Previous Page  25 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 25 / 62 Next Page
Page Background

25

ปีที่ 43 ฉบับที่ 194 พฤษภาคม - มิถุนายน 2558 ี

ที่ ั

บี่ ิ

ถุน

10.

จันทร์เพ็ญในเดือนตุลาคม เรียกว่าดวงจันทร์นักล่าสัตว์

(Hunter’s Moon)

ภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว ใบไม้ใบหญ้าจะหล่นและ

พวกกวางจะอ้วนพี พร้อมที่จะเป็นอาหารของมนุษย์ได้ ท�

ำให้

เกิดฤดูการล่าสัตว์ แสงจันทร์ เพ็ญสว่างช่วยให้นักล่าสัตว์

มองเห็นทางที่จะขี่ม้า และมองเห็นสุนัขจิ้งจอกและสัตว์อื่นได้

โดยไม่ยากจันทร์เพ็ญเดือนนี้จึงได้ชื่อว่า

ดวงจันทร์นักล่าสัตว์

ดวงอาทิตย์ในเดือนตุลาคมอยู่ทางใต้ของศูนย์สูตรฟ้า

โดยอยู่ห่างไปทางใต้ประมาณ 15 องศา อยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง

กลางวันสั้นกว่ากลางคืน จันทร์เพ็ญในเดือนตุลาคมอยู่ตรงข้าม

กับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จึงอยู่ในกลุ่มดาวแกะ เส้นทางขึ้น–ตก

ของดวงจันทร์จะอยู่ทางเหนือของศูนย์สูตรฟ้า เห็นดวงจันทร์

เพ็ญอยู่สูงจากขอบฟ้าด้านทิศใต้มากกว่าจันทร์ เพ็ญเดือน

กันยายน อยู่บนท้องฟ้านานมากกว่า 12 ชั่วโมง

11.

จันทร์เพ็ญในเดือนพฤศจิกายน เรียกว่าดวงจันทร์บีเวอร์

(Beaver Moon)

เดือนนี้ก�

ำลังจะย่างเข้าฤดูหนาว พวกบีเวอร์รู้ถึงเวลาที่จะ

ต้องเตรียมพร้อมส�

ำหรับอากาศหนาวเย็นที่ก�

ำลังจะมา จึงสร้าง

ที่อยู่และท�

ำเขื่อนให้แข็งแรง และส�

ำหรับมนุษย์ก็เป็นช่วงเวลา

ของการท�

ำกับดักบีเวอร์ เพื่อเอาหนังมาท�

ำเป็นเครื่องนุ่งห่มกัน

หนาว ชนพื้นเมืองบางเผ่าเรียกว่า

ดวงจันทร์หนาวเหน็บ

(Frosty Moon)

ดวงอาทิตย์ในเดือนพฤศจิกายนอยู่ห่างศูนย์สูตรฟ้าไปทาง

ใต้มากขึ้น ท�

ำให้เวลากลางวันสั้นลงอีก ส่วนจันทร์เพ็ญของเดือน

นี้จะอยู่ในกลุ่มดาววัว ซึ่งอยู่ห่างไปทางเหนือของศูนย์สูตรฟ้า

ประมาณ 20 องศา เส้นทางขึ้น–ตก ของดวงจันทร์จึงอยู่ทาง

เหนือมากกว่าเดือนพฤศจิกายน โดยดวงจันทร์จะอยู่บนท้องฟ้า

มากกว่า 12 ชั่วโมง

12.

จันทร์เพ็ญในเดือนธันวาคม เรียกว่าดวงจันทร์หนาวเย็น

(Cold Moon)

ธันวาคมเป็นช่วงที่ฤดูหนาวก�

ำลังเริ่มต้น จันทร์เพ็ญของเดือน

ธันวาคมจึงเรียกว่า ดวงจันทร์หนาวเย็น เพราะเวลาที่ดวงจันทร์

อยู่บนฟ้า คนบนโลกจะหนาวเย็นตลอดทั้งคืนที่ยาวนาน

ดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 ธันวาคม จะปรากฏอยู่ใต้สุดในกลุ่ม

ดาวคนยิงธนู เป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวนาน

ที่สุด จันทร์เพ็ญช่วงนี้จึงอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งอยู่ห่างศูนย์สูตร

ฟ้าไปทางเหนือมากที่สุด ดังนั้น เส้นทางขึ้น–ตก ของดวงจันทร์

หนาวเย็นจึงอยู่เหนือสุดของเส้นทางขึ้น–ตก ของจันทร์เพ็ญ

เดือนอื่น ๆ โดยดวงจันทร์จะอยู่บนฟ้านานที่สุดด้วย

13.

จันทร์เพ็ญในประเทศไทย

ประเทศไทยของเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จันทร์เพ็ญในแต่ละ

เดือนมีเส้นทางขึ้น-ตก ไม่ห่างกันมากนัก ทั้งนี้เพราะศูนย์สูตรฟ้า

ที่ดูจากประเทศไทยจะผ่านจุดสูงสุดหรือผ่านเมริเดียน ณ จุด

ที่ทางใต้ของจุดเหนือศีรษะเพียง 15 องศา และจันทร์เพ็ญ

จะมีเส้นทางขึ้น–ตกห่างศูนย์สูตรฟ้าไปทางใต้หรือทางเหนือของ

ศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 28 องศา เราจึงเห็นจันทร์เพ็ญทุกเดือน

อยู่สูงจากขอบฟ้าเสมอ และมีชื่อเฉพาะจันทร์เพ็ญของเดือน

ส�

ำคัญในทางพระพุทธศาสนาซึ่งได้แก่

จันทร์เพ็ญวันมาฆบูชา

จันทร์ เพ็ญวันวิสาขบูชา จันทร์ เพ็ญวันอาสาฬหบูชา

จันทร์ เพ็ญวันออกพรรษา

นอกจากนี้ยังมีจันทร์ เพ็ญอีก

วันหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นวันประเพณีส�

ำคัญของประเทศไทย นั่นคือ

วันเพ็ญเดือน 12 วันลอยกระทง

13.1 จันทร์เพ็ญวันมาฆบูชา

ตรงกับวันเพ็ญหรือขึ้น 15

ค�่

ำเดือน 3 ทางจันทรคติ ซึ่งไม่ใช่เดือน 3 ทางสุริยคติ อย่างหลังนี้

หมายถึงเดือนมีนาคม เดือนทางจันทรคติไม่มีชื่อเดือน ยกเว้น

เดือน 1 และ เดือน 2 ซึ่งเรียกว่าเดือน

อ้าย

และเดือน

ยี่

ตาม

ล�

ำดับ เดือนจันทรคติที่เหลือตั้งแต่ 3-12 เป็นตัวเลขบอกล�

ำดับ

ของเดือน โดยก�

ำหนดให้

เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน

เมื่อเฉลี่ยต่อเดือนจะได้จ�

ำนวนวันต่อเดือนเป็น 29.5 วัน

นี่คือตัวเลขที่ใกล้เคียงกับ

คาบซินอดิกของดวงจันทร์

(ช่วงเวลา

ระหว่างจันทร์เพ็ญแรกถึงจันทร์เพ็ญถัดไป) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย

29.530589 วัน (29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที 2.9 วินาที) แต่

เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลหรือปีทางสุริยคติจึงมีปีจันทรคติ 3

ประเภท คือ

ปีปกติมาสปกติวาร

(มี 12 เดือนรวม 354 วัน)

ปีอธิกมาสปกติวาร

(มี 13 เดือน โดยก�

ำหนดให้มีเดือน 8 สอง

หน รวม 384 วัน) และ

ปีปกติมาสอธิกวาร

(มี 12 เดือน

โดยเดือน 7 มี 30 วัน ท�

ำให้จ�

ำนวนวันใน 1 ปีเท่ากับ 355

วัน) ปีจันทรคติแตกต่างจากปีสุริยคติแต่เทียบเคียงกันได้ เช่น

จันทร์เพ็ญวันมาฆบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 3 จันทร์เพ็ญอยู่ใน

มาฆฤกษ์

บริเวณดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) ในกลุ่มดาวสิงโต

(Leo) ดวงอาทิตย์ในวันนี้ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับดวงจันทร์จะต้องอยู่

ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน�้

ำหรือกลุ่มดาวเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น

วันมาฆบูชา จึงอยู่ ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ส�

ำหรับ

ปีปกติมาสปกติวาร

หรือ

ปีปกติมาสอธิกวาร

แต่ถ้าเป็น

ปีอธิกมาสปกติวาร

วันมาฆบูชาจะตรงกับวันเพ็ญเดือน 4 ซึ่ง

จะตรงกับเดือนมีนาคมในปฏิทินสุริยคติ เช่น พ.ศ. 2558 เป็น

ปีอธิกมาสปกติวาร

(มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาตรงกับ

วันที่ 4 มีนาคม แต่ พ.ศ. 2557 เป็น

ปีปกติมาสปกติวาร

วันมาฆบูชาตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นต้น

ในประเทศไทย จันทร์เพ็ญวันมาฆบูชาจะขึ้นทางตะวันออก

เฉียงไปทางเหนือประมาณ 15 องศาในเวลาหัวค�่

ำ เมื่อเวลา

เที่ยงคืนจะขึ้นไปสูงเหนือศีรษะ และตกทางตะวันตกเฉียงไป

ทางเหนือประมาณ15 องศาในเวลาเช้าของวันใหม่ เป็นจันทร์เพ็ญ

ที่สวยงามตลอดทั้งคืน