

19
ปีที่ 42 ฉบับที่ 190 กันยายน- ตุลาคม 2557
ไม่เพียงแต่การสร้างเมืองจะส่งผลต่อความรุนแรง
ของพายุแล้ว การเกษตรกรรมหรือการพาณิชยกรรม
ที่ก่อให้สภาพพื้นดินที่มีความแตกต่างกัน (Hetero-
geneity) ก่อให้เกิดความร้อนที่ปลดปล่อยออกจาก
พื้นดินส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้พายุหมุนเขตร้อน
เกิดความรุนแรงขึ้น เช่น พายุหมุนเขตร้อน Tropical
Cyclone Erin ได้ เข้ าสู่ มลรัฐเท็กซัสประเทศ
สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และ
พายุมิได้อ่อนก�
ำลังลงแต่กลับเพิ่มความรุนแรงเพิ่มขึ้น
เมื่อเข้าสู่มลรัฐโอคลาโฮมา และก่อให้เกิดความเสียหาย
บริเวณดังกล่ าวเป็นอย่ างมาก การที่พายุหมุน
เขตร้อนได้เพิ่มความรุนแรงขึ้น เนื่องจากความแตกต่าง
ทางสภาพภูมิประเทศระหว่างพื้นที่แห้งแล้งและพื้นที่
เปียก ซึ่งความแตกต่างนี้ก่อให้เกิดพลังงานความร้อน
ความชื้นจากพื้นดิน ซึ่งเพิ่มพลังงาน convective
available potential energy (CAPE) ให้กับ
พายุหมุนเขตร้อน Erin ดังรูปที่ 6 ท�
ำให้พายุเพิ่มก�
ำลัง
แรงขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น
รูปที่ 6 แสดงกลไกการท�
ำให้พายุหมุนเขตร้อน Erin เพิ่มก�
ำลังแรง
ขึ้นหลังจากพัดผ่านบริเวณด้านตะวันตกของโอคลาโฮมา
ที่มา Kellner et al., 2012
จากตัวอย่างที่กล่าวจะเห็นได้ว่า ความชื้นของดินมีความส�
ำคัญ
ต่อสภาพอากาศและภูมิอากาศเป็นอย่างมากและโมเดลทาง
คณิตศาสตร์ยังไม่สามารถค�
ำนวณปริมาณความชื้นของดินและ
อุณหภูมิของพื้นดิน ให้มีความถูกต้องแม่นย�
ำในการน�
ำไปท�
ำนาย
สภาพของอากาศและภูมิอากาศในอนาคต ตามแบบจ�
ำลอง
คณิตศาสตร์ท�
ำนายภูมิอากาศไอพีซีซี (IPCC) พบว่า โมเดลท�
ำนาย
การเปลี่ยนแปลงความชื้นในดินไม่ถูกต้อง ไม่สามารถระบุได้ว่าใน
อนาคตจะมีปริมาณน�้
ำเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามรูปที่ 7
การตรวจวัดความชื้นของดินโดยใช้ดาวเทียมนั้น มีมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2552 โดย องค์กรอวกาศยุโรป ESA (European Space
Agency) ดาวเทียม SMOS ท�
ำการตรวจวัดความชื้นของดินและ
ความเค็มของมหาสมุทร โดยใช้ L-band interferometric
radiometer เป็นตัวตรวจจับความร้อนจากพื้นดิน และ SMOS ได้
ท�
ำอุปกรณ์ใหม่ ระบุความชื้นของดินเฉลี่ยทุก 3 วัน ตามรูปที่ 8 และ
วัดดัชนีชี้ความแห้งแล้งของดินตามระดับความชื้นของดิน (Drought
Index) (SDI) ตามรูปที่ 9 พบว่า ประเทศไทยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเผชิญความแห้งแล้งระดับ 0.2-0.3 ด้านบน
ของประเทศแอฟริกา รวมถึงทะเลทรายซาฮาร่า และบริเวณตอนกลางของทวีปออสเตรเลียประสบความแห้งแล้งมากเช่นกัน
(โดยมีค่าระดับความแห้งแล้งอยู่ที่ 0-0.1 ส่วนทวีปอเมริกา พื้นทีทางด้านทิศตะวันตกประสบความแห้งแล้งซึ่งตรงข้ามกับทางด้าน
ทิศตะวันออกส่วนใหญ่มีความชุ่มชื้น
รูปที่ 7 แสดง โมเดลท�
ำนายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้น
ของดินตามทวีปต่าง ๆ
(ที่มา:
http://smap.jpl.nasa.gov/files/smap2/IPCC2.jpg)