

เชื่อมโยงความคิดคณิตสะเต็ม
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง
นักวิชาการ สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น / e-mail :
amaid@ipst.ac.thถึงแม้ว่าล�
ำดับของวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)ใน
ชื่อกลุ่มวิชาสะเต็มศึกษา (STEM) จะอยู่ในต�
ำแหน่งรั้งท้าย แต่
ก็ไม่ได้หมายความว่าวิชาคณิตศาสตร์มีความส�
ำคัญน้อยกว่า
วิชาอื่น ๆ เพราะจริง ๆ แล้ววิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นรากฐาน
ส�
ำคัญส�
ำหรับการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ในกลุ่มสะเต็มศึกษา ไม่ว่า
จะเป็นวิทยาศาสตร์(Science) เทคโนโลยี (Technology) หรือ
กระบวนการทางวิศวกรรม (Engineering) ซึ่งล้วนสามารถน�
ำ
ความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น เดิมทีNational
Science Foundation (NSF) แห่งสหรัฐอเมริกาเรียกกลุ่ม
วิชาสะเต็มศึกษาว่า SMET ตามล�
ำดับการวิวัฒน์ของแต่ละ
วิชา แต่เนื่องจากอาจมีการออกเสียงค�
ำว่า SMET ผิดเพี้ยนไป
ในทางไม่เหมาะสม สุดท้ายจึงได้เปลี่ยนมาเป็น STEM แทน
(Sanders, 2009)
ลักษณะส�
ำคัญประการหนึ่งในการศึกษาเรียนรู้แบบ
สะเต็มศึกษาคือการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม
เข้าด้วยกัน เพื่อน�
ำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจ�
ำวัน
และในโลกของการท�
ำงาน โดยในส่วนของวิชาคณิตศาสตร์
ซึ่งศึกษาถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ระหว่างจ�
ำนวน ปริมาณ
และ รูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ (Katehi, L., Pearson, G. and
Feder, M., 2009) ก็เป็นวิชาที่สามารถน�
ำไปใช้เชื่อมโยงกับ
วิชาอื่น ๆ ในสะเต็มศึกษาได้อย่างหลากหลาย บทความนี้จะ
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาคณิตศาสตร์ กับวิชา
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบทางวิศวกรรม ว่า
มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และเป็นการแสดงตัวอย่างของ
การน�
ำเอาความรู้วิชาคณิตศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ
อย่างมีความหมาย
คณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาและหาค�
ำอธิบาย
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ รอบตัวทั้งทางด้านกายภาพ
และชีวภาพ รวมถึงการน�
ำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ใน
เรื่องต่าง ๆ วิชาวิทยาศาสตร์นับเป็นวิชาที่มีความสัมพันธ์
และเชื่อมโยงกับวิชาคณิตศาสตร์อย่างใกล้ชิด องค์ความรู้
ทางคณิตศาสตร์สามารถน�
ำไปใช้สนับสนุนการศึกษาด้าน
วิทยาศาสตร์ในหลาย ๆ ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวัดปริมาณ
พื้นฐานต่าง ๆ ทั้งความยาว มวล เวลา อุณหภูมิ ปริมาณสาร
ออกมาเป็นจ�
ำนวนเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ รวม
ถึงการเขียนและการเปลี่ยนหน่วยต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่งต้องใช้ความ
รู้ทางคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในการท�
ำการทดลอง
วิทยาศาสตร์ก็จ�
ำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลและประมวลผล
ข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการทางสถิติอีกด้วย
แต่จุดที่น่าสนใจคือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติที่นัก
วิทยาศาสตร์พยายามสรุปเป็นกฎหรือทฤษฎีนั้นสามารถน�
ำมา
เขียนในรูปสมการทางคณิตศาสตร์ได้หลายกรณี แสดงให้เห็น
ว่าความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและ
มีส่วนช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถท�
ำความเข้าใจและท�
ำนาย
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีแบบแผนชัดเจนมากยิ่งขึ้น ยก
ตัวอย่างสูตรแสดงทฤษฎีสัมพัทธภาพของ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์
อันโด่งดัง ก็แสดงด้วยสมการทางคณิตศาสตร์
E = mc
2
เมื่อ E แทนพลังงานมีหน่วยเป็นจูล
m แทนมวลมีหน่วยเป็นกิโลกรัม
c แทนอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศซึ่งมีค่าประมาณ
3 x 10
8
เมตรต่อวินาที
นิตยสาร สสวท.
16