

นิตยสาร สสวท.
50
50
ปีที่ 43 ฉบับที่ 195 กรกฎาคม - สิงหาคม 2558
การลดช่องว่างของความแตกต่างระหว่างเพศในการศึกษา
ในกลุ่มประเทศที่ร่วมประเมิน PISA และส�
ำรวจ
ความเห็นของผู้ปกครองด้วย พบว่า โดยส่วนใหญ่ พ่อแม่
ผู้ปกครอง มีความคาดหวังกับลูกชายมากกว่าลูกสาว ให้เข้า
ท�
ำงานในสายที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม
หรือคณิตศาสตร์ดังนั้นเพื่อเป็นการลดช่องว่างของความแตกต่าง
ระหว่างเพศในการศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงควรสนันสนุน
และส่งเสริมลูกสาวและลูกชายอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งเรื่องการเรียน
ในโรงเรียน และการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการประกอบ
อาชีพในอนาคตของลูก
ส�
ำหรับครูผู้สอนนั้น ควรระมัดระวังการปฏิบัติตนใน
ห้องเรียนที่อาจแสดงถึงอคติระหว่างเพศได้ เช่น การเรียกตอบ
ค�
ำถาม การสบตาขณะสอน และการชื่นชมให้ก�
ำลังใจ ครูควรใช้
กลวิธีการสอนที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น
เช่น การตั้งค�
ำถามให้นักเรียนลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เนื่องจาก
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนหญิงจะเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น
เมื่อครูถามค�
ำถามและให้นักเรียนลองแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ครูยังควรได้รับการฝึกอบรมพิเศษเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการช่วยเหลือนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
อยู่ในกลุ่มต�่
ำให้มีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
กลุ่มนักเรียนชาย
ผลการประเมิน PISA สะท้อนว่า ความแตกต่างใน
ความสามารถทางวิชาการระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียน
ชายไม่ได้เป็นเพราะความแตกต่างของความสามารถที่มีมา
ตั้งแต่ก�
ำเนิด พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้น�
ำและผู้วางนโยบาย
ทางการศึกษา จึงควรร่วมกันหาแนวทางที่จะช่วยลดช่องว่าง
ของความแตกต่างระหว่างเพศในการศึกษา เพื่อให้ทั้งนักเรียน
หญิงและนักเรียนชายได้พัฒนาความสามารถและรู้ถึงศักยภาพ
แท้จริงของตนเอง อันจะน�
ำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและ
สังคมที่นักเรียนอยู่ให้ดีขึ้นต่อไป
ส�
ำหรับประเทศไทย ผลการประเมิน PISA ระหว่าง
นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่ผ่านมา ในภาพรวมพบว่า นักเรียน
หญิงของไทยมีผลการประเมินสูงกว่านักเรียนชายในทุกวิชา
ใน PISA 2012 นักเรียนหญิงของไทยมีคะแนนสูงกว่า
นักเรียนชายอย่างมีนัยส�
ำคัญในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และ
วิทยาศาสตร์ ที่ 55 คะแนน 14 คะแนน และ 19 คะแนน
ตามล�
ำดับ นอกจากนี้ นักเรียนที่มีสมรรถนะไม่ถึงระดับพื้นฐาน
ของ PISA ในวิชาต่าง ๆ จะเป็นกลุ่มนักเรียนชายโดยส่วน
ใหญ่ ผลการประเมินดังกล่ าวชี้ให้ เห็นถึงความสามารถที่
แตกต่างกันระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงของไทย
ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาในทุกภาคส่วน จึงควร
ให้ความส�
ำคัญกับประเด็นนี้ และหาแนวทางส่งเสริมและ
ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเฉพาะในกลุ่ม
นักเรียนชาย ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเร่งด่วน
บรรณานุกรม
OECD. (2015).
The ABC of Gender Equality in Educa
tion: Aptitude, Behaviour, Confidence.
PISA. Paris:
OECD Publishing.
OECD. (2015). What lies behind gender inequality in
education.
PISA in Focus.
49, 1-4.
OECD. Retrieved May 20, 2015, from http://www.
oecd-ilibrary.org/education/what-lies-behind-gender-inequality-in-education_5js4xffhhc30-en.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557).
ผลการประเมิน PISA 2012 : คณิตศาสตร์ การอ่ าน
และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และ สามารถท�
ำอะไรได้บ้าง.
กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.