Previous Page  13 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 13 / 62 Next Page
Page Background

13

ปีที่ 41 ฉบับที่ 182 พฤษภาคม - มิถุนายน 2556

เรื่องเด่นประจำ

�ฉบับ

เราได้อะไรมา และเสียอะไรไป

จากการสร้างเขื่อน

ศานิกานต์ เสนีวงศ์

นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. / e-mail:

ssane@ipst.ac.th

เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปพักผ่อนที่อ่างเก็บน้ำ

เหนือเขื่อนรัชชประภา หรืออีกชื่อหนึ่งคือเขื่อนเชี่ยวหลาน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างการเดินทางโดยเรือเพื่อเข้าไปด้าน

ในของอ่างเก็บน้ำ

� สองข้างทางมีแต่พื้นน้ำ

�ที่เวิ้งว้าง กว้างใหญ่

เห็นยอดภูเขาหินปูนเรียงราย มองเผิน ๆ แล้วทำ

�ให้รู้สึกเหมือน

กำ

�ลังล่องเรืออยู่กลางทะเลที่รายล้อมไปด้วยเกาะเล็กเกาะน้อย

จำ

�นวนมาก ระหว่างการเดินทางมัคคุเทศก์ได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ

เกี่ยวกับเขื่อนรัชชประภา แต่มีประเด็นหนึ่งที่สะดุดความสนใจ

ของผู้เขียนคือ ใต้ผืนน้ำ

�สีเขียวมรกตนี้มีหมู่บ้าน วัดวาอาราม

และโรงเรียนจมอยู่ ผู้เขียนจึงสอบถามก็ได้ความว่า ก่อนที่จะมี

การสร้างเขื่อน พื้นที่บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยอยู่หลายหมู่บ้าน

แต่เมื่อมีโครงการที่จะสร้างเขื่อน รัฐบาลได้เวนคืนที่ดินโดยมอบ

พื้นที่ทำ

�กินใหม่ให้กับราษฎรเพื่อเป็นการทดแทนพื้นที่เดิม ทำ

�ให้

ผู้คนต้องอพยพออกไป เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จพื้นที่บริเวณเหนือ

เขื่อนก็จมอยู่ใต้น้ำ

�และกว่าจะได้เขื่อนมาจะต้องเตรียมพื้นที่

สำ

�หรับเก็บน้ำ

� จึงต้องมีการแผ้วถางป่า อพยพผู้คนและสัตว์ป่า

มีผลทำ

�ให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้ฟังเช่นนี้

ผู้เขียนจึงเกิดคำ

�ถามว่า

การสร้างเขื่อนมีประโยชน์จริงหรือ