

การค�
ำนวณประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์หรือการท�
ำงานออก
มาเป็นอัตราส่วนนี้ ท�
ำให้เราสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพ
ของผลิตภัณฑ์หรือวิธีการท�
ำงานต่างชนิดหรือต่างวิธีได้อย่าง
ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ประสิทธิภาพ
ของผลิตภัณฑ์และการท�
ำงานสูงขึ้น สามารถเห็นได้ชัดจาก
เทคโนโลยีสารสนเทศที่วิวัฒน์ไปอย่างรวดเร็ว เช่น การพัฒนา
วิธีส่งข้อมูลดิจิทัลผ่านสายโทรคมนาคมที่เดิมทีใช้กระแสไฟฟ้า
วิ่งผ่านสายทองแดงเช่นสายโทรศัพท์ในการส่ง แต่ต่อมาเริ่มมี
การใช้เส้นใยน�
ำแสง (optical fibre) ซึ่งส่งด้วยล�
ำแสงท�
ำให้
ความเร็วในการส่งสูงขึ้นเท่าความเร็วแสงและให้สัญญาณที่มี
ความเสถียรมากกว่าสายทองแดงเนื่องจากไม่มีความต้านทาน
เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากมีการหันมาใช้ใยน�
ำแสงในการ
ส่งข้อมูลแล้ว นักเทคโนโลยีก็ได้พัฒนาประสิทธิภาพในการ
ส่งข้อมูลผ่านใยน�
ำแสงด้วยการใช้หลักการสะท้อนของแสง
กับเรื่องมุมแย้งของเส้นขนานมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ใยน�
ำแสง
เพียงเส้นเดียวสามารถส่งสัญญาณได้หลายช่องพร้อม ๆ กัน
ด้วยการท�
ำให้ล�
ำแสงหลายล�
ำแสงท�
ำมุมต่าง ๆ กับแกนเส้น
ผ่านศูนย์กลางของใยแก้ว ดังแสดงในรูปที่ 2
รูปที่ 2 การพัฒนาประสิทธิภาพการส่งข้อมูลผ่านเส้นใยน�
ำแสง
ด้วยการใช้หลักการสะท้อนแสงและมุมแย้งของเส้นขนานเพื่อให้
สามารถส่งข้อมูลได้หลายช่องทางมากขึ้นจากสายเพียงเส้นเดียว
ซึ่งถึงแม้ว่าล�
ำแสงที่ส่งผ่านการสะท้อนด้วยมุมต่าง ๆ จะ
ใช้ระยะทางในการเดินทางของแสงมากกว่าล�
ำแสงที่ส่งไปตาม
แกนเส้นผ่านศูนย์กลางของสายดังแสดงในรูป แต่เนื่องจาก
แสงมีความเร็วสูงมาก ความแตกต่างนี้จึงไม่มีนัยส�
ำคัญนัก
นอกจากนี้นักเทคโนโลยียังสามารถตรวจสัญญาณช่องต่าง ๆ
ได้จากมุมของล�
ำแสงที่แตกต่างกันได้ว่าล�
ำแสงใดแทนช่อง
สัญญาณใด การน�
ำเอาหลักการสะท้อนของแสงและความรู้
คณิตศาสตร์เรื่องมุมแย้งในเส้นขนานมาประยุกต์ใช้จึงช่วย
ในการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยจ�
ำนวนช่องสัญญาณที่ส่งได้
มากขึ้นจากใยน�
ำแสงเพียงเส้นเดียวนั่นคือ เพิ่มผลที่ได้ โดย
ใช้ทรัพยากรเท่าเดิม
นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการเพิ่มผลที่
ได้โดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิมแล้ว ประสิทธิภาพยังสามารถเพิ่ม
ได้ด้วยการลดทรัพยากรที่ใช้โดยยังได้ผลที่ต้องการเท่าเดิม
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างการพัฒนาเทคโนโลยีของจอแสดงผล
ของเครี่องคอมพิวเตอร์ที่แต่เดิมนิยมใช้จอ Cathode Ray Tube
(CRT) โดยอาศัยหลักการยิงล�
ำอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในของ
จอภาพซึ่งฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส ท�
ำให้ต�
ำแหน่งที่อิเล็กตรอน
วิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้น ซึ่งจ�
ำเป็นต้องแปลงความต่างศักย์
ไฟฟ้า 220 โวลต์ ให้สูงขึ้นหลายเท่าเพื่อการยิงล�
ำอิเล็กตรอน
ท�
ำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก ต่อมานักเทคโนโลยีจึงได้
พัฒนาจอแสดงผลแบบใหม่คือจอ Liquid Crystal Display
(LCD) ซึ่งใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลวเพื่อปิด
กั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวน�
ำ ท�
ำให้ใช้ก�
ำลังไฟฟ้าต�่
ำและ
สามารถประหยัดพลังงานลงไปมาก โดยจอ CRT ขนาด 17
นิ้ว (วัดความยาวตามเส้นทแยงมุม ท�
ำให้มีพื้นที่ประมาณ 70
ตารางนิ้วส�
ำหรับจอที่มีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างเป็น
4:3) รุ่นหนึ่งของบริษัทหนึ่งอาจกินไฟถึง 125 วัตต์ ในขณะที่
จอ LCD ขนาดเดียวกันอาจกินไฟเพียง 35 วัตต์เท่านั้น เมื่อ
เปรียบเทียบประสิทธิภาพก�
ำลังไฟฟ้ากับการแสดงผลของจอ
ทั้งสองแบบแล้วจะได้ว่า
ประสิทธิภาพก�
ำลังไฟฟ้ากับการแสดงผลของจอแบบ CRT
=
70
125
= 0.56 ตารางนิ้วต่อวัตต์
ประสิทธิภาพก�
ำลังไฟฟ้ากับการแสดงผลของจอแบบ LCD
=
70
35
= 2.00 ตารางนิ้วต่อวัตต์
นั่นคือประสิทธิภาพก�
ำลังไฟฟ้ากับการแสดงผลของ
จอแบบ LCD สูงเป็น
2.00
0.56
= 3.57 เท่าของจอแบบ CRT
นิตยสาร สสวท.
18