทรายเพชร และ นัตถพงษ์ บุญภูมิ. ปรากฏการณ์ดาว

ชุมนุม. โปรแกรม Stellarlum สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2558,

จาก

http://www.stellarium.org/th/

บรรณานุกรม

4. ใน พ.ศ. 2558 ดาวพฤหัสบดี จะร่วมทิศกับดวงอาทิตย์

ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558 หลังจากนั้นดาวพฤหัสบดีจะ

ปรากฎอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์จึงจะเห็นขึ้นก่อน

ดวงอาทิตย์ในเวลารุ่งเช้าของปลายกันยายนไปถึงสิ้นปีพ.ศ. 2558

5. เป็นดาวเคราะห์ที่หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุด โดยใช้เวลา

น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ท�

ำให้เกิดแถบและเข็มขัดของเมฆที่ปกคลุม

พื้นผิว เอกลักษณ์ของดาวพฤหัสบดีคือจุดแดงใหญ่ ดังรูป 5.

6. เป็นต้นก�

ำเนิดวันพฤหัสบดี

รูป 5. จุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดีเทียบกับขนาดของโลก

ที่มา

http://www.fromquarkstoquasars.com/a-day-on-jupiters-

great-red-storm/