Previous Page  31 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 31 / 62 Next Page
Page Background

31

ปีที่ 42 ฉบับที่ 187 มีนาคม - เมษายน 2557

ความสวยงามของสมการ

ทางคณิตศาสตร์ช่วยอธิบาย

ปรากฏการณ์ธรรมชาติได้อย่างลงตัว

สมการทางคณิตศาสตร์ที่เรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน กลาย

เป็นสมการที่มีความสวยงามซึ่งมีมากมายหลายสมการ แต่

มีสมการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเราตลอดเวลา เพราะบอกความ

สัมพันธ์ระหว่างตัวเราซึ่งมีมวล m กับโลกที่เราอาศัยอยู่มวล

M รัศมี R ว่า

F = mg

………….. (1)

เมื่อ F คือ แรงที่โลกกระทำ

�ต่อตัวเรา

g คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก

โดย g = GM ………….. (2)

R

2

G คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วง มีค่าเท่ากับ

6.672 × 10

-11

N m

2

kg

-2

สมการ (1) บอกให้ทราบว่า แรงที่กระทำ

�ต่อเราเท่ากับมวล

ของเราคูณด้วยความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกตามกฎข้อ

ที่ 1 ของนิวตันที่ว่า แรงเท่ากับมวลคูณด้วยความเร่ง

เซอร์ไอแซก นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้กฎข้อนี้

จากกฎแรงโน้มถ่วงที่นิวตันคิดได้ขณะนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิล โดย

กล่าวว่า แอปเปิลมวล m หล่นลงสู่ผิวโลกมวล M รัศมี R เพราะ

แรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับแอปเปิลที่มีค่าเท่ากับ GMm

R

2

แรงโน้มถ่วงเป็นแรงธรรมชาติสำ

�คัญที่ทำ

�ให้เกิดความเป็น

ทรงกลมของดาว เกิดเป็นระบบต่าง ๆ เช่น ทำ

�ให้โลกมีสัณฐาน

กลม ทำ

�ให้ดาวกลม ทำ

�ให้เกิด

(1) ระบบโลกดวงจันทร์ ซึ่งดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกรอบ

ละ 1 เดือน

(2) ระบบสุริยะซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีบริวาร

เคลื่อนไปรอบ ๆ ด้วยแรงโน้มถ่วง

(3) ระบบดาวฤกษ์หลายแสนล้านดวงอยู่ด้วยกันเป็นระบบ

ใหญ่ด้วยแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ

�มวลยวดยิ่งที่ศูนย์กลาง เรียกว่า

กาแล็กซี หรือ ดาราจักร

แรงโน้มถ่วงระหว่างกาแล็กซีที่อยู่ใกล้กันเกิดเป็นกระจุก

ของกาแล็กซี หลาย ๆ กระจุกของกาแล็กซีเป็นกระจุกของ

กระจุกกาแล็กซีหรือซูเปอร์คลัสเตอร์ของกาแล็กซี ทุก ๆ ซูเปอร์

คลัสเตอร์ของกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ

นิพนธ์ ทรายเพชร

ราชบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท.

(ที่มา:

http://idahoptv.org/

dialogue4kids/images/season12/

gravity/tree_and_apple.gif)

แอปเปิลหล่นสู่พื้นโลก

ระบบสุริยะ แสดงวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์

(ที่มา:

http://serc.carleton.edu/images/spaceboston/

solar_system.jpg)