

6
นิตยสาร สสวท.
เมื่อท�
ำกิจกรรมเสร็จแล้วให้น�
ำโครงสร้างดอกที่รับประทาน
ได้มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วเติมน�้
ำสลัดท�
ำเป็นสลัดผักที่สามารถ
รับประทานได้จริง อาจเพิ่มผักและผลไม้ลงไปได้ตามความชอบ
(ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 สลัดผักที่ได้จากโครงสร้างของดอกที่รับประทานได้
การน�
ำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถน�
ำกิจกรรมการผลิตสื่อโครงสร้างของดอกจาก
ห้องครัว มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างของดอกที่แบ่ง
ตามต�
ำแหน่งของรังไข่ได้ โดยเริ่มจากผู้สอนมอบหมายล่วงหน้าให้
นักเรียนน�
ำวัสดุและอุปกรณ์ ผักผลไม้ที่จะใช้ในกิจกรรมผลิตสื่อ
โครงสร้างของดอก รวมทั้งดอกไม้จริงชนิดต่าง ๆ มาศึกษา เช่น
บานบุรี พริก กล้วย เข็ม ต�
ำลึง พุทธรักษา มะลิ มะเขือ มะละกอ
ฝรั่ง หากในท้องถิ่นของนักเรียนไม่สามารถหาผักผลไม้ที่ก�
ำหนด
มาในรายการวัสดุและอุปกรณ์ ผู้สอนสามารถให้ค�
ำแนะน�
ำกับ
นักเรียนแต่ละกลุ่มก่อนการไปจัดหาซื้อจริงได้ จากนั้นให้แบ่ง
นักเรียนเป็นกลุ่ม แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มประดิษฐ์สื่อโครงสร้าง
ของดอกที่แบ่งตามต�
ำแหน่งของรังไข่ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
ดอกที่มีรังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary) และรังไข่ใต้วง
กลีบ (inferior ovary) จากนั้นน�
ำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่เตรียมมา
ผ่าตามยาวให้ผ่านรังไข่ แล้วศึกษาต�
ำแหน่งของรังไข่โดยเปรียบ
เทียบกับสื่อโครงสร้างของดอกที่แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ขึ้น พร้อม
ทั้งให้นักเรียนแต่ละคนบันทึกผลการเปรียบเทียบและวาดภาพ
ต�
ำแหน่งของรังไข่ของดอกไม้จริงแต่ละชนิดที่น�
ำมาศึกษา
จากการศึกษานักเรียนควรสรุปได้ว่า ดอกไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่ม
เดียวกันนั้นจะต้องมีต�
ำแหน่งของรังไข่อยู่ในต�
ำแหน่งเดียวกัน
เมื่อเทียบกับชั้นวงกลีบอื่น ๆ กล่าวคือ ดอกที่มีรังไข่เหนือวง
กลีบเป็นดอกไม้ที่มีรังไข่ติดอยู่บนฐานดอกในระดับที่เหนือกว่า
ต�
ำแหน่งของวงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก และวงเกสรเพศผู้ ส่วน
ดอกที่มีรังไข่ใต้วงกลีบเป็นดอกไม้ที่รังไข่ติดบนฐานดอกต�่
ำกว่า
ต�
ำแหน่งของวงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก และวงเกสรเพศผู้ (ภาพ
ที่ 1 และ 2)
การเลือกใช้สื่อโครงสร้างของดอกที่แบ่งตามต�
ำแหน่งของ
รังไข่จากห้องครัวเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้สอนสามารถน�
ำไปใช้ใน
การจัดการเรียนรู้ชีววิทยาในชั้นเรียน ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบ
ในเรื่องการแบ่งประเภทของดอกตามต�
ำแหน่งของรังไข่แล้วอาจ
จะน�
ำไปใช้ประกอบการเรียนรู้เรื่อง
ดอกและส่วนประกอบของ
ดอก
โดยให้นักเรียนเลือกประดิษฐ์ ดอกสมบูรณ์ ดอกไม่สมบูรณ์
ดอกสมบูรณ์เพศ และดอกไม่สมบูรณ์เพศได้ แล้วน�
ำชิ้นงานมา
ส่งผู้สอนพร้อมกับอธิบายว่า ดอกที่เลือกประดิษฐ์นั้นจัดเป็น
ดอกแบบใด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น โดยให้นักเรียนใช้สื่อที่
ประดิษฐ์ขึ้นประกอบการอธิบาย เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ
เนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนไป นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ใน
ขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดการเรียนรู้ เช่น ขั้นน�
ำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน หรือขั้นสรุปบทเรียนก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของ
การจัดการเรียนรู้
ทั้งนี้การใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยให้
นักเรียนเป็นทั้งผู้ประดิษฐ์และผู้ใช้สื่อด้วยตนเองนั้น เป็นการ
สร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียนผ่านการ
ท�
ำกิจกรรม โดยอาศัยทักษะ และความรู้การจากเรียนมาใช้
แก้ปัญหาในการปฏิบัติจริง รวมทั้งเป็นการฝึกให้นักเรียนได้
คิดวิเคราะห์ เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นด้วย
บรรณานุกรม
Gordon, U., Richard, S. & Randy, M. (2001).
Principles of Botany
. New York:
McGraw-Hill.
คณาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์. (2548).
ปฏิบัติการพฤกษศาสตร์ทั่วไป
(พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชุมพล คุณวาสี. (2553).
สัณฐานวิทยาเบื้องต้นในการระบุชื่อวงศ์พืชดอกสามัญ
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ส�
ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ. (2554).
หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 3 ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.