

43
ปีที่ 41 ฉบับที่ 181 มีนาคม - เมษายน 2556
ครูที่ปรึกษาโครงงานนั้นสำ
�คัญอย่างไร
ฐานุตรา จัง
อดีตนักเรียน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
สถาพร วรรณธนวิจารณ์
ครูเชี่ยวชาญ สาขาชีววิทยา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบันนี้โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
ต่างก็เล็งเห็นความสำ
�คัญและสนับสนุนให้นักเรียนทำ
�โครงงาน
วิทยาศาสตร์มากขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำ
�นวนเวทีการ
ประกวดโครงงาน ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจในกิจกรรม
เหล่านี้ได้แสดงผลงานของตนเอง ดิฉันก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับ
โอกาสเหล่านั้น ในมุมมองของดิฉัน หากเราลองกลับไปสำ
�รวจ
โครงงานวิทยาศาสตร์ที่สามารถชนะการประกวดทั้งในระดับ
ภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ ก็จะพบได้ว่า โครง
งานที่ได้รับรางวัลส่วนใหญ่นั้นต่างล้วนมีปัจจัยที่สำ
�คัญปัจจัย
หนึ่งก็คือการมีครูที่ปรึกษาโครงงานที่ดี แม้ว่าดิฉันเองจะยังไม่
เคยลงมือทำ
�การสำ
�รวจในหัวข้อนี้อย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่จาก
ประสบการณ์ของตนเอง และการที่ได้สัมผัสกับโครงงานที่ได้
รับรางวัลในสาขาวิชาอื่น ๆ เวทีการประกวดอื่น ๆ ทำ
�ให้ดิฉัน
สามารถยืนยันได้ว่า
ครูที่ปรึกษาโครงงานที่ดีนั้นมีอิทธิผลต่อ
การทำ
�โครงงานของนักเรียนเป็นอย่างมาก
เพราะเหตุใดครูที่ปรึกษาโครงงานถึงมีความสำ
�คัญต่อการทำ
�
โครงงานของนักเรียน เหตุผลข้อแรกก็คือ
ครูที่ปรึกษานั้นเป็นแรง
ผลักดันที่สำ
�คัญยิ่งสำ
�หรับเด็ก ๆ
ดิฉันเชื่อว่าไม่ใช่เพียงแต่เด็ก
เท่านั้นที่เมื่อตั้งใจหรือทุ่มเททำ
�อะไรสักอย่างหนึ่งแล้ว จะไม่
สื่อการเรียนกระตุ้นความคิด
คาดหวังการสนับสนุน กำ
�ลังใจ คำ
�ชื่นชมจากคนรอบข้าง ครูที่
ปรึกษานั้นสามารถคอยเป็นกำ
�ลังใจให้กับนักเรียนเมื่อพบปัญหา
ในการทำ
�โครงงาน หรือคอยชื่นชมเมื่อนักเรียนมีความตั้งใจ มี
ความพยายาม คอยสนับสนุนเมื่อนักเรียนมีแนวความคิดที่ดีที่
สร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้เองจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สำ
�คัญที่จะผลักดัน
ให้นักเรียนอยากทำ
�โครงงานต่อ
นอกจากนี้แล้ว
ความคิดเห็นและคำ
�ชี้แนะจากครูสามารถ
พัฒนาโครงงานของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้นได้
เมื่อเริ่มทำ
�โครงงาน
แล้วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอปัญหาและอุปสรรคในการทำ
�โครง
งาน ในเวลานี้ คำ
�ชี้แนะจากครูผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าสามารถ
ช่วยชี้แนวทางในการหาคำ
�ตอบให้กับนักเรียนได้ จากประสบ
การณ์พบว่า ครูที่ปรึกษาของดิฉันจะคอยช่วยชี้แนะว่าควรลอง
ไปค้นข้อมูลทางด้านไหน หรือสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งใด
บ้าง ช่วยตั้งคำ
�ถามชี้แนวเพื่อให้นักเรียนหาคำ
�ตอบเหล่านั้นด้วย
ตนเอง นอกจากนี้ครูที่ปรึกษาของดิฉันยังช่วยชี้จุดบกพร่องของ
โครงงานว่ามีส่วนใดบ้างที่ควรปรับปรุง ควรศึกษาด้านใดเพิ่ม
หรือปรับปรุงขอบเขตของโครงงานของนักเรียนให้เหมาะสม ไม่
มากหรือยากจนเกินไป
หากถามว่าครูที่ปรึกษาที่ดีนั้นควรจะมีคุณสมบัติในข้อไหน
บ้าง หรือในสายตาของเด็ก ๆ แล้วอยากได้ครูที่ปรึกษาแบบใด
สำ
�หรับความเห็นของดิฉันแล้วขอเรียบเรียงออกมาเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. เป็นผู้ที่มีความรู้ หรือประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวข้อง
กับหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ดิฉันเชื่อว่าเมื่อเด็ก ๆ เจอปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ในการทำ
�โครงงาน หากมีครูที่ปรึกษาโครงงานที่มีความรู้ ความ
สามารถ หรือ ความถนัดในหัวข้อนั้น ๆ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น
ย่อมแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ประสบการณ์ที่ครูมีจะช่วย
ในการปรับปรุงจุดบกพร่องของโครงงานของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น