

47
ปีที่ 43 ฉบับที่ 194 พฤษภาคม - มิถุนายน 2558 ี
ที่ ั
บี่ ิ
ถุน
เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสไปสอน ได้สัมผัสถึงปัญหาจากเนื้อหา
ในหลักสูตร และคู่มือการเรียนโดยเฉพาะเรื่องการสอนการใช้งาน
โปรแกรม Photoshop ซึ่งผู้เขียนเองในฐานะผู้ทดสอบโปรแกรม
Adobe และใกล้ชิดกับทีมงาน นอกจากนี้ยังรับรู้ถึงแนวคิดใน
การพัฒนาซอฟต์แวร์ ท�
ำให้ทราบว่า หนังสือประกอบการเรียน
ในวิชานี้ที่น�
ำมาให้นักเรียนได้เรียนรู้นั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพ
แวดล้อม สภาพความพร้อมของนักเรียน เพราะเป็นเนื้อหาที่
ไม่ได้ให้ความรู้พื้นฐานของเรื่อง Digital Image อย่างแท้จริง
แต่กลับไปให้ความส�
ำคัญในด้านศิลปะ และเน้นในเรื่องเทคนิค
การใช้ เครื่องมือมากกว่า ทั้งที่ในความเป็นจริง การเรียน
Digital Imaging ในระดับนี้นักเรียนไม่ใช่เป็นนักเรียนในสาย
อาชีพคือยังไม่รู้เลยว่านักเรียนจะเป็นนักออกแบบ ช่างภาพ หรือ
แพทย์ นักกฎหมายในอนาคต ดังนั้นในการเรียนการสอนอาจ
ไม่จ�
ำเป็นต้องใช้โปรแกรม Photoshop เพียงอย่างเดียว เพราะ
มีหลายปัจจัยที่ไม่เอื้อให้กับการเรียนการสอนอย่างแท้จริงทั้ง
ข้อจ�
ำกัดด้านงบประมาณและบุคคลากร โรงเรียนไม่มีงบ
ประมาณพอที่จะซื้อซอฟต์แวร์ใช้ในห้องปฏิบัติการ และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลง
ของซอฟต์แวร์ได้ทัน ดังนั้นสิ่งที่จะต้องค�
ำนึงถึงในด้านการเรียน
การสอนคือจะท�
ำอย่างไรให้เด็กนักเรียนเข้าใจเรื่อง Digital Imaging
ในระดับพื้นฐาน สามารถฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง และสามารถน�
ำไป
ใช้งานในชีวิตประจ�
ำวันได้จริง โดยที่เราต้องบรรลุถึงวัตถุประสงค์
ของการเรียนการสอนได้ด้วย
แนวทางพื้นฐานที่สามารถน�
ำไปใช้ในการเรียนการสอน และ
เป็นประโยชน์ส�
ำหรับเด็กนักเรียน จนสามารถน�
ำไปใช้ในชีวิต
ประจ�
ำวัน หรือน�
ำไปต่อยอดในการเลือกเรียนสายอาชีพในวัน
ข้างหน้าได้อย่างแท้จริงนั้น ต้องเริ่มจากให้นักเรียนเข้าใจใน
กระบวนการทั้งหมดก่อนสิ่งส�
ำคัญที่สุดคือต้องเริ่มต้นจาก
“ศัพท์เฉพาะทาง (Terminology)” ที่จ�
ำเป็นในการน�
ำไปสู่
วิธีการ และทักษะในการใช้งานในเรื่อง Digital Imaging
ส�
ำหรับวิธีการสอนที่ได้น�
ำไปใช้ในห้องเรียนนั้น ก่อนอื่น
ผู้สอนต้องส�
ำรวจความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ด้วยการพูดคุยและ
ทดสอบฝีมือทางด้านศิลปะ ด้วยวิธีง่ายคือให้เขาวาดรูปลงบน
กระดาษที่เกี่ยวกับตัวเอง จะใส่ความคิดแบบไหน จะวาดอย่างไร
ให้เขาคิดโดยอิสระ เพียงแต่ก�
ำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ต้องเป็นภาพที่
บอกเล่าตัวตนของตนเองได้มากที่สุด หลังจากนั้นก็เก็บงานมา
พิจารณา เราจะทราบถึงแนวคิดของผู้เรียน และทักษะเบื้องต้น
ว่านักเรียนคนไหน มีแนวโน้มในการท�
ำงานและสามารถเรียนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนคนไหนที่ไม่ชอบงานประเภทนี้หรือ
ไม่มีความถนัด เราก็จะสามารถคัดกรองได้ระดับหนึ่ง ท�
ำให้ง่าย
ในการสอนในขั้นตอนต่อไป
เนื่องจากเวลาในการเรียนการสอนมีไม่มากเท่าที่จะต้องให้
นักเรียนใช้งานโปรแกรม Photoshop เพราะก่อนที่จะเรียนเรื่อง
Photoshop ได้ นักเรียนต้องเรียนรู้ในรูปแบบวิทยาศาสตร์
เสียก่อน นั่นคือ เรียนเรื่อง Color Mode, Resolution และ
File Format แต่หลายคนมักเข้าใจว่าต้องไปเน้นเรื่องการตกแต่ง
การใช้เครื่องมือ ซึ่งความจริงแล้ว ความรู้พื้นฐานเป็นเรื่องส�
ำคัญ
ที่เด็กต้องเรียนรู้ก่อนใช้เครื่องมือ
ผู้เขียนได้ท�
ำการประยุกต์การใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับ
ค�
ำสั่งตกแต่งภาพในโปรแกรม Photoshop ด้วยการให้นักเรียน
ใช้งานโปรแกรมตกแต่งภาพที่อยู่ใกล้ตัวและใช้เกือบทุกวัน คือ
โปรแกรมตกแต่งภาพในโทรศัพท์มือถือ ในอุปกรณ์ที่นักเรียนใช้
หรือในโปรแกรมที่เป็นโซเชียลมีเดีย อย่าง Instagram ที่
โปรแกรมเหล่านี้ ล้วนมีค�
ำสั่งที่เป็นพื้นฐานของโปรแกรม
Photo Editing ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นค�
ำสั่ง Brightness, Contrast
และอื่น ๆ ซึ่งค�
ำสั่งเหล่านี้ เป็นพื้นฐานที่ผู้ใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ
ต้องรู้ ดังนั้น ผู้สอนจึงสามารถสอนการใช้งานจากค�
ำสั่งเหล่านี้
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าจะต้องใช้อย่างไร เมื่อไร และใช้แล้วได้ผล
อย่างไร สุดท้ายของการเรียนการสอนในวิชานี้ ต้องสอนเรื่อง
รูปแบบไฟล์ ขนาดไฟล์ที่เหมาะสมในการใช้งานในแต่ละสื่อ โดย
การยกตัวอย่างจากการใช้ภาพกับโซเชียลมีเดีย ที่หลายคนใช้งาน
โดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง ใช้แบบลองผิดลองถูก ซึ่งอย่างน้อย
เราก็จะบรรลุเป้าหมายในเรื่องให้นักเรียนเข้าใจเครื่องมือที่ใช้งาน
เพื่อน�
ำไปใช้ได้จริงมากกว่าการท�
ำหลักสูตรที่เพ้อฝัน และยังไม่
สอดคล้องกับความต้องการของเด็กในช่วงเวลานี้
บทสรุป
ในการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Creativity และ
Technology นั้น ต้องพยายามให้นักเรียนใช้ความคิดที่เป็น
ระบบ รู้จักการแก้ปัญหา แต่ไม่ต้องเน้นเครื่องมือมากนัก เพราะ
เ ครื่องมือต่ า ง ๆ มีการปรับปรุ งประสิทธิภาพตลอด
มีการปรับเปลี่ยนเวอร์ชันและวิธีการท�
ำตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยน
ไป แต่แนวคิดในการประยุกต์การใช้เครื่องมือ ว่าจะใช้เมื่อไหร่
เวลาไหน จะเป็นสิ่งที่ท�
ำให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์งานได้
มากกว่าการเรียนรู้เทคนิคแบบ Step by Step ที่ก�
ำลังจะหมด
ยุคส�
ำหรับการเรียนรู้ในเชิงสร้างสรรค์ในไม่ช้านี้