Previous Page  20 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 20 / 62 Next Page
Page Background

นิตยสาร สสวท.

20ิ

กิจกรรมละครวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ถูกหยิบขึ้นมา

เพื่อตอบโจทย์นี้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถสอนเนื้อหา

ความรู้หลายวิชาพร้อม ๆ กัน บทละครวิทยาศาสตร์ท�

ำให้ผู้แสดง

เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเรียนรู้ได้จากการค้นคว้าและ

ท�

ำความเข้าใจในตัวบท เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ของ

บท และคิดแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่ม จากนั้นจึงน�

ำไป

ถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ ผู้ชม ส่วนผู้ชมก็ได้ความรู้จากสิ่งที่เพื่อน ๆ

แสดงและคิดต่อยอดจากที่ได้รับการถ่ายทอด ในหลาย ๆ

ประเทศก็ได้มีการน�

ำกิจกรรมละครวิทยาศาสตร์มาใช้เป็น

กิจกรรมเสริมบทเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในวิชา

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จึงเหมาะจะใช้ในการเสริมทักษะ

และกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้กับ

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในค่ายโครงการพัฒนา

อัจฉริยภาพฯ ได้อย่างดี

โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

สสวท. ได้เล็งเห็นว่า นอกจากความรู้ทางวิชาการที่นักเรียนมีแล้ว

การประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจ�

ำวัน

มีความส�

ำคัญ เพื่อให้สามารถน�

ำความรู้มาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ และท�

ำให้สามารถใช้ชีวิต

อยู่บนโลกได้อย่างเป็นปกติสุข รวมถึงป้องกันและแก้ไขปัญหา

ที่จะเกิดตามมาในอนาคต จึงควรปลูกฝังให้นักเรียนมองเห็น

ปัญหา และรู้จักค้นคว้าหาข้อมูล และวิธีแก้ไขปัญหาตั้งแต่เด็ก

โดยเริ่มจากปัญหาเล็ก ๆ ที่ใกล้ตัว

เนื้อหาละครส�

ำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในค่าย

โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม

ที่ผ่านมาจึงเป็นการแสดงละครที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับวัย

บทละครดัดแปลงมาจากนิทานพื้นบ้าน หรือข่าวที่เกิดขึ้นจริงใน

สังคมไทย เป็นเรื่องราวง่าย ๆ ที่นักเรียนตัวน้อยสามารถเข้าใจ

และถ่ายทอดออกมาได้ไม่ยากนัก เช่น เรื่องฟ้าผ่า การพิสูจน์

การเป็นพ่อลูก ปลาในแม่น�้

ำตาย ข่าวผีปอบปรากฏในหมู่บ้าน

และท�

ำให้คนในหมู่บ้านล้มตายผิดปกติ เนื่องจากเป็นบริบทที่ไม่

ไกลตัว น�

ำไปสู่การถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนในกลุ่มอื่น ๆ ได้

อย่างตรงประเด็น กิจกรรมนี้ได้แบ่งนักเรียนออกเป็นสิบกลุ่ม

แต่ละกลุ่มจะได้เรื่องที่แตกต่างกันไปกลุ่มละ 1 เรื่อง ซึ่งเนื้อเรื่อง

ที่ได้รับจะเป็นเพียงโครงเรื่องเท่านั้น นักเรียนจะต้องช่วยกัน

หาข้อสรุปให้เข้ากับสถานการณ์ โดยมีเวลาให้เตรียมตัวก่อน

แสดง 1 วัน และใช้เวลาว่างหลังจากกิจกรรมอื่น ๆ และเวลาพัก

ในค่ายปรึกษากันภายในกลุ่ม เพื่อต่อยอดปัญหา และแบ่งบทให้

ลงตัวเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน แล้วเริ่มฝึกซ้อมบทบาทก่อน

การแสดงจริง