

นิตยสาร สสวท.
52
Rotblat จึงท�
ำการทดลองนี้ซ�้
ำเพื่อดูว่า ในการแตกตัว
ของนิวเคลียสในแต่ละครั้ง มีอนุภาคนิวตรอนเกิดขึ้นกี่ตัว
เพราะถ้ามีนิวตรอนเกิดขึ้นเพียง 1 ตัว ปฏิกริยานิวเคลียร์
นี้ก็ไม่สามารถปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาได้ แต่ถ้า
มีอนุภาคนิวตรอนเกิดขึ้นมากกว่ า 1 ตัว ปฏิกิริยาลูกโซ่
(Chain reaction) ที่สามารถปล่อยพลังงานมหาศาลออก
มา ได้ ภายในช่ วง เวลาสั้น ๆ ก็จะ เกิดได้ จริง และนั่น
หมายความว่ า การค้ นพบนี้สามารถน�
ำไปสร้ างระเบิด
ปรมาณูได้
ในที่สุด Rotblat ก็ได้พบว่า ทุกครั้งที่นิวเคลียสของ
ยูเรเนียม-235 แตกตัวจะมีอนุภาคนิวตรอนเล็ดลอดออกมา
มากกว่า 1 ตัวเสมอ แต่ Rotblat ได้ตีพิมพ์องค์ความรู้
นี้หลัง Frederic Joliot และ Irene Curie เล็กน้อย ดังนั้น
เครดิตการพบอนุภาคนิวตรอนมากกว่า 1 ตัว ในปฏิกิริยา
นิวเคลียร์ Fission จึงตกเป็นของ Joliot – Curie
ถึงปี ค.ศ.1939 Rotblat ได้เดินทางจากโปแลนด์โดย
ทิ้งคู่รักไว้ เบื้องหลังเพื่อไปท�
ำงานวิจัยกับ James Chad-
wick (ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจ�
ำปี ค.ศ. 1935
ด้วยการพบอนุภาคนิวตรอน) ที่มหาวิทยาลัย Liverpool
ในอังกฤษ เพราะที่นั่นมีเครื่องเร่งอนุภาคแบบ cyclotron
ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และ Rotblat ก็คาดหวังว่ า
ประสบการณ์ที่เขาจะได้จาก Liverpool จะท�
ำให้สามารถ
สร้างเครื่องเร่งอนุภาค cyclotron ที่โปแลนด์ได้ แต่เมื่อไป
ถึงอังกฤษ Chadwick กลับให้ Rotblat ศึกษาความเป็นไป
ได้ที่จะสร้างระเบิดปรมาณู เพราะในเวลานั้น กองทัพนาซี
ก�
ำลังคุกคามยุโรป Rotblat จึงเข้าท�
ำงานเป็นนักวิจัยใน
โครงการปรมาณูของอังกฤษที่ใช้ชื่อรหัสว่ า Maud and
Tube Alloys
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1939 Rotblat ได้เดินทางกลับ
โปแลนด์ เพื่อเข้ าพิธีสมรสกับ Tola Gryn ที่ก�
ำลังศึกษา
ปริญญาตรีวิชาเอกวรรณคดีที่มหาวิทยาลัย Warsaw และ
ตั้งใจจะน�
ำภรรยาเดินทางกลับอังกฤษด้วย เพราะคิดว่ามี
เงินเดือนเพียงพอส�
ำหรับตนเองและภรรยา แต่โชคไม่ดีที่
Tol a ได้ ล้ มป่ วยด้ วยโรคไส้ ติ่งอักเสบ จึงต้ อง เข้ ารับ
การผ่าตัดทันที ท�
ำให้ Rotblat จ�
ำเป็นต้องเดินทางกลับ
อังกฤษคนเดียว ทั้งที่ Tola ยังไม่ทันหายเป็นปกติ ใน
วันที่ 1 กันยายน ค . ศ . 1939 นั้น เ อง กองทัพนาซีก็
บุกโปแลนด์ และยึดกรุง Warsaw ได้ในเวลาไม่นาน
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 Rotblat ได้พยายามทุก
วิถีทางที่จะน�
ำภรรยาออกจากโปแลนด์ ไม่ว่าจะออกทาง
เบลเยี่ยม เดนมาร์กหรืออิตาลี แต่ก็ล้มเหลวทุกครั้งไป จน
ในที่สุดภรรยาถูกทหารนาซีจับตัวส่งเข้าค่ายกักกัน ท�
ำให้
ต้องเสียชีวิต แต่ Rotblat ไม่รู้เรื่องข่าวนี้เลย จนกระทั่ง
สงครามโลกยุติ
ในปีค.ศ. 1943 Rotblat วัย 35 ปี ได้ติดตาม James
Chadwick ไปท�
ำงานวิจัยที่ Los Alamos National
Laboratory ในอเมริกา เมื่อนักฟิสิกส์รู้ว่า ระเบิดปรมาณู
คืออาวุธสงครามที่มีแนวโน้มว่ าอังกฤษสามารถสร้ างได้
นายกรัฐมนตรี Winston Churchill แห่งอังกฤษ และ
ประธานาธิบดี Franklin Roosevelt แห่งสหรัฐอเมริกาจึง
ไ ด้ เ ซ็ น สั ญ ญ า ใ ห้ นั ก วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ อั ง ก ฤ ษ แ ล ะ
นักวิทยาศาสตร์อเมริกามาท�
ำงานร่วมกันที่ Los Alamos
ในโครงการ Manhattan เพื่อผลิตระเบิดปรมาณู แม้
Rotblat จะเป็นชาวโปแลนด์ที่เป็นศัตรูกับสัมพันธมิตร แต่
บารมีของ Chadwick ก็ได้ช่วยให้ Rotblat ได้ เข้าร่วม
โครงการผลิตระเบิดมหาประลัย ทั้ง ๆ ที่ Rotblat รัก
สันติภาพ แต่ เขาก็มีอีกเหตุผลหนึ่งที่ท�
ำให้ ต้ องตัดสินใจ
ท�
ำงานในโครงการ Manhattan เพราะคิดว่า Adolf Hitler
ผู้น�
ำนาซีก็ก�
ำลังจะสร้ างระเบิดปรมาณูเช่นกัน ดังนั้นถ้ า
Hitler ท�
ำได้ส�
ำเร็จก่อน ความบรรลัยก็จะเกิดตามมาอย่าง
ไม่ต้องสงสัย
ดังนั้นในปีค.ศ. 1944 เมื่อ Rotblat สืบทราบว่ากองทัพ
นาซีสร้างระเบิดปรมาณูไม่ได้ เขาจึงลาออกจากโครงการ
Manhattan ในทันที ท�
ำให้เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรก และ
คนเดียวที่ผละทิ้งโครงการ ก่อนระเบิดปรมาณูจะเป็นตัว
เป็นตน และ Rotblat ก็ยังอ้างเหตุผลการลาออกอีกว่า เมื่อ
เขาได้สนทนากับนายพล Leslie Groves ผู้ เป็นหัวหน้า
โครงการ Manhattan นายพล Groves ได้ ปรารภว่ า
หลังสงครามโลก สหรัฐฯ จะใช้ระเบิดปรมาณูถล่มรัสเซีย
ซึ่ง Rotblat ไม่เห็นด้วยเลย เขาจึงเดินทางกลับ Liverpool
ทันที การจากไปครั้งนั้นท�
ำให้สหรัฐสงสัยว่า Rotblat เป็น
ไส้ศึกิ
ต