Previous Page  26 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 26 / 62 Next Page
Page Background

เจนนิเฟอร์ : หนูว่าแบบแรกค่ะ เพราะแบบแรกเราก้าวขึ้นบน

เท่า ๆ กับการก้าวไปข้างหน้า แต่แบบที่สองนี่

เราไม่ได้ก้าวสูงขึ้นมากเท่ากับก้าวไปข้างหน้า

ครู : ทอม เห็นด้วยไหม

ทอม : เห็นด้วยครับ เพราะผมคิดว่าความชันแบบที่สองเท่ากับ

10/12 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 1

ครู : ฉะนั้นจากที่ เจนนิเฟอร์ และ ทอม พูดมาแสดงว่าขั้นบันได

แบบแรกมีความชัน 12/12 หรือความชันเท่ากับ 1 ซึ่งชันมากกว่า

ขั้นบันไดแบบที่สองที่มีความชันเท่ากับ 10/12 ถูกต้องไหม...

[นักเรียนทุกคนพยักหน้า และตอบว่าใช่]

ครู : ถ้าเช่นนั้นย้อนกลับไปที่โจทย์เดิมของเราแล้วลองคิดใหม่

อีกที ตอนนี้ลองเทียบเคียงสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากบนกระดานด�

กับจุด (0, 0) และ (4, 1) ดูบ้าง แล้วคิดซิว่าความชันควรจะเป็นเท่าไร

เจนิเฟอร์ : เอ่อ... เราเคลื่อนขึ้นไป 1 และเดินหน้า 4 …

ครู : ใช่... เราควรจะได้ว่าค่าของความชันเป็นเท่าไร

ลาน่า : เราก็ต้องเอาจ�

ำนวนมาหารกัน

ครู : แล้วเราจะหารมันยังไง

[มีนักเรียนตอบทั้ง 1/4 และ 4/1]

ลาน่า : หนูว่าเท่ากับ 4 เพราะเราสามารถหาร 4 ด้วย 1

เจนนิเฟอร์ : แต่ 4 มีค่ามากกว่า 1/4 นะ และ 4 ก็น่าจะชัน

กว่า 12/12 ในรูปบนกระดาน ดังนั้นหนูว่ามัน

เป็นการเคลื่อนไปข้างหน้า 4 และสูงขึ้น 1 นะ

ไม่ใช่เคลื่อนไปข้างหน้า 1 และสูงขึ้น 4

ทอม : ใช่... ผมก็ว่า 1/4

ครู : ทอม ท�

ำไมถึงคิดว่าเป็น 1/4 ล่ะ

ทอม : ก็เหมือนกับกรณีบันไดอาคารเรียน มันเป็นปริมาณที่เรา

เคลื่อนที่ขึ้นหรือลงหารด้วยปริมาณที่เราเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

ซึ่งเท่ากับ 10/12 ไม่ใช่ 12/10

ครู : ลาน่า เธอคิดยังไงกับสิ่งที่ ทอม และ เจนนิเฟอร์ พูด

ลาน่า : จริงด้วยค่ะ หนูเห็นด้วย มันดูเป็นไปได้มากกว่าเพราะ

ถ้าความชันเป็น 4 มันน่าจะชันกว่าค่าความชันของ 12/12

แต่จริง ๆ แล้วเส้นตรงนี้ไม่ได้ชันขนาดนั้น

ครู : เอาล่ะ ตอนนี้ครูอยากให้พวกเราลองพิจารณาจุด (–1, 3) และ

(2, 5) แล้วลองเขียนแสดงวิธีการหาค่าความชันดูซิ...

26

นิตยสาร สสวท.

จากตัวอย่างบทสนทนาจะเห็นว่า ครั้งแรกที่ครูตั้งค�

ำถามแล้วไม่มีการตอบสนองจากนักเรียน แทนที่ครูจะบอกเนื้อหา

ไปเลย แต่ครูใช้วิธีการปรับเปลี่ยนค�

ำถามใหม่ เพื่อส�

ำรวจความคิดพื้นฐานของผู้เรียนก่อน แล้วพยายามค่อย ๆ ถามเชื่อมโยง

กับสิ่งที่ผู้เรียนรู้อยู่เดิม เมื่อนักเรียนตอบได้ไม่ตรงเป้าหมายหรือยังไม่ชัดเจน ครูก็อาจใช้วิธีถามเพิ่มหรือให้เพื่อนนักเรียน

คนอื่นลองช่วยกันอภิปรายเสริมต่อ เป็นการถามเพื่อเดินหน้าไปทีละน้อย ๆ จนกว่าจะถึงเป้าหมายที่ครูต้องการ นักเรียน

ทั้งห้องจะไม่รู้สึกเลยว่าครูก�

ำลังสอนเนื้อหาอยู่ แต่ความรู้เหล่านั้นได้มาจากสิ่งที่เขาและเพื่อน ๆ ร่วมกันคิดร่วมกันเรียนรู้

หากแต่เบื้องหลังของการคิดเกิดจากค�

ำถามของครูทั้งสิ้น ค�

ำถามของครูจึงเปรียบเสมือนกับบันไดที่ครูวางทอดเพื่อให้

ผู้เรียนก้าวเหยียบขึ้นไปทีละขั้น จนถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ หากครูมีศิลปะในการตั้งค�

ำถามเช่นนี้แล้วก็เชื่อได้ว่า

“ทุกค�

ำถามจะได้รับค�

ำตอบ”

บรรณานุกรม

Herbel-Eisenmann, Beth A. & Breyfogle, M. Lynn. (2005). Questioning Our Patterns of Questioning.

Mathematics

Teaching in the Middle School,

10

(9), 484-489.

Student Achievement Division. (2013). Asking Effective Questions:The Capacity Building Series

.

Retrieved

December 20, 2013, from

http://www.edu.gov.on.ca/eng/literacynumeracy/inspire/