Previous Page  26 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 26 / 62 Next Page
Page Background

นิตยสาร สสวท.

26ิ

13.2 จันทร์เพ็ญวันวิสาขบูชา

ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ทาง

จันทรคติ จันทร์ เพ็ญอยู่ ใน

วิสาขฤกษ์

ซึ่งอยู่ บริเวณ

ดาวแอลฟา คันชั่ง

ในกลุ่มดาวคันชั่ง ดวงอาทิตย์ในวันนี้จะ

อยู่ในกลุ่มดาวแกะหรือกลุ่มดาวเดือนเมษายน จันทร์เพ็ญ

วันวิสาขบูชาจึงตรงกับปลายเดือนเมษายนและต้นเดือน

พฤษภาคม ส�

ำหรับ

ปีปกติมาสปกติวาร

และจะเป็นปลายเดือน

พฤษภาคม ถึงต้นเดือน มิถุนายนส�

ำหรับ

ปีอธิกมาสปกติวาร

ซึ่ง

ตรงกับวันเพ็ญเดือน 7 ทางจันทรคติ

13.3 จันทร์เพ็ญวันอาสาฬหบูชา

ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8

ทางจันทรคติ (วันเพ็ญเดือน 9 ส�

ำหรับ

ปีอธิกมาสปกติวาร

)

อาสาฬหฤกษ์อยู่บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นช่ วงที่

ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ จึงตรงกับปลายเดือนมิถุนายน

จันทร์เพ็ญวันอาสาฬหบูชา จะขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทาง

ใต้มากที่สุด เมื่ออยู่สูงสุดจะอยู่ค่อนไปทางใต้ของจุดเหนือศีรษะ

และตกทางตะวันตกเฉียงไปทางใต้ ใน

ปีอธิกมาสปกติวาร

วันอาสาฬหบูชาจะตรงกับวันเพ็ญเดือน 9

13.4 จันทร์ เพ็ญวันออกพรรษา

เป็นวันสิ้นสุดการ

จ�

ำพรรษาแห่งพระสงฆ์ ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค�่

ำ เดือน 11 วัน

ปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก (พจนานุกรม

ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2543)

จันทร์เสี้ยวข้างขึ้น

(Waxing Cresent Moon)

จันทร์ครึ่งดวงข้างขึ้น

(First Cresent moon)

จันทร์ค่อนดวงข้างขึ้น

(Waxing Gibbous Moon)

จันทร์เพ็ญ

(Full Moon

จันทร์ค่อนดวงข้างแรม

(Waxing Gibbous Moon)

จันทร์ครึ่งดวงข้างแรม

(Last Quater Moon)

จันทร์เสี้ยวข้างแรม

(Waxing Cresent Moon)

13.5 วันอุโบสถ

ตรงกับวันเพ็ญหรือวันขึ้น 15 ค�่

ำ ของทุก

เดือน วันแรม 14 ค�่

ำ (ส�

ำหรับเดือนคี่) และวันแรม 15 ค�่

ำ(ส�

ำหรับ

เดือนคู่) เรียกว่าวันพระใหญ่เป็นวันที่พระสงฆ์ลงอุโบสถฟัง

พระปาติโมกข์ และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีล คือ ศีล 8

13.6 จันทร์เพ็ญวันลอยกระทง

ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12

จันทร์เพ็ญอยู่บริเวณกระจุกดาวลูกไก่ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น

กิตติกา

ฤกษ์

เมื่อจันทร์เพ็ญอยู่บริเวณกระจุกดาวลูกไก่ในกลุ่มดาววัว

ดวงอาทิตย์จะอยู่ ในกลุ่มดาวแมงป่องหรือกลุ่มดาวเดือน

พฤศจิกายน จันทร์เพ็ญวันลอยกระทงจึงอยู่ในช่วงปลายเดือน

พฤศจิกายน หรือต้นเดือนธันวาคม

จันทร์เพ็ญวันลอยกระทง จะขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทาง

เหนือมากกว่าจันทร์เพ็ญส�

ำคัญอื่น ๆ เป็นจันทร์เพ็ญที่สวยงาม

อยู่บนท้องฟ้านานกว่าปกติ โดยอาจเห็นนานถึง 13 ชั่วโมง

ดวงจันทร์บริวารของโลกเป็นดาวที่มีต�

ำนานกล่ าวถึง

มากมาย เช่น ไทยเราเชื่อว่าพระจันทร์เป็นเทพเจ้าหนุ่ม สง่างาม

ถือกระบองและดอกบัว นั่งบนราชรถที่ลากด้วยม้าขาว 10 ตัว

ขึ้นจากฟากฟ้าตะวันออกทุกคืน เป็นผู้ให้ก�

ำเนิดเวลากลางคืน

จึงมีชื่อว่า นิศากร (Nishakar) หรือ เป็นผู้มีกระต่ายอยู่บนร่าง

(ศศิ : Shashi) หรือเป็นผู้มีน�้

ำอมฤต (โสม : Soma) ดวงจันทร์

สวยงาม ไม่ว่าจะเต็มดวง ค่อนดวง ครึ่งดวง หรือเป็นเสี้ยว

ดวงจันทร์ให้ความสุขแก่ทุกคนถ้วนหน้าและตลอดเวลาที่เราเห็น

ดวงจันทร์

สแกนโค้ดนี้เพื่อ

ชมภาพเคลื่อนไหว