

นิตยสาร สสวท.
46ิ
ติต
ความสามารถที่แตกต่างกันทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียน
ชาย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานแล้ว ความเชื่อเดิม ๆ ของสังคมมักโน้มเอียงไปว่า นักเรียนชายเก่งในวิชา
ดังกล่าวมากกว่านักเรียนหญิง อันเนื่องมาจากความแตกต่างของปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
ที่ติดตัวมาตั้งแต่ก�
ำเนิด เช่น การมีฮอร์โมน และการมีสมองซีกซ้าย-ขวาที่เจริญต่างกัน จนถึงวันนี้ ความเชื่อ
ในเรื่องปัจจัยทางชีววิทยาไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เพราะมีงานวิจัยหลายเรื่องที่ชี้ว่า ปัจจัยทางสังคมและ
วัฒนธรรม (Socio-cultural factors) เช่น การเลี้ยงดูของครอบครัว และความเชื่อและความคาดหวังของ
ครอบครัวหรือสังคมต่อนักเรียนชายและนักเรียนหญิง เป็นตัวก�
ำหนดความสามารถที่แตกต่างกันของบุคคล
มากกว่าปัจจัยอื่น ดังนั้น ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายจึงมีโอกาสเก่งคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ทัดเทียมกัน
หากมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม
ผลการประเมินของนักเรียนหญิง
และนักเรียนชายในสนามสอบ
PISA
ดร. นันทวัน นันทวนิช
ผู้ช�
ำนาญ สาขาวิจัย สสวท. / e-mail:
nnant@ipst.ac.th