

14
นิตยสาร สสวท.
บรรณานุกรม
Postel, S. & Richter, B. (2003).
Rivers for life: anaging water for people and
nature
. Washington,D.C.: Island Press.
World Wildlife Fund. (2004). Rivers at risk: dams and the future of freshwater
ecosystems. Retrieved January 28, 2013, from
http://assets.panda.org/downloads/riversatriskfullreport.pdf.
แนวคิดในการสร้างเขื่อน เริ่มต้นมาจากความต้องการที่จะ
แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
�และพลังงานที่ประชากรหลายพัน
ล้านคนทั่วโลกประสบอยู่ ประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน
ตุรกี รวมถึงประเทศไทย ต่างก็มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อ
เก็บกักน้ำ
�ขึ้น ในการสร้างเขื่อนที่ขวางลำ
�น้ำ
�ขนาดใหญ่บางครั้ง
อาจส่งผลกระทบกับหลาย ๆ ประเทศที่ลำ
�น้ำ
�นั้นไหลผ่าน เช่น
โครงการสร้างเขื่อนที่ลำ
�น้ำ
�โขง ซึ่งจะมีเนื้อที่อ่างเก็บน้ำ
�ประมาณ
806,000 ตารางกิโลเมตร และจะส่งผลต่อประเทศจีน ลาว ไทย
พม่า เวียดนามและกัมพูชา
การสร้างเขื่อนนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำ
�ท่วมฉับพลัน
โดยช่วยชะลอความเร็วของน้ำ
� ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นปัญหา
ที่ประเทศไทยประสบอยู่เป็นประจำ
� โดยมีการเก็บกักน้ำ
�ไว้
ในช่วงที่น้ำ
�หลากและปล่อยน้ำ
�เพื่อการอุปโภค บริโภค และ
ทำ
�การเกษตรในช่วงฤดูที่ขาดแคลนน้ำ
� เช่น ปริมาณน้ำ
�ที่ปล่อย
จากเขื่อนรัชชประภาทำ
�ให้พื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่บริเวณ
อำ
�เภอคีรีรัฐนิคมและอำ
�เภอพุนพินสามารถปลูกพืชได้ผลดีใน
ฤดูแล้ง อีกทั้งยังสามารถใช้พลังงานจากน้ำ
�ในการผลิตกระแส
ไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงอีกด้วย
นอกจากนี้เขื่อนบางแห่งยังใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรม
นันทนาการต่าง ๆ
แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง การ
สร้างเขื่อนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นอย่างมาก เนื่องจากเขื่อนมักจะ
สร้างบริเวณหุบเขาที่มีลำ
�น้ำ
�ไหลผ่าน
และสร้างขวางลำ
�น้ำ
� เพื่อให้มีน้ำ
�มา
สะสมบริเวณพื้นที่เหนือเขื่อน ดิน
บริเวณนั้นจะถูกน้ำ
�ท่วมขัง ทำ
�ให้ดิน
ขาดความอุดมสมบูรณ์และในการ
สร้างเขื่อนจะใช้พื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งบาง
พื้นที่อาจเป็นพื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่า ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่
อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ เสียหาย ไม่สามารถ
นำ
�มาใช้ประโยชน์ได้ พืชพรรณที่อยู่
บริเวณนั้นล้มตาย ซึ่งพืชบางชนิด
อาจเป็นพันธุ์ที่หายาก พื้นที่ป่าแปร
สภาพเป็นพื้นที่น้ำ
�ท่วมขัง ทำ
�ให้สัตว์
ป่าบางส่วนที่หนีน้ำ
�ไม่ทันต้องจบชีวิต
ลง บางส่วนไม่มีที่อยู่อาศัย จนต้องมีการอพยพสัตว์ป่าออกจาก
พื้นที่สร้างเขื่อน ดังเช่น การอพยพสัตว์ป่าที่ตกค้างออกจากพื้นที่
อ่างเก็บน้ำ
� ในเขื่อนรัชชประภา ในปี พ.ศ. 2529 นอกจากนี้ยัง
ทำ
�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแหล่งน้ำ
� จากระบบ
นิเวศแบบน้ำ
�ไหลกลายเป็นแบบน้ำ
�นิ่ง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในระบบ
นิเวศน้ำ
�ไหลจะลดจำ
�นวนลงและยังส่งผลต่อการอพยพของปลา
หลายสายพันธุ์
จะเห็นได้ว่าการสร้างเขื่อนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจึง
ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง จึงมีกลุ่ม
คนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเสมอ ดังเช่นกรณีพิพาทในการ
สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่จังหวัดแพร่ แล้วผู้อ่านมีความคิด
เห็นเป็นอย่างไร