

11
ปีที่ 41 ฉบับที่ 182 พฤษภาคม - มิถุนายน 2556
แนวทางในการที่จะแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่ง
แวดล้อมอาจทำ
�ได้ 2 แนวทางคือ
แนวทางแรก
หาจุลินทรีย์จากแหล่ง
ต่าง ๆ ในธรรมชาติที่มีความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกที่ผลิต
จากพอลิเอทิลีน
แนวทางที่ 2
พัฒนาพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่สามารถ
เกิดการย่อยสลายโดยวิธีการทางชีวภาพหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่
สามารถเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่ในแหล่งดิน
และแหล่งน้ำ
�ได้
จุลินทรีย์ย่อยสลายพลาสติกได้อย่างไร
จุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรีย รา และแอกทิโนไมซิส สามารถย่อย
สลายพลาสติกที่ผลิตจากพอลิเอทิลีนได้ โดยอาศัยเอนไซม์ทำ
�หน้าที่
เร่งปฏิกิริยาการสลายสายของพอลิเมอร์ให้กลายเป็น
โอลิโกเมอร์
(oligomer) หรือมอนอเมอร์ (monomer)
ซึ่งจะถูกนำ
�ไปใช้ในการ
สลายสารอาหารภายในเซลล์ของจุลินทรีย์ ซึ่งถ้าเป็นการสลายสาร
อาหารแบบใช้ออกซิเจนจะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ
� เป็น
ผลิตภัณฑ์สุดท้าย ในขณะที่การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ
� และยังได้ก๊าซมีเทนกลับเข้าสู่สิ่ง
แวดล้อมอีกด้วย การย่อยสลายพลาสติกโดยจุลินทรีย์ถือเป็นการย่อย
สลายที่สมบูรณ์ เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม
ซึ่งแตกต่างจากพลาสติกที่เกิดการย่อยสลายได้เองจากแสง หรือความ
ร้อน ซึ่งยังเหลือผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลายต่อไปได้
และตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม
นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะค้นหาเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถ
ในการย่อยสลายพอลิเอทิลีน โดยคาดหวังว่าจุลินทรีย์ที่หาได้นั้น จะ
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกำ
�จัดขยะพลาสติก ความสนใจและตื่นตัวใน
การหาจุลินทรีย์ย่อยสลายพอลิเอทิลีนยิ่งมีมากขึ้น เมื่อนาย Daniel
Burd นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากประเทศแคนาดา
ได้รับรางวัลระดับโลกหลายรางวัลในปี พ.ศ. 2551 จากการค้นพบ
แบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพอลิเอทิลีนได้
Daniel ตั้งสมมุติฐานการทดลองว่า “ถ้ามีจุลินทรีย์ที่สามารถย่อย
สลายพอลิเอทิลีนอยู่ในธรรมชาติ จะต้องสามารถแยกเชื้อจุลินทรีย์ดัง
กล่าว และใช้จุลินทรีย์ที่แยกได้นี้ในการย่อยสลายถุงพลาสติกที่ผลิต
จากพอลิเอทิลีนได้” Daniel ได้ทำ
�การทดลองแยกจุลินทรีย์ที่ย่อย
สลายพลาสติก โดยใช้
ผงพอลิเอทิลีน (PE Powder)
ผสมลงในอาหาร
เลี้ยงเชื้อ สูตรอาหารนี้ใช้แยกและเพิ่มจำ
�นวนจุลินทรีย์ที่ย่อยสลาย
โพลิเอธิลีนได้เท่านั้นเนื่องจากมีผงพอลิเอทิลีนเป็นแหล่งคาร์บอน
เพียงแหล่งเดียว จุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลาย
ผงพอลิเอทิลีน ก็ไม่สามารถเจริญได้
Daniel ใช้ดินจากแหล่งที่มีการทิ้งขยะประเภทพลาสติก ใส่ลง
ในอาหารเลี้ยงเชื้อดังกล่าว นำ
�ไปบ่มบนเครื่องเขย่าเพื่อเพิ่มปริมาณ
ออกซิเจนที่อุณหภูมิห้อง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นถ่าย
ของเหลวลงในอาหารเลี้ยงเชื้อใหม่ชนิดเดิม ทำ
�เช่นเดียวกันนี้จนครบ
3 ครั้ง จากนั้นนำ
�ส่วนผสมของอาหารเลี้ยงเชื้อที่ทำ
�การทดลองครั้ง
สุดท้ายมากรองเอาเฉพาะส่วนน้ำ
�ใสซึ่งคาดว่าน่าจะมีจุลินทรีย์ที่ย่อย
สลาย ผงพอลิเอทิลีน ได้ เจริญอยู่
ทดสอบหาจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ โดยใส่
ของเหลวที่ได้จากการกรองรวมกับแผ่นฟิล์มพอลิเอทิลีนที่ชั่งน้ำ
�หนัก
ไว้แล้ว ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ไม่มีแหล่งคาร์บอนอื่น ๆ นำ
�ไปบ่ม
โดยการเขย่าที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และทำ
�ชุดควบคุม
โดยการต้มของเหลวที่ได้จากการกรองในปริมาตรที่เท่ากัน ใส่ลงใน
อาหารเลี้ยงเชื้อที่มีแผ่นฟิล์มเช่นเดียวกับการทดลองปกติ เมื่อทำ
�การ
ทดลองครบ 6 สัปดาห์ นำ
�แผ่นฟิล์มมาชั่งน้ำ
�หนักเพื่อหาน้ำ
�หนักแห้ง
ที่หายไป
จากการทดลองดังกล่าวพบว่า น้ำ
�หนักแห้งของแผ่นฟิล์มที่อยู่
ในภาชนะที่มีของเหลวจากการกรองที่ไม่ได้ผ่านการต้มลดลง ใน
ขณะที่น้ำ
�หนักแห้งของแผ่นฟิล์มที่อยู่ในภาชนะที่มีของเหลวจากการ
กรองที่ผ่านการต้มไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อนำ
�ของเหลวที่ได้จากการ
กรองมาตรวจสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าเป็นแบคทีเรีย 2 สกุล คือ
Pseudomonas
และ
Sphingomonas
นอกจากนี้ เมื่อทดลองใช้
แบคทีเรีย 2 สกุลนี้ร่วมกันจะพบว่าประสิทธิภาพในการย่อยสลาย
พอลิเอทิลีนดีมากขึ้นอีกด้วย
Daniel คาดหวังว่างานที่ได้จากการทำ
�โครงงานวิทยาศาสตร์
จะสามารถนำ
�ไปต่อยอดการวิจัยในระดับอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลด
ปัญหามลภาวะที่เกิดจากการทิ้งขยะพลาสติกเหล่านี้ สู่สิ่งแวดล้อมได้
นอกจากแนวทางแรก ที่พยายามหาจุลินทรีย์ที่นำ
�มาใช้ในการ
ย่อยสลายพลาสติกดังที่กล่าวไปแล้วนั้น อีกแนวทางหนึ่งคือการผลิต
พลาสติกชีวภาพ
พลาสติกชีวภาพกับจุลินทรีย์
พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เรียกว่า biodegradable polyester ถูกนำ
�
มาใช้ในการผลิตพลาสติกที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากพลาสติกทั่ว ๆ
ไป ที่ผลิตจากพอลิเอทิลีน พลาสติกที่ผลิตจากพอลิเมอร์เหล่านี้เรียก
ว่า
พลาสติกชีวภาพชนิดที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ (biodegradable
plastic)
เมื่อพลาสติกชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม จะถูกย่อย
สลายโดยจุลินทรีย์ประจำ
�ถิ่นชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ
ได้ โดยอาศัยแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานที่ได้จากการย่อยสลาย
พลาสติกชนิดนี้ แต่สิ่งที่อาจต้องคำ
�นึงคือ สารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจาก
การย่อยสลายพลาสติกหรือระหว่างที่เกิดการย่อยโดยจุลินทรีย์ใน
ธรรมชาติจะต้องไม่เป็นสารที่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม และ
ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ๆ ด้วย