

22
นิตยสาร สสวท.
ตั้งค�
ำถาม
อย่างไรดี...
ในห้องเรียน
คณิตศาสตร์?
ค�
ำถาม (question) และปัญหา (problem) เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ส�
ำหรับการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ค�
ำถามและปัญหาที่ดีจะเป็นเครื่องมือ
ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและสามารถสร้างขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาหรือหาค�
ำตอบได้อย่างมีเหตุผล
ผู้สอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ค�
ำถามประกอบการอธิบายเนื้อหากันมาช้านาน แต่บ่อยครั้งค�
ำถามที่ถามนั้นก็ไม่สามารถน�
ำพาผู้เรียน
ให้เกิดความคิดรวบยอดได้ เป็นการถามที่ต้องการเพียงแค่ค�
ำตอบแบบที่ผู้สอนคิด ถามเสร็จผู้สอนก็ไม่เว้นวรรครอฟังค�
ำตอบจากผู้เรียน
(จนหนักเข้าก็กลายเป็นถามเองตอบเองอยู่คนเดียว) เช่นนี้ผู้เรียนคงจะสร้าง (construct) องค์ความรู้ของตนเองหรือเกิดความเข้าใจลึกซึ้งใน
เนื้อหาได้ยาก
ดร.พงศธร มหาวิจิตร
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ส�
ำหรับวิธีการใช้ค�
ำถามที่มีประสิทธิภาพนั้น Student
Achievement Division ได้เสนอแนะเทคนิคไว้ 8 ประการดังนี้
ตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับการหาพื้นที่
จุดประสงค์การเรียนรู้ : อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความกว้าง
ความยาว กับการหาพื้นที่ได้
โจทย์ปัญหา
: รูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีพื้นที่ 36
ตร.ซม.ให้นักเรียน
วาดรูปสี่เหลี่ยมที่เป็นไปได้
ค�
ำถามที่ควรใช้
- นักเรียนลองพิจารณารูปที่ตนเองวาด ความยาวของด้านแต่ละด้าน
มีความสัมพันธ์กับพื้นที่อย่างไร
- ถ้านักเรียนรู้ชนิดของรูปสี่เหลี่ยม รู้พื้นที่และความยาวด้าน
หนึ่งด้าน แล้วจะมีวิธีการหาความยาวด้านอีกสามด้านที่เหลือ
ได้อย่างไร (จะเห็นว่าครูไม่ได้สอนโดยการบอกไปเลย แต่ใช้ค�
ำถาม
เพื่อให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างความกว้าง ความยาว
และพื้นที่ และให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสัมพันธ์นั้นด้วยตนเอง)
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด
นักเรียนอาจมีวิธีคิดที่
แตกต่างกัน ครูไม่ควรคาดหวังไว้ล่วงหน้าว่าผู้เรียนจะต้อง
ตอบได้แบบที่ครูคิด แต่ควรหยุดรับฟังสิ่งที่ผู้เรียนพูดออกมา
ก่อน แล้วค่อยพิจารณาใช้ค�
ำถามกระตุ้นให้คิดต่อ ผู้สอนจึง
ควรมีการเตรียมชุดค�
ำถามที่หลากหลายไว้ล่วงหน้า
2. ค�
ำถามควรเชื่อมโยงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
เพราะ
จุดประสงค์การเรียนรู้จะสอดคล้องกับความคาดหวังของ
หลักสูตร เมื่อค�
ำถามของครูเชื่อมโยงกับหลักสูตรย่อมจะช่วย
ให้นักเรียนใส่ใจอยู่กับสิ่งที่เป็นหลักการส�
ำคัญ (key princi-
ples) สามารถจะสรุปเป็นกรณีทั่วไป (generalization) และ
ประยุกต์ใช้ความรู้นั้นกับปัญหาอื่น ๆ ได้