Previous Page  25 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 25 / 62 Next Page
Page Background

25

ปีที่ 42 ฉบับที่ 190 กันยายน- ตุลาคม 2557

บรรณานุกรม

Fay, R.R., & Popper, A.N. (2000). Evolution of hearing in vertebrates:

the inner ears and processing.

Hearing Res, 149: (1-2),

1-10.

Heffner, R.S. (2004). Primate hearing from a mammalian

perspective.

Anat Rec Part A

,

281A

: ,1111-1122.

Kardong, K.V. (2006).

Vertebrates: Comparative anatomy,

function,

evolution. Michigan: McGraw-Hill.

Liem, K.F., Bemis, W.E., Walker, W.F., & Grande, L.(2001).

Functional anatomy of the vertebrates: an evolutionary

perspective. (3rd

ed.). Belmont: Thomson Learning.

Manley, G.A. (2010). An evolutionary perspective onmiddle ears.

Hearing Res, 263,

3-8.

McCormick, C.A. (1999). Anatomy of the central auditory

pathways of fishes and amphibians. In: Fay.

Comparative

hearing: fish and amphibians.

155-215.

Nummela, S., Thewissen, J.G.M., Bajpai, S., Hussain, T.,

& Kumar, K., (2007). Sound transmission in archaic and

modern whales: anatomical adaptations for underwater

hearing.

Anat Rec,

290

, 716-733.

4. การรับเสียงในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้

ำนม

เหตุการณ์ส�

ำคัญที่เกิดขึ้น คือ การพัฒนาของใบหูที่

เคลื่อนไหวได้ (ยกเว้นในกลุ่มที่ออกลูกเป็นไข่ เช่น ตุ่นปากเป็ด)

และการปรากฏตัวของกระดูกในหูชั้นกลาง 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูก

ค้อน (malleus) ทั่ง (incus) และโกลน (stapes) (รูปที่ 4) โดย

กระดูกโกลนเทียบได้กับกระดูก columella ในสัตว์สี่ขากลุ่มอื่น

กระดูกทั้งสามชิ้นจะเรียงตัวต่อติดกันจากเยื่อแก้วหูตามล�

ำดับ

และส่วนแผ่นฐานของกระดูกโกลนจะไปประกบติดกับรูเปิดรูปไข่

(oval window) ใบหูจะท�

ำหน้าที่หักเหเสียงเข้าสู่รูหูไปกระทบ

กับเยื่อแก้วหู กระดูกหูทั้งสามชิ้นจะช่วยขยายแรงสั่นสะเทือน

จากเยื่อแก้วหู แล้วถ่ายทอดผ่านเข้าไปในรูเปิดรูปไข่ ท�

ำให้

ของเหลวในหูชั้นในสั่นสะเทือน เกิดการกระตุ้นเซลล์รับเสียงได้

การปรากฏของกระดูกหูสามชิ้นนี้ ท�

ำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วย

น�้

ำนมมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดเสียงความถี่สูงสู่หูชั้นใน

ได้ดีกว่าการมีกระดูก columella เพียงชิ้นเดียว เนื่องจากปกติ

กระดูก columella จะมีบางส่วนที่ยังเป็นกระดูกอ่อนเหลืออยู่

ท�

ำให้เกิดการงอและสูญเสียพลังงานได้ระหว่างถ่ายทอดพลังงาน

ไปยังหูชั้นใน ส่วนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้

ำนม กระดูกทั้งสามชิ้น

จะเป็นกระดูกอย่างสมบูรณ์ จึงไม่เกิดการงอและสูญเสียพลังงาน

น้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกใจว่า ท�

ำไมสัตว์เลี้ยงลูกด้วย

น�้

ำนมถึงสามารถฟังเสียงในช่วงความถี่ที่สูงกว่าในสัตว์มีกระดูก

สันหลังกลุ่มอื่น

ส�

ำหรับการวิเคราะห์ต�

ำแหน่งของแหล่งก�

ำเนิดเสียง สัตว์เลี้ยง

ลูกด้วยน�้

ำนมที่มีหัวขนาดใหญ่สามารถประเมินทิศทางของเสียง

ได้จากความแตกต่างของเวลาที่เสียงมาถึงรูหูแต่ละข้าง ส่วนใน

สัตว์ที่มีหัวขนาดเล็ก เช่น หนูหรือค้างคาวบางชนิด จะวิเคราะห์

ทิศทางของเสียงจากความเข้มเสียงที่แตกต่างกันระหว่างหูสอง

ข้าง เนื่องจากเสียงที่มีความถี่ต�่

ำส่วนใหญ่มักจะเคลื่อนผ่านหัวได้

โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่เสียงความถี่สูงสามารถถูกหัว

กั้นไว้ได้ ท�

ำให้ความเข้มเสียงที่มาถึงหูทั้งสองข้างไม่เท่ากัน

ดังนั้นพวกสัตว์ขนาดเล็กจึงมีวิวัฒนาการเพื่อฟังเสียงที่ความถี่สูง

กว่าเพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของความ

เข้มเสียงได้ นอกจากนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้

ำนมยังใช้ประโยชน์

จากการเคลื่อนที่ของหัวและใบหูช่วยในการบอกทิศทางของเสียง

อีกด้วย ซึ่งประโยชน์จากใบหูนี้เป็นลักษณะเฉพาะในสัตว์เลี้ยง

ลูกด้วยน�้

ำนม

จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะเห็นว่า กลไกการรับและ

วิเคราะห์เสียงในสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นมีรูปแบบที่หลากหลาย

และซับซ้อนมาก อาศัยการท�

ำงานร่วมกันระหว่างหูกับหลายส่วน

ของร่างกาย เช่น ช่องปาก ขากรรไกร หรือสมอง และมีการ

เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานับตั้งแต่ยุคเริ่มต้นวิวัฒนาการของสัตว์

มีกระดูกสันหลัง สัตว์แต่ละกลุ่มมีการปรับตัวที่แตกต่างกันไป

เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของเสียงในสภาพแวดล้อม

ได้อย่างเหมาะสม เพื่อความอยู่รอดและการด�

ำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป

รูปที่ 4 โครงสร้างของหูในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้

ำนม ซึ่งพบกระดูกค้อน ทั่ง และ

โกลนในหูชั้นกลาง