

นิตยสาร สสวท.
24ิ
ต
7.
จันทร์เพ็ญในเดือนกรกฎาคม เรียกว่า
ดวงจันทร์กวางผู้
(Buck Moon)
ในเดือนกรกฎาคมกวางตัวผู้ ตัวเมียเจริญเติบโตขึ้นมีขนงอก
ที่เขาของตัวผู้ จันทร์เพ็ญในเดือนกรกฎาคม จึงมีชื่อว่า
ดวงจันทร์
กวางผู้
นอกจากนั้นลมฟ้าอากาศแปรปรวนมีฟ้าร้องฟ้าแลบอยู่
บ่อย ๆ ท�
ำให้ดวงจันทร์กวางผู้มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า
ดวงจันทร์
ฟ้าร้อง
(Thunder Moon)
ชนพื้นเมืองบางเผ่าเรียกว่า
ดวง
จันทร์หญ้าเฮย์
(Hay Moon)
เป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวหญ้าเฮย์
ดวงอาทิตย์ในเดือนกรกฎาคมอยู่ในกลุ่มดาวปู อยู่ห่าง
ศูนย์สูตรฟ้าไปทางเหนือประมาณ 20 องศา ดังนั้นจันทร์เพ็ญใน
ช่วงนี้จึงอยู่ห่าง ศูนย์สูตรฟ้าไปทางใต้ประมาณ 20 องศา เส้น
ทางขึ้น–ตก ของดวงจันทร์จะยังอยู่ทางทิศใต้ของศูนย์สูตรฟ้า
แต่อยู่ค่อนมาทางเหนือมากกว่าเดือนก่อน
8.
จันทร์ เพ็ญในเดือนสิงหาคม เรียกว่าดวงจันทร์
ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon Moon)
ปลาสเตอร์ เจียน เป็นปลาน�้
ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง
พบทั่วไปในทะเลสาบใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ใกล้เคียง
ชาวประมงจับปลาชนิดนี้ได้ง่ายในเดือนสิงหาคม จันทร์เพ็ญใน
เดือนนี้จึงมีชื่อว่า
ดวงจันทร์ปลาสเตอร์เจียน
นอกจากนี้เดือน
สิงหาคมมักมีหมอกควัน ท�
ำให้เห็นจันทร์เพ็ญเป็นสีแดง ชนเผ่า
พื้นเมืองบางเผ่าเห็นเช่นนั้นจึงเรียกว่า
ดวงจันทร์สีแดง (RedMoon)
ดวงอาทิตย์ในเดือนสิงหาคมอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ซึ่งอยู่ทาง
เหนือของศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 15 องศา จันทร์เพ็ญในช่วงนี้จึง
อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน�้
ำตรงข้ามกับกลุ่มดาวสิงโตและอยู่
ทางใต้ของศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 15 องศา เส้นทางขึ้น–ตก ของ
ดวงจันทร์ปลาสเตอร์เจียนจึงยังอยู่ทางใต้ของศูนย์สูตรฟ้า แต่อยู่
ใกล้ศูนย์สูตรฟ้ามากขึ้น ดวงจันทร์อยู่บนฟ้านานมากขึ้นกว่า
จันทร์เพ็ญในเดือนกรกฎาคม
9.
จันทร์ เพ็ญในเดือนกันยายน เรียกว่าดวงจันทร์
เก็บเกี่ยว (Harvest Moon)
กันยายนเป็นช่วงที่ฤดูร้อนก�
ำลังจะสิ้นสุด และย่างเข้าฤดู
ใบไม้ร่วง วันที่ 23 กันยายนดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนศูนย์สูตรฟ้า
คล้ายวันที่ 21 มีนาคม แต่เป็นคนละฤดู กันยายนเป็นฤดู
เก็บเกี่ยวพืชผล เช่น ข้าวโพด ถั่ว ข้าว แสงจันทร์เพ็ญในเดือน
นี้สว่างมากพอที่จะช่วยให้ชาวนาของยุโรปเก็บเกี่ยวพืชผลได้นานขึ้น
ในช่วงเวลากลางคืน จึงเรียกว่าดวงจันทร์เก็บเกี่ยว บางทีเรียกว่า
ดวงจันทร์ข้าวโพด
(Corn Moon)
ดวงอาทิตย์ในวันนี้อยู่ในกลุ่มดาวผู้หญิงสาว จันทร์เพ็ญจึง
อยู่ในกลุ่มดาวปลา เส้นทางขึ้น–ตก ของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์
จึงคล้ายกัน เพราะต่างก็เป็นกลุ่มดาวที่ศูนย์สูตรฟ้าผ่าน
5.
จันทร์เพ็ญในเดือนพฤษภาคม เรียกว่า
ดวงจันทร์
ดอกไม้ (Flower Moon)
ในเดือนพฤษภาคม ดอกไม้นานาชนิดจะบานสะพรั่ง พื้นดิน
อุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะลงข้าวโพด ดวงจันทร์ดอกไม้จึงมีอีกชื่อ
หนึ่งว่า
ดวงจันทร์วันปลูกข้าวโพด (Corn Planting Moon)
ดวงอาทิตย์ในปลายเดือนพฤษภาคมอยู่ในกลุ่มดาววัว ซึ่งอยู่
ทางซีกฟ้าเหนือ ดวงอาทิตย์อยู่ห่างศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 20 องศา
เป็นช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน จันทร์เพ็ญซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ
ดวงอาทิตย์จะอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้ ดังนั้น
ดวงจันทร์ดอกไม้จึงขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางใต้ประมาณ 20
องศา และตกไปทางตะวันตกเฉียงไปทางใต้ประมาณ 20 องศา
เส้นทางขึ้น–ตก ของดวงจันทร์ดอกไม้จะอยู่ค่อนไปทางทิศใต้
มากกว่าดวงจันทร์สีชมพู
6.
จันทร์เพ็ญในเดือนมิถุนายน
เรียกว่า
ดวงจันทร์
สตรอเบอร์รี่ (Strawberry Moon)
วันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ปรากฏห่าง
ศูนย์สูตรฟ้าไปทางเหนือมากที่สุด ตรงกับวันครีษมายัน (Summer
Solstice) ในซีกโลกเหนือ วันนี้เป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุด
ดวงอาทิตย์ขึ้นเฉียงไปทางเหนือ มากกว่าเดือนอื่น ๆ และ
ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ ในกลุ่มดาวคนคู่ ดังนั้นดวงจันทร์
สตรอเบอร์รี่ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์จึงอยู่ในกลุ่มดาว
คนยิงธนู ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้ โดยดวงจันทร์จะอยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรฟ้า
ไปทางใต้เกือบ 30 องศา เส้นทางขึ้น–ตก ของดวงจันทร์
สตรอเบอร์รี่จึงอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศใต้มากขึ้นกว่าเดือนอื่น ๆ
เส้นทางขึ้น-ตก ของดวงจันทร์สีชมพูจากละติจูด 60 องศาเหนือ