Previous Page  25 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 25 / 62 Next Page
Page Background

25

ปีที่ 42 ฉบับที่ 189 กรกฎาคม- สิงหาคม 2557

สมบัติดังกล่าวอธิบายได้โดยเริ่มจากกฎการสะท้อนของแสง

บนเส้นตรง เพราะเมื่อแสงเดินทางไปกระทบกับเส้นตรงแล้ว

แสงจะถูกสะท้อนออกมาโดยมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

ดังรูปที่ 3 ท�

ำให้แสดงได้ด้วยว่าระยะทางของแสงที่เดินทางจาก

จุด R ไปกระทบจุด O แล้วสะท้อนไปยังจุด S เป็นระยะทาง

ที่สั้นที่สุด เมื่อเทียบกับระยะทางที่แสงเดินทางจากจุด R

ไปกระทบจุดอื่น ๆ บนเส้นตรง M แล้วสะท้อนไปยังจุด S

(อ่านวิธีการพิสูจน์ได้จากหนังสือเพิ่มเติมเสริมศักยภาพการ

เรียนรู้คณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) : เรขาคณิตวิเคราะห์)

จากรูปที่ 2 ถ้าจะแสดงว่าแสงเดินทางจากจุด F

1

ไปกระทบกับ

พื้นผิวทรงรีที่จุด P แล้วสะท้อนไปยังจุด F

2

ก็เพียงแค่แสดงว่า

ระยะทางของแสงที่เดินทางจากจุด F

1

ไปกระทบผิวทรงรีที่จุด P

แล้วสะท้อนไปยังจุด F

2

เป็นระยะทางที่สั้นที่สุดเมื่อเทียบกับ

ระยะทางที่แสงเดินทางจากจุด F

1

ไปกระทบจุดอื่น ๆ บนเส้น

สัมผัสวงรีที่จุด P แล้วสะท้อนไปยังจุด F

2

ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้

ดังนี้

รูปที่ 3 การสะท้อนของแสงบนเส้นตรง

การพิสูจน์

จากรูปที่ 4 ให้ A เป็นจุดใด ๆ บนวงรี สร้างเส้นตรง l ซึ่งเป็นเส้นสัมผัสของวงรีที่จุด A

ให้ B เป็นจุดใด ๆ บนเส้นตรง l โดยที่จุด B ไม่ทับจุด A

ให้ C เป็นจุดตัดของวงรีกับเส้นตรง BF

2

จากบทนิยามของวงรี จะได้ว่า

F

1

C + CF

2

= F

1

A + AF

2

จากอสมการอิงรูปสามเหลี่ยม (triangle inequality) จะได้ว่า

F

1

B + BC > F

1

C

ดังนั้น F

1

B + BF

2

= F

1

B + BC + CF

2

> F

1

C + CF

2

= F

1

A + AF

2

จะได้ว่าจุด A เป็นจุดบนเส้นตรง l ที่ท�

ำให้ระยะทางของแสงที่เดินทางจาก F

1

ไปตกกระทบเส้นตรง l แล้วสะท้อนไปยัง

F

2

เป็นระยะทางที่สั้นที่สุด จากหลักการสะท้อนแสงบนเส้นตรงที่ได้กล่าวมา จะได้ว่ามุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังนั้นแสงที่เดิน

ทางจากโฟกัสหนึ่งของทรงรีไปกระทบกับพื้นผิวของทรงรีจะถูกสะท้อนไปยังอีกโฟกัสหนึ่งของทรงรีเสมอ

รูปที่ 4