

22
นิตยสาร สสวท.
ดร.ธนะกุล วรรณประเสริฐ
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / e-mail:
thanakul@gmail.comการรับและวิเคราะห์เสียง จัดเป็นระบบรับสัมผัสที่ส�
ำคัญและจ�
ำเป็นในสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกกลุ่ม แรงผลักดันทางวิวัฒนาการที่ส�
ำคัญ
ที่มีผลต่อรูปแบบการรับฟังเสียงมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ ประการแรก คือ การสื่อสาร สัตว์ใช้เสียงเพื่อการสื่อสารในหลายจุดประสงค์
สภาพแวดล้อมจะเป็นตัวก�
ำหนดว่า เสียงแบบใดที่จะถูกส่งผ่านในตัวกลางได้ดีโดยมีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะน้อยที่สุด ระบบการรับเสียง
ของสัตว์จะปรับตัวให้เข้ากับข้อจ�
ำกัดทางสภาพแวดล้อมเหล่านั้น แรงผลักดันอีกอย่าง คือ ความสามารถของสัตว์ในการบอกทิศทางของ
แหล่งก�
ำเนิดเสียงที่สนใจได้อย่างถูกต้อง ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงจากหลายแหล่งก�
ำเนิดเสียง มีการกระจายของเสียง และเสียงรบกวน
(noise) มากมาย ความสามารถในการแยกเสียงที่สนใจออกจากเสียงอื่น ๆ จัดเป็นปัญหาพื้นฐานของสัตว์ทุกตัวที่จะต้องแก้ ไข
และเป็นแรงผลักดันทางวิวัฒนาการที่ส�
ำคัญยิ่ง
รอบรู้วิทย์
วิวัฒนาการของ
การรับเสียง
ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การตรวจจับสัญญาณเพื่อหลีกหนีศัตรู หรือเพื่อล่าเหยื่อ
เป็นอาหาร จัดเป็นหน้าที่พื้นฐานของระบบการรับเสียง
ซึ่งกิจกรรมทั้งสองอย่างนี้ต้องอาศัยทั้งการสื่อสารและ
ความสามารถในการแยกแยะเสียง ด้วยเหตุนี้ โครงสร้างของหู
ในสัตว์แต่ละกลุ่มจึงมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในสาย
วิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยการเปลี่ยนแปลง
ที่ส�
ำคัญเกิดขึ้นในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนจากการใช้ชีวิต
ในน�้
ำขึ้นมาอยู่บนบก ในที่นี้จะกล่าวถึงกลไกการรับและ
วิเคราะห์เสียงในสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อน
ให้เห็นถึงการปรับตัวของโครงสร้างหูตลอดช่วงเวลาของ
วิวัฒนาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรับเสียงได้อย่าง
เหมาะสมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่่อนไหว