Previous Page  18 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 18 / 62 Next Page
Page Background

18

นิตยสาร สสวท.

e-book เรื่อง สมดุลเคมี (จาก สาขาเคมี สสวท.)

นวัตกรรม AR ที่แสดงโครงผลึก

ของโซเดียมคลอไรด์

e-book

e-book ย่อมาจากคำ

�ว่า electronic book หรือที่รู้จักใน

ชื่อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่จำ

�ลองหนังสือ

เรียนแบบเป็นเล่มลงสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนสามารถ

อ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ การจัดทำ

� e-book

สามารถแทรกภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวีดิทัศน์ต่าง ๆ ได้ และ

เนื่องจากปัจจุบันนี้ในโรงเรียนต่าง ๆ ได้มีการนำ

�แท็บเล็ตมาใช้ใน

กระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น ผู้เรียนจึงเรียนรู้ผ่าน e-book

ได้สะดวกมากขึ้น เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตก็สามารถ

เรียนรู้ได้ตลอดเวลา

นอกจากนี้ สาขาเคมี สสวท. กำ

�ลังริเริ่มพัฒนาสื่อการเรียนรู้

รูปแบบใหม่ โดยนำ

�นวัตกรรมเทคโนโลยี AR มาใช้ประกอบกับ

หนังสือเรียนเคมีเพื่อช่วยเสริมการเรียนรู้

นวัตกรรมเทคโนโลยี AR

AR ย่อมาจาก augmented reality เป็นเทคโนโลยีเสมือน

จริงอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีการผสมผสานระหว่างโลกแห่งความ

จริงและโลกเสมือน โดยใช้การซ้อนภาพสามมิติที่สร้างขึ้นให้ไป

แสดงผลปรากฏในโลกแห่งความจริงในลักษณะที่เป็นภาพสาม

มิติ (3D) หรืออาจจะเป็นภาพสองมิติ (2D) ภาพเคลื่อนไหว

(animation) หรืออาจจะเป็นสื่อวีดิทัศน์ที่มีเสียงประกอบ ขึ้นกับ

การออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าต้องการให้ออกมาแบบใด โดย

สามารถโต้ตอบแบบตอบสนองทันที ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์

เชื่อมต่อต่าง ๆ ที่มีกล้อง เช่น เว็บแคมจากคอมพิวเตอร์ กล้อง

จากโทรศัพท์มือถือ กล้องจากแท็บเล็ต

หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย

1. ตัว marker ซึ่งอาจเป็นรูปภาพ หรือตัวหนังสือ

2. กล้องวีดิทัศน์ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ

ตัวจับ sensor อื่น ๆ

3. ส่วนแสดงผล อาจเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์

มือถือ หรืออื่น ๆ

4. ซอฟต์แวร์ application

หลักการของ augmented reality สามารถนำ

�มาประยุกต์

ใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย โดยปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริงถูกนำ

มาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม วิศวกรรม การแพทย์ การ

บันเทิง การสื่อสาร การตลาด การท่องเที่ยว สถาปัตยกรรม รวม

ไปถึงในด้านการศึกษา โดยในด้านการศึกษานั้นสามารถนำ

�มาใช้

กับการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เป็นนามธรรม ซึ่งสามารถร่วม

กันเรียนรู้ในห้องเรียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง

นวัตกรรม AR ที่แสดงธาตุในตารางธาตุ

การศึกษาวิชาเคมีบางบทเรียนมีเนื้อหาเป็นนามธรรมที่

ต้องใช้จินตนาการ เช่น แบบจำ

�ลองอะตอม พันธะเคมี รูปร่าง

อะตอม โครงสร้างโมเลกุล เป็นต้น ดังนั้นการนำ

�นวัตกรรม

เทคโนโลยีใหม่ ๆ นี้มาใช้ จึงสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้

ของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

บรรณานุกรม

นวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2555, จาก

http://rirs3.royin.go.th/dictionary.

asp

นวัตกรรม AR ที่แสดงโครงผลึกของโซเดียมคลอไรด์. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2555,

จาก

https://www.youtube.com/watch?v=dj7f_PEknK4

นวัตกรรม AR ที่แสดงธาตุในตารางธาตุ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2555,จาก http://

vimeo.com/11636618