

รูปที่ 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือน CERN 4 ครั้ง
ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546
เพื่อนคุณครูที่เคารพรักครับ ตามที่เราทราบกันว่าแรงและ
การเคลื่อนที่เป็นสาระหลักหนึ่งสาระ ของวิชาวิทยาศาสตร์ของ
เรา มีบทบาทต่อสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพตั้งแต่เรื่องง่าย ๆ
เมื่อผลมะม่วงสุกหลุดจากขั้วทิ้งต้นแล้วเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่ง
เสรีด้วยความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่โลกกระท�
ำต่อมะม่วง
ไปจนถึงการเร่งอนุภาคของเครื่อง LHC อันยิ่งใหญ่ในโครงการ
ของ CERN เพื่อยืนยันการมีอยู่ของอนุภาคพระเจ้าหรืออนุภาค
ฮิกส์ และแล้วผลการค้นพบอนุภาค
ว่าที่ฮิกส์
(Higgs Like) ยัง
ผลให้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจ�
ำปี พ.ศ. 2556 ตกเป็นของ
ดร.ฟรองซัว อองเกลต์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณจากประเทศ
เบลเยียม คู่กับ ดร.ปีเตอร์ ดับเบิลยู ฮิกส์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
จาก สหราชอาณาจักร ทั้งสองท่านได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ
จากการน�
ำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคออกมาเป็น “แบบ
จ�
ำลองมาตรฐาน (standard model)” เป็นผลเฉลยว่าอนุภาค
มีมวลได้อย่างไร ทั้งสองท่านต่างคนต่างน�
ำเสนอทฤษฎีนี้ใน
พ.ศ. 2507 จนกระทั่งทฤษฎีนี้ได้รับการยืนยันโดยการค้น
พบอนุภาคว่าที่ฮิกส์โดยห้องปฏิบัติการของ CERN ในวันที่ 4
กรกฎาคม พ.ศ. 2555 วันชาติอเมริกา (เหมือนหวยล็อกของ
ไทยแลนด์)
เพื่อนคุณครูคงจะเป็นงงว่าอยู่ดี ๆ เหตุใดผมจึงน�
ำเรื่องไกล
ตัวหรูสุดจะเอื้อมมาบอกกล่าว ใจเย็น ๆ ครับ จริง ๆ แล้วใน
ปัจจุบันเรื่อง CERN ใกล้ตัวเรามากครับ เนื่องจาก “โครงการ
ความร่วมมือไทยกับ CERN ตามพระราชด�
ำริสมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
สนามแรงบันดาลใจจากผลงานเครื่องเร่งอนุภาค LHC
ก่อเกิดเครื่องเร่งมอดูลอ้ายของ สสวท.
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่อนไหว
ราม ติวารี
ผู้อำ
�นวยการสาขาฟิสิกส์ สสวท. / e-mail :
rtiwa@ipst.ac.th11
ปีที่ 42 ฉบับที่ 187 มีนาคม - เมษายน 2557