Previous Page  41 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 41 / 62 Next Page
Page Background

41

ปีที่ 43 ฉบับที่ 194 พฤษภาคม - มิถุนายน 2558 ี

ที่ ั

บี่ ิ

ถุน

“สอนเพื่อท�

ำข้อสอบ” ส่งผลอย่างไรกับนักเรียน

“การสอนเพื่อท�

ำข้อสอบ” ไม่มีประโยชน์เลยหรือ

การสอนที่มีการวางเป้าหมายและแผนการด�

ำเนินงานไว้

ชัดเจน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายที่วาง

เอาไว้ได้อย่างราบรื่น และผู้สอนประเมินความส�

ำเร็จได้ง่าย เป็น

ยุทธวิธีในการสอนที่ดี แต่ระหว่ างการด�

ำเนินการสอนใน

ชั้นเรียน ผู้สอนจะต้องเผชิญกับความสนใจ และความต้องการที่

หลากหลายของผู้ เรียน จึงอาจต้องมีความยืดหยุ่น และ

ปรับเปลี่ยนการสอนเพื่อตอบสนองความหลากหลายเหล่านั้น

และ ถ้าหากเป้าหมายที่วางเอาไว้เป็นเพียงเพื่อการท�

ำคะแนน

จากการสอบได้ดี สิ่งต่าง ๆ ที่การศึกษามุ่งหวังในการบ่มเพาะ

และปลูกฝังให้เกิดกับนักเรียน เช่น การพัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ

แรงบันดาลใจ คุณธรรม และอีกหลาย ๆ อย่าง จะได้รับ

ความส�

ำคัญน้อยหรือไม่ได้รับความใส่ใจเลย

เมื่อพิจารณาในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

แล้ว “การสอนเพื่อท�

ำข้อสอบ” ส่งผลกับการเรียนในชั้นเรียน

ของนักเรียนดังต่อไปนี้

• การเรียนการสอนในห้อง มีลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลาง

ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน และพยายามครอบคลุมเนื้อหาให้

ครบตามที่จะมีในข้อสอบ ท�

ำให้ สิ่งอื่น ๆ ที่ส�

ำคัญกับการเรียนรู้

และการพัฒนานักเรียนได้รับการมองข้าม

• ระหว่างการสอน หากมีค�

ำถามจากนักเรียน หรือ มีสิ่งที่

นักเรียนสนใจต้องการอยากรู้เพิ่มเติม การสอนเพื่อมุ่งท�

ำข้อสอบ

จะไม่ยืดหยุ่น หรือ ให้ความส�

ำคัญมากนัก ท�

ำให้การเรียนรู้ไม่

สร้างเสริมความอยากรู้อยากเห็น การคิดวิเคราะห์วิจารณ์

(critical thinking) และ การคิดที่แตกต่างหลากหลายแนวทาง

(divergent thinking) ของนักเรียน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

ความคิดสร้างสรรค์

• บรรยากาศของการเรียนรู้เป็นไปด้วยความกดดัน และ วิตก

กังวล เพราะคะแนนจากการสอบจะส่ งผลหลายอย่ าง

กับนักเรียน นักเรียนจึงรู้สึกกดดันและเกรงว่าจะท�

ำผิดพลาด

• ปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกการท�

ำงานและการ

ด�

ำรงชีวิตจริงในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ มีความสลับซับซ้อน

ไม่มีค�

ำตอบเดียวที่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การสอน

ในลักษณะบรรยาย ผู้เรียนคอยรับฟังโดยไม่มีการอภิปราย ไม่มี

กิจกรรมฝึกฝนการน�

ำไปใช้ในสถานการณ์จริง จึงไม่สอดคล้อง

กับการเตรียมนักเรียนให้สามารถน�

ำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต

จริง

• ความรู้ที่ได้มาจากการถ่ายทอดของผู้สอน ไม่ใช่การค้นพบ

ด้วยตัวของนักเรียนเอง ท�

ำให้ความรู้ที่ได้ไม่คงทน นักเรียนน�

สิ่งที่ได้ เรียนรู้ ไปประยุกต์ ใช้ ไม่ ได้ (Bransford, Brown

& Cocking, 2000)

• ในการสอนที่มุ่งให้นักเรียนจ�

ำเนื้อหา สูตร ค�

ำศัพท์

เพื่อน�

ำไปใช้สอบ ถ้านักเรียนบางคนที่ไม่มีพื้นฐานเพียงพอ หรือ

ไม่สนใจในวิชานั้น ๆ อาจเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งสามารถส่งผล

กับการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน และ การไม่เข้าเรียนของ

นักเรียน

• ข้อสอบแบบมีตัวเลือก ส่วนใหญ่จะวัดการเรียนรู้ได้

ในระดับความจ�

ำและความเข้าใจ ท�

ำให้ผู้เรียนไม่ได้รับการเสริม

ศักยภาพการคิดขั้นสูง (higher-order thinking) การฝึกฝน

ท�

ำข้อสอบจึงส่งผลต่อความเข้าใจที่ผิวเผินของนักเรียน ไม่ลึกซึ้ง

และไม่คงทน (McTighe, 2004; 2011)

การเรียนรู้จากการท�

ำข้อสอบ ไม่ได้มีผลเชิงลบไปทั้งหมด

การเรียนรู้จากการฝึกฝนท�

ำโจทย์ มีประโยชน์หลายด้าน ไม่ว่า

จะเป็นการช่วยให้นักเรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง

ได้ทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนไป ได้จัดระบบความคิดและเชื่อมโยง

เนื้อหาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และได้ท�

ำความคุ้นเคยกับลักษณะ

ข้อสอบ อีกทั้ง ในการสอนหัวข้อบางหัวข้อ อาจจ�

ำเป็นต้องมีการ

ให้นักเรียนได้ฝึกฝนท�

ำโจทย์เพื่อการเสริมสร้างทักษะพื้นฐาน เช่น

ในวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนจะน�

ำไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาในวิชา

อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

แต่ทั้งนี้ ถ้า “การสอนเพื่อท�

ำข้อสอบ” ใช้เวลาในชั้นเรียน

เพื่อมุ่งให้ความรู้ในลักษณะบรรยายและฝึกฝนท�

ำข้อสอบ เป็น

เวลาส่วนใหญ่ของภาคเรียน หรือ ตลอดภาคเรียน ผู้สอนและ

นักเรียนจะมีแนวโน้มที่จะท�

ำทุกอย่าง เพื่อการได้ผลคะแนนที่ดี

ขึ้น ไม่ว่าจะแลกด้วยการเรียนรู้ที่น่าเบื่อ ไม่ส่งเสริมความคิด

สร้างสรรค์ หรือ เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของนักเรียน และ อาจ

ละเลยส่วนต่าง ๆ ที่ส�

ำคัญในการพัฒนานักเรียน ดังที่ได้กล่าวมา

แล้วข้างต้น ถึงแม้ “การสอนเพื่อท�

ำข้อสอบ” อาจจะส่งผลถึง

คะแนนที่เพิ่มสูงขึ้นของนักเรียนในระยะสั้น แต่ในระยะยาว เมื่อ

นักเรียนที่เข้าไปสู่การเรียนต่อในระดับสูง หรือ เข้าไปสู่ชีวิตการ

ท�

ำงาน อาจจะประสบปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านพฤติกรรม

แรงบันดาลใจ ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ บุคลิกภาพ ที่

ขาดการใส่ใจให้เกิดการพัฒนาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น

“การสอนเพื่อท�

ำข้อสอบ” จึงควรมีการพิจารณาให้รอบคอบก่อน

จะน�

ำมาใช้ในชั้นเรียน