

15
ปีที่ 43 ฉบับที่ 195 กรกฎาคม - สิงหาคม 2558
ในส่วนของค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับชั้น ป.3
นั้น กิจกรรมได้ถูกจัดขึ้นที่ อพวช. ในค่ายนี้มีกิจกรรมสนุกสนาน
มากมายที่สอดแทรกไปด้วยความรู้และสอดคล้องไปกับแนวทาง
การเรียนรู้แบบสะเต็มเช่นกัน อาทิเช่น กิจกรรมล้อเคลื่อนเลื่อน
ด้วยลม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้เด็ก ๆ สร้างรถที่เคลื่อนที่ได้ด้วย
พลังงานลม ในเบื้องต้นเด็ก ๆ จะได้รับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่
หลอดกาแฟขนาดใหญ่ หลอดกาแฟขนาดเล็ก ไม้เสียบลูกชิ้น
ตะเกียบ ลูกโป่ง แผ่นซีดี เทปกาวใส และหนังยาง จากนั้นเด็ก ๆ
จะต้องช่วยกันระดมความคิดและค�
ำนวณว่าจะใช้อุปกรณ์อะไร
บ้างมาประดิษฐ์เป็นรถพลังงานลมตามจินตนาการของตนเอง
ด้วยอุปกรณ์ที่มีอย่างจ�
ำกัด ซึ่งรถของเด็ก ๆ จะเคลื่อนที่ไปได้
ไกลหรือไม่นั้น เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้กระบวนการของล้อรถว่า
ล้อรถ จะต้องหมุนรอบเพลารถ รถจึงจะเคลื่อนที่ได้ และ
การเคลื่อนที่ของรถจะต้องอาศัยพลังงานลมที่พ่นออกทางท้าย
รถ ซึ่งจะท�
ำให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ตามหลักการของ
action = reaction จากนั้นเราจะให้เด็ก ๆ น�
ำรถพลังงานลม
ที่ได้สรรสร้างขึ้นมาประชันกันว่ารถของใครจะสามารถเคลื่อนที่
ไปได้ไกลที่สุด ซึ่งหากเด็ก ๆ สามารถเข้าใจในกระบวนการ
การเคลื่อนที่ของรถพลังงานลม การประดิษฐ์รถพลังงานลม
คันนี้ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายที่สร้างความบันเทิงใจและรับ
ความรู้ไปได้ในคราวเดียวกัน
อีกหนึ่งกิจกรรมที่น่ าสนใจในค่ ายวิทยาศาสตร์ และ
คณิตศาสตร์ระดับชั้น ป.3 นั่นคือ กิจกรรมการทดลองเชิงปฏิบัติ
การหุ่นยนต์ขนของ (Relay Robot Lab) ในกิจกรรมนี้ เด็ก ๆ
ได้เรียนรู้และรู้จักกับหุ่นยนต์ขนของ โดยวิทยากรได้ให้ความรู้
เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ขนของ ส่วนประกอบที่ส�
ำคัญของ
หุ่นยนต์ขนของ เช่น แผงวงจรชุดขับเคลื่อน แผงวงจรชุดมือจับ
ชุดมือจับ แผงวงจรสวิตช์ควบคุม ถ่านไฟ สกรูและน็อต เมื่อรู้จัก
หุ่นยนต์ขนของและส่วนประกอบที่ส�
ำคัญแล้วก็จะออกแบบ
หุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์ขนของเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ควบคุมแบบบังคับ
ด้วยมือ ซึ่งการออกแบบจะต้องควบคุมให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่และ
ปฏิบัติภารกิจตามที่ต้องการ จากนั้นเด็กก็จะได้ประกอบหุ่นยนต์
และน�
ำมาทดสอบการขนของโดยใช้หุ่นยนต์ขนของ ในกิจกรรม
นี้เด็ก ๆ ได้ฝึกการควบคุมหุ่นยนต์ การวางแผนการขนย้าย
เมื่อท�
ำการทดสอบเสร็จ เราลงมือปฏิบัติจริงโดยท�
ำการจับเวลา
ในการขนของ เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และหลักการ
ท�
ำงานของแผงวงจรสวิตช์ ควบคุมและแผงวงจรรี เลย์
ฝึกการวางแผนและการท�
ำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม รู้จักการแก้ไข
และปรับปรุงปัญหาได้ รู้จักการแพ้ชนะในการแข่งขัน รู้จัก
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
จากตัวอย่างกิจกรรมเหล่านี้
จะเห็นว่าการจัดกิจกรรมใน
ค่ายโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
ท�
ำให้นักเรียนได้รับความรู้ที่หลากหลายขึ้น นอกเหนือไปจาก
ความรู้ทางวิชาการในสาขาที่ตนเองมีความถนัด และท�
ำให้เห็น
ภาพของการน�
ำความรู้ ไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างเด่นชัดขึ้น
เป็ นตัวอย่ างของการสร้ างนวัตกรรมได้ จากความรู้ ที่
หลากหลาย อันเกิดจากการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ซึ่งจะ
เ ป็ น พื้ น ฐ า น ข อ ง ก า ร ค้ น ค ว้ า แ ล ะ ส ร้ า ง น วั ต ก ร ร ม
ทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต