Previous Page  11 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 11 / 62 Next Page
Page Background

11

ปีที่ 41 ฉบับที่ 184 กันยายน - ตุลาคม 2556

ภาพที่ 2 พรสวรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถเกิดขึ้นได้

(ที่มา :

http://www.deseretnews.com/article/765588153/New-options-emerge-to-

enrich-gifted-students-education.html?pg=all)

นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้ให้นิยามและมีทัศนคติต่อ

เรื่องพรสวรรค์ อัจฉริยภาพ และความสามารถพิเศษต่าง ๆ กันไป

Subotnik,Olszewski-Kubilius, และWorrell (DukeTalent

Identification Program, 2011) นิยามพรสวรรค์ว่าเป็น

“...การแสดงออกถึงสัมฤทธิผลหรือผลงานที่อยู่ในช่วงบน

ของการกระจายอย่างชัดแจ้ง ในกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ

หรือแม้แต่เทียบกับคนอื่นที่มีความสามารถสูงในกลุ่มเดียวกัน

พรสวรรค์ยังมีแง่มุมในเชิงพัฒนาการอีกด้วย ในแง่นี้ศักยภาพ

เป็นตัวแปรสำ

�คัญในระยะแรก แต่ความสำ

�เร็จคือตัววัดในระยะ

ท้าย ๆ ส่วนความสามารถพิเศษที่พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ชื่อเสียง

คือรากฐานของการได้ชื่อว่าเป็นผู้มีพรสวรรค์ ปัจจัยทางจิตใจ-

สังคม มีส่วนสำ

�คัญในการปรากฏแจ้งของพรสวรรค์ในทุกระยะ

ของพัฒนาการ ทั้งปัจจัยทางความคิดและจิตใจ-สังคมนั้น ล้วน

อ่อนไหวและต้องการการบ่มเพาะอย่างรอบคอบ”

ในหนังสือ

พรสวรรค์ในเด็ก: ความเชื่อและความจริง

Ellen

Winner (1996) นิยามพรสวรรค์จากลักษณะที่ไม่ธรรมดาสาม

ด้านไว้ ดังนี้

“• เก่งเกินวัย “พวกเขาจะเริ่มสร้างความเชี่ยวชาญใน

สาขาหนึ่ง ๆ ขณะที่ยังอายุน้อย ๆ อีกทั้งพวกเขายังมีพัฒนาการที่

รวดเร็วกว่าเด็กทั่ว ๆ ไปเพราะพวกเขาเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นได้อย่าง

ง่ายดาย”

• ความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีของตนเอง “เด็กที่มี

พรสวรรค์นอกจากจะเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป หรือ

แม้แต่เด็กที่ฉลาด ๆ แล้ว พวกเขาเรียนรู้ด้วยวิธีที่ต่างออกไป

อย่างเห็นได้ชัด”

• ขับดันตนเองให้เชี่ยวชาญ “เด็กที่มีพรสวรรค์มีแรง

จูงใจภายในที่จะทำ

�ความเข้าใจสิ่งที่เขามีความถนัดเป็นพิเศษ”

Renzulli (NAGC, 2008) เสนอว่า การแสดงออกของ

พรสวรรค์เกิดขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพื้นฐานของ

มนุษย์สามด้าน คือ ความสามารถเฉพาะด้านหรือทั่ว ๆ ไปที่เหนือ

กว่าระดับปกติ ความทุ่มเทอย่างสูงในชิ้นงาน (แรงจูงใจ) และ

ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง เด็กที่มีพรสวรรค์หรือความสามารถ

พิเศษจะมีหรือสามารถที่จะพัฒนาลักษณะเหล่านั้น รวมทั้ง

ประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของมนุษย์ที่มีคุณค่าด้านต่าง ๆ ดังที่ โมเดล

การบำ

�รุงส่งเสริมโรงเรียน (Schoolwide Enrichment Model)

กล่าวว่า การแสดงออกของพรสวรรค์จะพบ “ในบางคน (ไม่ใช่ทุก

คน) บางเวลา (ไม่ใช่ตลอดเวลา) และภายใต้สถานการณ์หนึ่ง ๆ

(ไม่ใช่ทุกสถานการณ์)”

ส่วน Gagné (NAGC, 2008) ได้เสนอข้อแตกต่างอันเด่นชัด

ระหว่างพรสวรรค์และความสามารถพิเศษ ตามโมเดลของเขา

พรสวรรค์ต้องบ่งชี้การมีและการใช้ความสามารถตามธรรมชาติ

ที่เกิดขึ้นเองและไม่ได้ฝึกฝน (เรียกว่า ความถนัดหรือพรสวรรค์)

ถึงขั้นที่ทำ

�ให้เด็กอยู่ในระดับ 10 % แรกของเด็กวัยนั้น ส่วน

ความสามารถพิเศษจะต้องบ่งชี้ความเชี่ยวชาญชั้นสูงของความ

สามารถ (หรือทักษะ) ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและ

ความรู้ในสาขาใดสาขาหนึ่งถึงขั้นที่ทำ

�ให้เด็กมีสัมฤทธิผลใน

ระดับ 10 % แรกของเด็กวัยนั้น โมเดลของเขาประกอบไปด้วย

ความถนัดในห้าด้าน: สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทาง

สังคม การสัมผัส-เคลื่อนไหว และ “อื่น ๆ” (เช่น การรับรู้เหนือ

สัมผัส) ความสามารถตามธรรมชาติที่มีพื้นฐานจากพันธุกรรม

นี้สังเกตได้จากชิ้นงานต่าง ๆ ที่เด็กได้ทำ

�ในโรงเรียน (Gagné,

1985)

Gagné ยังได้นำ

�เสนอ “แบบจำ

�ลองเชิงจำ

�แนกเรื่องพรสวรรค์

และความสามารถพิเศษ” (Differentiated Model of Gifted-

ness andTalent (DMGT) แบบจำ

�ลองนี้สรุปไว้ว่า “ความสามารถ

พิเศษในด้านใด ๆ เกิดจากกระบวนการพัฒนาอันยาวนาน

ที่มีรากฐานจากความถนัด (พรสวรรค์) และยังได้ประโยชน์

จากอิทธิพลอย่างต่อเนื่องของตัวกระตุ้นทั้งจากภายในตัวและ

สิ่งแวดล้อม” (Gagné, 2012a) แนวคิดนี้สรุปได้ดังแผนภาพต่อ

ไปนี้ (Gagné, 2012a)