

นิตยสาร สสวท.
42ิ
ต
ข้อเสนอ “สอนก่อน แล้วค่อยท�
ำข้อสอบ”
ถึงแม้จะได้รับแรงกดดัน ในการสอนเพื่อให้นักเรียนท�
ำ
คะแนนสอบในแบบทดสอบมาตรฐานได้ดี แต่ครูไม่จ�
ำเป็นต้อง
แลกการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่สนุก น่าสนใจ และสร้างเสริมทักษะ
และ คุณลักษณะอื่น ๆ ที่ส�
ำคัญให้กับนักเรียน ด้วยการ “สอน
เพื่อท�
ำข้อสอบ” ครูสามารถใช้แนวปฏิบัติด้านการเรียนการสอน
ที่ดี มีผลวิจัยรองรับ ในการสอนก่อน แล้วค่อยท�
ำข้อสอบ (ค�
ำว่า
“สอน” ที่มีการขีดเส้นใต้ไว้ เพื่อเป็นการเน้นให้ผู้อ่านทราบว่า
เป็นค�
ำที่มีความหมายเฉพาะ ซึ่งจะอธิบายในเนื้อความต่อไป)
ให้พิจารณาสถานการณ์ในชั้นเรียน 2 สถานการณ์ต่อไปนี้
ในชั้นเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.2
ครูถามนักเรียนว่า ใน
วันที่มีอากาศร้อนอบอ้าว นักเรียนมีวิธีการอย่างไรในการท�
ำให้
ที่พักอาศัยอยู่ได้อย่างเย็นสบายโดยไม่สิ้นเปลืองพลังงาน หลังจาก
การอภิปรายระหว่ างครูกับนักเรียน ครูน�
ำเข้ าสู่กิจกรรม
การเรียนรู้เรื่องหลักการถ่ายโอนความร้อน ให้นักเรียนได้ศึกษา
หลักการด้วยการสืบเสาะหาความรู้ กล่าวคือ ได้ตั้งสมมติฐาน
ทดลอง และ สรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่อสร้าง
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการถ่ายโอนความร้อนด้วย
ตนเอง จากนั้น ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้ออกแบบบ้านจ�
ำลอง
ประหยัดพลังงานที่ท�
ำให้อากาศภายในเย็นที่สุด ด้วยวัสดุที่ครู
เตรียมไว้ ภายหลังการออกแบบ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมา
น�
ำเสนอวิธีการออกแบบบ้านของตนเอง รับฟังและโต้ตอบค�
ำ
วิจารณ์จากเพื่อนร่ วมชั้น ก่ อนจะให้นักเรียนได้ทดสอบ
ประสิทธิผลของชิ้นงานของกลุ่ม สุดท้าย ครูน�
ำอภิปรายเพื่อสรุป
สิ่งที่ได้เรียนรู้ ก่อนจะให้นักเรียนท�
ำข้อสอบเกี่ยวกับหลักการของ
การถ่ายโอนความร้อน เพื่อประเมินความเข้าใจหลังเรียน โดยมี
การวิเคราะห์ อภิปรายข้อสอบแต่ละข้อร่วมกัน หลังจากนักเรียน
ท�
ำข้อสอบเสร็จ
ในการท�
ำกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ชั้น ม.5
ครูให้
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ และ สมบัติของ
แบตเตอรี่ที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนเอง และเปรียบเทียบ
ข้อมูลกับสมาชิกในกลุ่ม จากนั้น ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมา
น�
ำเสนอสิ่งที่ได้ สืบค้ นมา โดยครูเป็ นผู้ ประเมินความรู้
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ ปฏิกิริยาเคมี พลังงาน และ วงจร
ไฟฟ้า จากนั้น ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติม หรือ ให้นักเรียนท�
ำ
กิจกรรมเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของแบตเตอรี่ ก่อนจะมี
การประเมินอีกครั้งด้วยแบบทดสอบย่อยในหัวข้อปฏิกิริยาเคมี
จากนั้น ครูกระตุ้นให้นักเรียนอภิปรายด้วยค�
ำถามว่า “ในอนาคต
การใช้พลังงานแบตเตอรี่ในอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ จะมีแนวโน้ม
เป็นอย่างไร และจะมีผลกระทบกับแหล่งพลังงานและสิ่งแวดล้อม
อย่างไร” ก่อนจะให้นักเรียนบันทึกผลการอภิปราย และคิดวิธี
แก้ปัญหาด้วยการท�
ำโครงงานเพื่อออกแบบและสร้างอุปกรณ์
ส�
ำหรับชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อม โดยระหว่างการท�
ำโครงงาน ครูประเมินความ
เข้าใจในเรื่อง พลังงานทดแทน กระแสไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า และ
ผลกระทบของมนุษย์ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้
จากสมุดบันทึกการท�
ำโครงงาน การอภิปรายและตอบค�
ำถามใน
ชั้นเรียน การตอบค�
ำถามในใบกิจกรรม และ การน�
ำเสนอใน
ช่วงท้ายของการท�
ำโครงงาน
แนวทางการสอนดังตัวอย่างที่ได้น�
ำเสนอไปนั้น ครูเป็น
ผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับ
สถานการณ์ในชีวิตจริง เปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมของนักเรียน
ทุกคนในการอภิปราย คิดตอบค�
ำถามที่ใช้ความคิดขั้นสูง
(higher-order thinking) ได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ได้ฝึกฝน
การน�
ำความรู้มาใช้ออกแบบเพื่อแก้ปัญหา และเรียนรู้ร่วมกัน
อย่างมีชีวิตชีวา อีกทั้ง ครูสามารถสอดแทรกการสร้างเสริมทักษะ
บุคลิกภาพ คุณธรรม จริยธรรม หรือ สิ่งส�
ำคัญอื่น ๆ เข้าใน
กิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างกลมกลืน ท�
ำให้เกิดการเรียนรู้
คุณลักษณะเหล่านั้นภายใต้บริบทของการน�
ำไปใช้จริง พร้อมทั้ง
สามารถสร้างความเข้าใจและความตระหนักให้กับนักเรียนได้
ทราบว่า ทักษะหรือคุณลักษณะอื่น ๆ นั้น มีความส�
ำคัญและมี
ประโยชน์กับการท�
ำงานและการด�
ำรงชีวิตในวันข้างหน้า ไม่น้อย
กว่าการได้คะแนนสอบสูง
ตัวอย่างสถานการณ์ในการเรียนการสอนที่ได้น�
ำเสนอไปนั้น
แตกต่างไปจากการที่ครูให้นักเรียนคิดตอบค�
ำถามที่อยู่ในแบบ
ทดสอบว่า “การผิงไฟเป็นการได้รับความร้อนจากการถ่ายโอน
ความร้อนแบบใด” หรือ “ปฏิกิริยาเคมีที่ให้พลังงานของ
แบตเตอรี่ มีสมการทางเคมีว่าอย่างไร”