Previous Page  28 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 28 / 62 Next Page
Page Background

28

นิตยสาร สสวท.

รูปที่ 1 การใช้เหรียญที่ต่างกันในกิจกรรม “หัวหรือก้อย น้อยหรือมาก”

กิจกรรม “หัวหรือก้อย น้อยหรือมาก” เป็นเกมความน่าจะเป็น

ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทายว่า ถ้ามีการโยนเหรียญสองเหรียญ

คือ เหรียญหนึ่งบาท 1 เหรียญ และเหรียญสองบาท 1 เหรียญ

พร้อมกัน หลาย ๆ ครั้ง ผลลัพธ์ที่จะออกหัวทั้งสองเหรียญออกหัว

หนึ่งเหรียญก้อยหนึ่งเหรียญ หรือออกก้อยทั้งสองเหรียญ โอกาสใด

จะมากกว่ากัน ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้อาจมีเพียง เหรียญหนึ่งบาท 1 เหรียญ

เหรียญสองบาท 1 เหรียญ แก้วพลาสติกส�

ำหรับเขย่าเหรียญ

แล้วคว�่

ำลงบนโต๊ะ หรืออาจมีเครื่องแสดงภาพ (visualiser)

เพื่อฉายภาพผลการออกเหรียญให้นักเรียนทั้งชั้นเรียนเห็น

พร้อม ๆ กัน

ก่อนเริ่มกิจกรรมครูผู้สอนอาจตั้งค�

ำถามเกริ่นน�

ำก่อนว่า การโยน

เหรียญหนึ่งบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มีอะไรบ้าง

และอาจถามด้วยค�

ำถามปลายเปิดว่า ในการโยนเหรียญหนึ่งบาท

1 เหรียญ 1 ครั้ง โอกาสที่เหรียญจะออกหัวเป็นเท่าไร ซึ่งจาก

การทดลองใช้กิจกรรมในชั้นเรียน พบว่าผู้เรียนให้ค�

ำตอบที่หลากหลาย

เช่น “ห้าสิบ-ห้าสิบ” “ครึ่งหนึ่ง” “ครึ่ง-ครึ่ง” “หนึ่งในสอง” “หนึ่ง

ส่วนสอง” “50 เปอร์เซ็นต์” “เท่ากับออกก้อย”ซึ่งล้วนเป็นค�

ำตอบ

ที่สะท้อนให้เห็นการใช้หลักการเรื่องอัตราส่วน อันเป็นพื้นฐาน

ของการหาความน่าจะเป็น แม้จะยังไม่อยู่ในรูปเศษส่วนตามสูตร

การหาความน่าจะเป็นก็ตาม แต่ที่ส�

ำคัญคือผู้เรียนควรจะได้ข้อสรุป

ว่าโอกาสที่เหรียญจะออกหัวและก้อยมีเท่ากัน ในกรณีที่เหรียญ

มีความเที่ยงตรง

จากนั้นผู้สอนอาจตั้งค�

ำถามต่อว่า ถ้าโยนเหรียญหนึ่งบาท

1 เหรียญ และเหรียญสองบาท 1 เหรียญ พร้อมกัน ผลลัพธ์

ที่อาจจะเกิดขึ้นมีอะไรได้บ้าง? และอาจเป็นผู้สรุปค�

ำตอบของ

ผู้เรียนโดยระบุชื่อของผลลัพธ์แต่ละแบบว่า ถ้าออกหัวทั้งสองเหรียญ

จะเรียกว่าออก ‘หัว’ ถ้าออกก้อยทั้งสองเหรียญ เรียกว่าออก

‘ก้อย’ และถ้าออกหัวหนึ่งเหรียญและก้อยหนึ่งเหรียญ เรียกว่า

ออก ‘กลาง’ แล้วตั้งค�

ำถามท้าทายผู้เรียนว่า ถ้าให้ผู้เรียนทั้งชั้น

ช่วยกันโยนเหรียญลักษณะนี้คนละหนึ่งครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้จะออก

‘หัว’ ‘ก้อย’ หรือ ‘กลาง’ มากกว่ากัน โดยอาจให้นักเรียนเขียน

อธิบายวิธีพิจารณาโอกาสที่จะเกิดขึ้นแต่ละกรณีด้วยตนเอง

พร้อมทั้งบันทึกค�

ำตอบที่ตนตัดสินใจเลือกลงในสมุด ก่อนจะเริ่ม

การทดลองจริง

สิ่งส�

ำคัญส�

ำหรับกิจกรรม “หัวหรือก้อย น้อยหรือมาก” คือ

เหรียญทั้งสองเหรียญที่ใช้ ควรเป็นเหรียญที่แตกต่างกัน ไม่ควรใช้

เหรียญหนึ่งบาท ทั้งสองเหรียญ หรือเหรียญสองบาททั้งสองเหรียญ

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะกรณีที่เหรียญหนึ่งบาทออกหัวและ

เหรียญสองบาทออกก้อย กับกรณีที่เหรียญหนึ่งบาท ออกก้อย

และเหรียญสองบาทออกหัวได้ แม้ว่าทั้งสองกรณีนี้จะถือว่า

ออก ‘กลาง’ เหมือนกัน

หลังจากที่นักเรียนได้โยนเหรียญจนครบทุกคน และได้ช่วยกัน

รวบรวมจ�

ำนวนผลลัพธ์ในแต่ละแบบแล้วนั้น ค�

ำตอบที่ได้ควร

จะออก ‘กลาง’ มากที่สุด ซึ่งผู้สอนอาจถามผู้เรียนอีกครั้งว่า

เพราะเหตุใด เพื่อน�

ำสู่แนวคิดเรื่องอัตราส่วนของจ�

ำนวนผลลัพธ์

แบบต่าง ๆ ที่สนใจ เทียบกับจ�

ำนวนผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด

ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของความน่าจะเป็นที่สามารถน�

ำมาใช้ประกอบ

การตัดสินใจเลือกค�

ำตอบที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากที่สุดได้

ทั้งนี้ผู้เรียนอาจสามารถเข้าใจหลักการนี้ได้ด้วยตนเองผ่านการ

ร่วมท�

ำกิจกรรม

ส�

ำหรับกิจกรรม “หัวหรือก้อย น้อยหรือมาก” สามารถเขียน

ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดจากการโยนเหรียญหนึ่งบาท 1 เหรียญ

และเหรียญสองบาท 1 เหรียญ พร้อมกัน ในรูปของคู่อันดับ

(หน้าของเหรียญหนึ่งบาท , หน้าของเหรียญสองบาท) ได้ว่า

(หัว, หัว), (หัว, ก้อย), (ก้อย, หัว) และ (ก้อย, ก้อย)