Previous Page  24 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 24 / 62 Next Page
Page Background

24

นิตยสาร สสวท.

ในพวกซาลาแมนเดอร์จะแตกต่างจากกบตรงที่ไม่มีเยื่อ

แก้วหู ส่วนปลายของกระดูก columella จะต่อติดกับกระดูก

squamosal ของกะโหลกผ่านทางเอ็นยึดแทน อย่างไรก็ตาม

กระดูก columella ยังคงใช้พื้นที่ร่วมกับกระดูก operculum

ในการปิดรูเปิดรูปไข่อยู่ เสียงสามารถเดินทางผ่านเข้าหูชั้นในได้

2 ทาง คือ จากกระดูก squamosal ไปยัง columella และจาก

กระดูกรองรับขาหน้าไปยัง operculum (รูปที่ 2 ขวา) เนื่องจาก

ไม่มีเยื่อแก้วหู ซาลาแมนเดอร์จะมีความไวต่อเสียงในอากาศได้

ไม่ดีเท่ากับในกบ

รูปที่ 2 โครงสร้างของหูกบ (ภาพซ้าย) และกลไกการรับเสียงในซาลาแมนเดอร์ (ภาพขวา)

เนื่องจากสัตว์สะเทินน�้

ำสะเทินบก

ส่วนใหญ่มีหัวขนาดเล็ก กว้างเพียงไม่กี่

เซนติเมตร และรับเสียงได้ดีในช่วงความถี่

ที่ไม่สูงมากนัก (ต�่

ำกว่า 10 กิโลเฮิรตซ์)

การวิเคราะห์แหล่งก�

ำเนิดเสียงจากความ

แตกต่ างของเวลาและความเข้มเสียง

ระหว่างหูทั้งสองข้างจะใช้ประโยชน์ได้

น้อย ในกบจะอาศัยการท�

ำงานร่วมกัน

ระหว่างหูชั้นกลางและช่องปากแทน โดย

แรงดันเสียงที่เกิดขึ้นในเยื่อแก้วหูซ้ายและ

ขวาจะถูกส่งผ่านท่อ ยูสเตเชียน (eustachian

tube) ไปยังช่องปาก ซึ่งที่นี่จะเกิดการสั่น

พ้องของเสียงขึ้น ก่อนส่งไปยังเยื่อแก้วหู

ของอีกฝั่งหนึ่ง ด้วยวิธีการนี้มันจึงตรวจจับ

ความแตกต่างของเสียงที่มาถึงหูซ้ายและ

ขวาได้ และบอกได้ว่าแหล่งก�

ำเนิดของ

เสียงนั้นอยู่ในทิศทางใดขณะที่ในซาลา

แมนเดอร์ หูชั้นในข้างซ้ายและขวาจะ

เชื่อมต่อกันผ่านช่องของเหลวที่พาดผ่าน

กะโหลก ท�

ำให้แรงสั่นสะเทือนของเสียง

กระจายจากหูข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้

ช่วยในการวิเคราะห์ความแตกต่างของเสียง

ระหว่างหูสองข้าง

3. การรับเสียงในสัตว์เลื้อยคลานและ

สัตว์ปีก

โดยทั่วไปหูของสัตว์เลื้อยคลานและ

สัตว์ปีกจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ท่อรูหู

ส่วนนอก (external auditory meatus)

เริ่มปรากฏครั้งแรกในสัตว์เลื้อยคลาน

เป็นหลืบตื้น ๆ ส่วนปลายของท่อเป็นที่

ตั้งของเยื่อแก้วหู มีกระดูก columella

เชื่อมติดกับเยื่อแก้วหู ทอดข้ามโพรงของ

หูชั้นกลางไปติดกับรูเปิดรูปไข่ (oval

window) (รูปที่ 3 ซ้าย) ในสัตว์เลื้อย

คลานส่วนใหญ่และสัตว์ปีก เสียงใน

อากาศจะกระทบเยื่อแก้วหู เกิดการสั่น

สะเทือน แล้วส่งต่อไปยังกระดูก columella

ผ่านรูเปิดรูปไข่ เข้าสู่หูชั้นในต่อไป

อย่างไรก็ตาม งูจะไม่เหมือนสัตว์กลุ่มอื่น

เพราะไม่มีรูหูส่วนนอกและเยื่อแก้วหู

และกระดูก columella จะไปต่อติดกับ

กระดูก quadrate ซึ่งเชื่อมต่อกับ

กระดูกขากรรไกรล่างแทน (รูปที่ 3 ขวา)

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่างูนั้นหูหนวก แต่

จากงานวิจัยพบว่า มันสามารถตอบสนอง

ต่อเสียงจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน

และเสียงจากอากาศได้ โดยจะไวต่อ

เสียงที่มาจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน

มากกว่า เสียงที่รับจะอยู่ในช่วงความถี่

ต�่

ำและมีความไวในช่วงความถี่แคบ ๆ

ขากรรไกรล่างจะรับเสียงที่มากับพื้นดิน

แล้วส่งต่อไปยังกระดูก quadrate และ

columella ผ่านรูเปิดรูปไข่ไปยังตัวรับ

เสียงในหูชั้นใน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า

เยื่อแก้วหูในงูอาจลดรูปหายไปในช่วงต้น

วิวัฒนาการของพวกมันเพื่อปรับตัว

ส�

ำหรับการใช้ชีวิตในดิน แม้ว่าปัจจุบันนี้

งูส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บนดิน แต่ก็ยังพบ

งูโบราณที่ยังคงอาศัยในดินอยู่

รูปที่ 3 โครงสร้างของหูในสัตว์เลื้อยคลาน (ภาพซ้าย) และกลไกการรับเสียงจากพื้นดินในงู (ภาพขวา)

การวิเคราะห์ทิศทางของเสียงในสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ยังคงไม่สามารถใช้ประโยชน์

จากความแตกต่างของเวลาและความเข้มเสียงระหว่างหูสองข้างได้อย่างเต็มที่ เพราะมีขนาดหัว

ค่อนข้างแคบ อย่างไรก็ตาม สัตว์ทั้งสองกลุ่มได้พัฒนาวิธีที่ช่วยในการวิเคราะห์ต�

ำแหน่ง

ของเสียงขึ้นหลายวิธี เช่น การที่รูหูทั้งสองข้างมีขนาด รูปร่างหรือต�

ำแหน่งแตกต่างกัน

หรือการที่สัตว์มีการเคลื่อนที่ของหัวและหูขณะฟังเสียง เป็นต้น

columella

operculum

operculum

squamosal

columella

columella

perrilymph

lagena

columella

quadrate

สแกนโค้ดนี้เพื่อ

ชมภาพเคลื่่อนไหว