Previous Page  23 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 23 / 62 Next Page
Page Background

23

ปีที่ 43 ฉบับที่ 194 พฤษภาคม - มิถุนายน 2558 ี

ที่ ั

บี่ ิ

ถุน

ท้องฟ้าแสดงเส้นทางขึ้นตกของดวงจันทร์หิมะของผู้ที่อยู่ ณ ละติจูด 50 องศาเหนือ

2.

จันทร์เพ็ญในเดือนกุมภาพันธ์ มีชื่อว่า ดวงจันทร์หิมะ

(Snow Moon)

ทั้งนี้เพราะเดือนกุมภาพันธ์ ยังหนาวอยู่และมีหิมะหนา

มากกว่าเดือนมกราคม ส�

ำหรับผู้ที่เรียกจันทร์เพ็ญเดือนมกราคม

ว่ า เป็ นดวงจันทร์ หิมะ จะ เรียกจันทร์ เพ็ญเ ดือนนี้ว่ า

ดวงจันทร์แห่งความหิว

(Hunger Moon)

เพราะเป็นสภาพ

ที่ยากล�

ำบากในการล่าสัตว์ จันทร์เพ็ญในเดือนกุมภาพันธ์

จะอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าเหนือแต่อยู่ใกล้ศูนย์สูตรฟ้า

มากกว่ากลุ่มดาวปู ดังนั้นดวงจันทร์หิมะจึงขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออก

มากกว่าเดือนมกราคม โดยขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือ

ประมาณ 15 องศา ขึ้นเวลาหัวค�่

ำ เส้นทางขึ้น-ตกของดวงจันทร์

จะเฉียงไปทางใต้ตามละติจูดของผู้สังเกต เช่น ถ้าละติจูดของ

ผู้สังเกตเป็น 50 องศาเหนือ ดวงจันทร์จะขึ้นเฉียงไปทางใต้ของ

เส้นตั้งฉากกับขอบฟ้าเป็นมุม 50 องศา ทางตะวันออกเฉียงไป

ทางเหนือประมาณ 15 องศา เมื่อขึ้นไปสูงสุดจะอยู่ทางทิศใต้ที่

มุมเงย 90°-50°+15° เท่ากับ 55 องศา และตกไปทางตะวันตก

เฉียงไปทางเหนือประมาณ 15 องศา

3.

จันทร์เพ็ญในเดือนมีนาคม เรียกว่า

ดวงจันทร์ไส้เดือน

(Worm Moon)

เดือนมีนาคมหิมะเริ่มละลาย เพราะอากาศอุ่นขึ้นเนื่องจาก

ก�

ำลังย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเริ่มในตอนปลายเดือนมีนาคม (21

มีนาคม เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดีและ

ตกตรงจุดทิศตะวันตกพอดี ท�

ำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน) เมื่อ

หิมะละลายพื้นดินจะชุ่มและอ่อนนุ่ม ไส้เดือนโผล่หัวออกมาหา

อาหารได้ สังเกตเห็นรูไส้เดือนตลอดทั้งมูลของมัน สัญลักษณ์

ของฤดูใบไม้ผลิเริ่มปรากฏ เป็นเสียงร้องของนกกา เรียกจันทร์

เพ็ญในเดือนนี้อีกชื่อว่า

ดวงจันทร์นกกา

(Crow Moon)

เกิด

เปลือกนอกใส ๆ ของน�้

ำแข็งที่มาจากหิมะละลาย จึงเรียกว่า

ดวงจันทร์เปลือกนอก

(Crust Moon)

เป็นจันทร์เพ็ญสุดท้าย

ของฤดูหนาว เนื่องจากวันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์อยู่บน

เส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวปลา จันทร์เพ็ญในช่วงนี้

อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จึงอยู่ในกลุ่มดาวผู้หญิงสาว เส้นทาง

ขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์และของจันทร์เพ็ญจึงใกล้เคียงกัน กล่าว

คือ ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดี ขณะอยู่สูงสุดหรือผ่านเมริเดียน

จะอยู่ทางใต้ของจุดเหนือศีรษะเท่ากับมุมที่บอกละติจูดของ

ผู้สังเกต เช่น ถ้าอยู่ที่ละติจูด 60 องศาเหนือ จะเห็นดวงจันทร์

ไส้เดือนผ่านเมริเดียนที่มุมเงย 90° - 60° เท่ากับ 30 องศา

เหนือขอบฟ้าทิศใต้ ดวงจันทร์ไส้เดือนจะปรากฏอยู่บนท้องฟ้า

ตลอดทั้งคืน

4.

จันทร์เพ็ญในเดือนเมษายน เรียกว่า

ดวงจันทร์สีชมพู

(Pink Moon)

ในซีกโลกเหนือ เดือนเมษายนอยู่ในช่วงอากาศอบอุ่นขึ้น

ต้นไม้ผลิดอกออกใบเต็มที่ พื้นดินเขียวชอุ่มด้วยพืชตลอดทั้งหญ้า

สีชมพู และดอกไม้นานาชนิด จันทร์เพ็ญในเดือนนี้มีชื่อเรียกอย่าง

อื่นอีกคือ

ดวงจันทร์หญ้างอก

(Sprouting Grass Moon) ดวง

จันทร์ไข่

(Egg Moon)

และ

ดวงจันทร์ปลา

(Fish Moon)

ส�

ำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ชายทะเล

ดวงอาทิตย์ในเดือนเมษายนจะอยู๋ในกลุ่มดาวแกะ ซึ่งอยู่

ในซีกฟ้าเหนือ และในปลายเดือนเมษายน ดวงอาทิตย์จะอยู่ห่าง

ไปทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 15 องศา จันทร์เพ็ญ

ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในช่วงนี้จึงอยู่ในซีกฟ้าใต้ในกลุ่ม

ดาวคันชั่ง ดวงจันทร์สีชมพูจะขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางใต้

ไม่น้อยกว่า 15 องศา เมื่ออยู่สูงสุดจะอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศใต้

มากกว่าเดือนก่อน ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ถ้าสังเกต ณ ละติจูด

60 องศาเหนือ จะเห็นดวงจันทร์ผ่านเมริเดียน ณ จุดที่มีมุมเงย

เพียง 90° - 60° - 15° เท่ากับ 15 องศา ดวงจันทร์สีชมพู

จึงอยู่ในระดับต�่

ำใกล้ขอบฟ้าตลอดทั้งคืน