

15
ปีที่ 44 ฉบับที่ 199 มีนาคม-เมษายน 2559
นักเรียนฟังการบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ
ท�
ำนาเกลือ และเดินทางไปศึกษาพื้นที่จริงของนาเกลือ โดยมี
คุณบุญปรอด เจริญฤทธิ์ (ครูโต) แห่งโรงเรียนการท�
ำนาเกลือ
สมุทรสงครามท�
ำหน้าที่เป็นวิทยากรให้นักเรียนรู้จักวิธีการท�
ำ
นาเกลือ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนาเกลือ ซึ่งได้แก่ เกลือจืด
(ยิปซัม) ดอกเกลือ เกลือขาว เกลือกลาง เกลือด�
ำ และ
ขี้แดดนาเกลือ ตลอดจนพืชที่ขึ้นในบริเวณรอบนาเกลือ เช่น
ต้นชะคราม
เมื่อฟังค�
ำบรรยายและได้ศึกษาพื้นที่จริงแล้ว
นักเรียนมารวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนหัวข้อปัญหาที่ตนเอง
ตั้งขึ้น ซึ่งอาจจะได้มาจากระหว่างการฟังบรรยายหรือการ
ลงศึกษาพื้นที่จริง ตัวอย่างปัญหาที่นักเรียนหยิบยกขึ้นมา
ได้แก่
• ท�
ำอย่างไรจึงจะผลิตเกลือได้เร็วขึ้น
• ผลึกของเกลือแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
• เหตุใดต้นชะครามบางต้นที่ขึ้นรอบนาเกลือจึงมี
สีแดง
• ขี้แดดนาเกลือมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
• นอกจากจะใช้ท�
ำปุ๋ยแล้ว ขี้แดดนาเกลือสามารถท�
ำ
ประโยชน์อะไรได้อีกบ้าง
จากนั้น ครูแนะน�
ำให้นักเรียนแบ่งปัญหาทั้งหมด
ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
(1) ปัญหาที่สามารถหาค�
ำตอบได้ในทันที จากการ
สอบถามวิทยากร หรือค้นหาและได้ค�
ำตอบทางอินเทอร์เน็ต
โดยไม่จ�
ำเป็นต้องท�
ำการทดลอง
(2) ปัญหาที่สามารถหาค�
ำตอบได้ แต่ต้องใช้เวลานาน
จึงไม่สามารถท�
ำให้เสร็จได้ภายในระยะเวลาของการเข้าค่าย
เพราะต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างที่ซับซ้อน
(3) ปัญหาที่สามารถหาค�
ำตอบได้ด้วยการทดลอง และ
สามารถท�
ำให้เสร็จภายในระยะเวลาของการเข้าค่าย เมื่อแบ่ง
กลุ่มปัญหาได้แล้ว ครูก�
ำหนดให้นักเรียนเลือกปัญหาในกลุ่มที่
3 มาวางแผนการทดลองเพื่อหาค�
ำตอบ โดยใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เช่นเดียวกับการท�
ำ
โครงงาน (project) แต่ด้วยระยะเวลาที่สั้นกว่าจึงเรียกว่า
การท�
ำ mini-project โดยนักเรียนต้องเสนอแนวทางการ
ทดลองและการเก็บข้อมูล (mini-project proposal) ต่อครู
และบรรดาสมาชิกของค่ายให้วิพากษ์และขอค�
ำแนะน�
ำเพิ่มเติม
เพื่อให้ผลการทดลองที่ได้มีความถูกต้องและเป็นที่น่าเชื่อถือ
มากที่สุด ซึ่งหัวข้อปัญหาที่นักเรียนเลือกมาท�
ำ mini-project
คือ
“ขี้แดดนาเกลือสามารถกรองไขมันได้หรือไม่?”
กิจกรรมในวันที่ 1
รวบรวมข้อมูล ระบุปัญหา และออกแบบการ ดลอง
ฟังการบรรยายกระบวนการท�
ำนาเกลือ และศึกษาพื้นที่นาเกลือ