Previous Page  53 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 53 / 62 Next Page
Page Background

53

ปีที่ 43 ฉบับที่ 195 กรกฎาคม - สิงหาคม 2558

Braun, Reiner. (2007).

Joseph Rotblat: Visionary for Peace.

Wiley.&Time, 376-377.

Underwood, Martin. (2009).

Joseph Rotblat : A Man of Conscience

in the Nuclear Age.

Sussex Academic Press.

บรรณานุกรม

ครั้นเมื่ออเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่ม Hiroshima กับ

Nagasaki ในปีค.ศ. 1945 การเสียชีวิตของผู้คนนับแสน

ท�

ำให้ Rotblat รู้สึกเสียใจมาก เขาจึงเปลี่ยนวิถีชีวิตไป

ท�

ำงานที่องค์การ Atomic Scientists Association เพื่อ

น�

ำความรู้ เรื่องพลังงานปรมาณูไปถ่ายทอดให้สังคม และ

Rotblat ตั้งใจปลุกระดมประเทศมหาอ�

ำนาจให้ใช้พลังงาน

ปรมาณูในทางสันติเท่านั้น Rotblat จึงเป็นหนึ่งในบรรดา

นักวิทยาศาสตร์ เพียงไม่ กี่คนที่พยายามปลุกระดมให้ มี

การควบคุมการใช้พลังงานปรมาณู เมื่อสงครามโลกครั้งที่

สองยุติ Rotblat ได้ โอนสัญชาติเป็นอังกฤษ เพราะไม่

ต้องการจะเดินทางกลับโปแลนด์อีก

ในบทบาทของนักฟิ สิกส์ นั้น Rotbl a t ได้ เปลี่ยน

แนวการวิจัยนิว เ คลียร์ เพื่อความรู้ บริสุทธิ์ ไปเป็ นการ

ประยุกต์นิวเคลียร์ ในทางการแพทย์ เพื่อหาวิธีรักษาคนที่

เป็นมะเร็ง ด้วยการเข้าท�

ำงานที่โรงพยาบาล Saint Bar-

tholomew’s Hospital Medical College มหาวิทยาลัย

ลอนดอน โดยวิจัย เรื่องการ ใช้ เ ครื่อง เร่ งอนุภาคผลิต

นิวเคลียสกัมมันตรังสีที่ใช้ รักษามะเร็ง ในปี ค.ศ. 1950

Rotblat ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ฟิสิกส์

ในการท�

ำงานกับ Patricia J. Lindop เรื่องผลกระทบ

ของกัมมันตรังสีพลังงานสูงต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่ใช้หนู

เป็นสัตว์ทดลอง ทั้งสองได้พบว่ารังสีสามารถท�

ำให้ตัวหนู

เป็นมะเร็งได้หลายชนิด นอกเหนือจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

(leukemia) ที่รู้จักกันดี ในเวลาต่อมา ผลงานนี้ได้ถูกน�

ำไป

ใช้วิเคราะห์ภัยอันตรายที่เกิดกับชาวประมงญี่ปุ่น ซึ่งแล่น

เรืออยู่ใกล้บริเวณที่สหรัฐฯ ทดลองระเบิดไฮโดรเจน ผลการ

ศึกษานั้นท�

ำให้ วงการวิชาการตื่นตัว เพราะตระหนักว่ า

ระ เ บิด ไ ฮ โ ดร เจนผลิตฝุ่ นกัมมันตรั ง สี ไ ด้ มากผิดปกติ

ค�

ำกล่าวหาของ Rotblat ได้ท�

ำให้รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตร

รู้สึกกระวนกระวาย เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนรู้ข้อมูล

เชิงลบลักษณะนี้

ใ น เวลา เ ดียวกันนั้น Ro t b l a t ไ ด้ เ ดินทา ง ไ ปพบ

นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชื่อ Bertrand Russell

ในรายการโทรทัศน์ BBC ชื่อ Panorama ซึ่งได้ท�

ำให้ใน

ปีค.ศ. 1955 Russell หนึ่งใน 11 คน และเป็นคนที่มีอายุ

น้อยที่สุดที่ลงนามในแถลงการณ์ Russell – Einstein เตือน

โลกเรื่องภัยนิวเคลียร์ ผลที่ตามมาคือ นักเคลื่อนไหวต่าง ๆ

ไ ด้ ออกม า จัดปร ะชุมนานา ช า ติ เ พื่อถกปั ญหานี้ ใ นปี

ค.ศ.1957 โดยใช้ชื่อ Pugwash Conference เพราะสถานที่

จัดคือหมู่ บ้ าน Pugwash ซึ่งอยู่ ทางตอนเหนือของเขต

Nova Scotia ของแคนาดา ด้วยการอุปถัมภ์ของมหาเศรษฐี

Cyrus Eaton

ในการประชุมครั้งแรกมีนักวิทยาศาสตร์มาร่วมประชุม

22 คน (Rotblat เป็นหนึ่งในจ�

ำนวนนั้น) 3 คน คือผู้ได้รับ

รางวัลโนเบล และมีรองประธานองค์การ Academy of

Sciences ของรัสเซีย กับอดีตผู้อ�

ำนวยการขององค์การ

อนามัยโลกเข้าร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมได้สรุปรายงาน

เสนอวิธีป้องกันและควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงได้เน้น

ใ ห้ ต ร ะ ห นั ก ใ น ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ แ ล ะ จ ริ ย ธ ร ร ม ที่

นักวิทยาศาสตร์ต้องมีต่อสังคมด้วย

ในเวลาต่อมา การประชุม Pugwash ได้เกิดตามมาอีก

กว่า 300 ครั้ง โดยมี Rotblat เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัด

ทุกครั้งไป ในที่สุดกิจกรรมนี้ได้ท�

ำให้เกิดองค์การ Pugwash

Organization ซึ่งมีบทบาทในการลดอาวุธนิวเคลียร์ของ

ชาติมหาอ�

ำนาจ และมีหน้าที่ดูแลกับตรวจสอบสรรพาวุธ

ของทุกชาติมหาอ�

ำนาจ องค์ การยังได้ จัดท�

ำสนธิสัญญา

ควบคุมอาวุธสงคราม ติดต่อประสานงานระหว่างรัฐมนตรี

ต่างประเทศ Henry Kissinger กับ Le Due Tho ใน

การยุติสงครามเวียดนาม และเป็นผู้ประสานความขัดแย้ง

ระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอลด้วย

ในปี ค . ศ . 1995 Joseph Rotbl a t กับองค์ การ

Pugwash ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่ วมกัน ถึง

ปีค.ศ. 2004 Rotblat กับ Mikhail Gorbachev อดีตนายก

รัฐมนตรีของรัสเซียได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการเตือนภัยของ

อ า วุ ธ นิ ว เ ค ลี ย ร์ ที่มี อ�

ำ น า จ ท�

ำ ล า ย ล้ า ง อ ย่ า ง รุ น แร ง

(Weapons of Mass Destruction Awareness)

ในช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ Rotblat วิจัยฟิสิกส์นิวเคลียร์

เป็นงานหลัก และแต่งต�

ำราฟิสิกส์กว่า 40 เล่ม นอกเหนือ

จากรางวัลโนเบลที่ได้รับแล้ว Rotblat ยังได้รับรางวัลของ

สมาคม Bertrand Russell Society ในปีค.ศ. 1983 รางวัล

Albert Einstein Peace Prize ในปีค.ศ. 1992 และได้

ด�

ำรงต�

ำแหน่งเป็น Sir ของอังกฤษในปีค.ศ. 1969 ทั้ง ๆ ที่

พูดภาษาอังกฤษด้วยส�

ำเนียงชาวโปแลนด์

ในงานเลี้ยงฉลองการรับรางวัลโนเบล Rotblat ได้สรุป

ค�

ำบรรยายว่า

“ความประสงค์จะให้โลกปราศจากสงคราม

นั้น มีพื้นฐานมาจากความต้องการให้ทุกคนมีชีวิต และ

การที่จะบรรลุความประสงค์ นั้นได้ คนเราต้ องรักกัน

มากกว่ากลัวกัน”

Joseph Rotblat จากโลกไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.

2005 สิริอายุ 96 ปีี

ที่ ั

บี่ ิ