

21
ปีที่ 42 ฉบับที่ 189 กรกฎาคม - สิงหาคม 2557
เห็นได้ว่า ค�
ำว่า “สามคูณห้า” ต้องอธิบายต่ออีกว่า มี 5 บวกกันอยู่ 3 ตัว เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจไปในทางที่ว่า มี 3 บวกกันอยู่ 5 ตัว
แต่หากเป็นค�
ำว่า “Three times five” เด็กฝรั่งจะเข้าใจทันทีว่ามี 5 บวกกันอยู่ 3 ตัว โดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม ซึ่งแท้จริงแล้วถ้าแปล
Three times five ว่าสามเท่าของห้า คงจะไม่มีปัญหาในการเข้าใจมากนัก แต่ค�
ำว่า สามเท่าของห้า กลับเป็นภาษาที่ยากขึ้นส�
ำหรับ
เด็กไทย
การสอนความหมายของการคูณ หากครูสอดแทรกการอ่านโดยใช้ภาษาอังกฤษเข้าไปขณะสอน จะท�
ำให้นักเรียนเข้าใจและ
มองเห็นภาพของการคูณได้ถูกต้องมากขึ้น และเมื่อท่องสูตรคูณ จะเห็นภาพดังนี้ (ยกตัวอย่างสูตรคูณแม่สอง)
2 x 1 = 1 + 1
(Two times one)
2 x 2 = 2 + 2
(Two times two)
2 x 3 = 3 + 3
(Two times three)
2 x 4 = 4 + 4
(Two times four)
2 x 5 = 5 + 5
(Two times five)
วิธีการนี้จะท�
ำให้นักเรียนสังเกตเห็นได้อีกว่า “เพราะจ�
ำนวนที่น�
ำมาบวกกันมี 2 ตัว ถ้าแต่ละตัวเพิ่มขึ้นอย่างละหนึ่ง ทั้งหมด
จึงเพิ่มขึ้นสอง” ท�
ำให้รู้ที่มาของการเพิ่มขึ้นทีละสอง แทนที่จะจ�
ำเพียงว่ า “เพราะเป็นสูตรคูณแม่สอง จึงบวกเพิ่ม
ทีละสอง” เหมือนที่ท่องกันในปัจจุบัน
2. สัญลักษณ์ที่ท�
ำให้เกิดความสับสนเมื่ออ่านเป็นภาษาไทย
สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หลายสัญลักษณ์เมื่ออ่านเป็นภาษาไทยจะท�
ำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย โดยเฉพาะกับ
เด็กที่ก�
ำลังเรียนเกี่ยวกับสัญลักษณ์เหล่านั้น ตัวอย่างเช่นสัญลักษณ์ “-” (ลบ) ซึ่งมีความหมายสองนัยคือ “ติดลบ” (negative)
และ “การลบ” (subtraction)
สัญลักษณ์
ค�
ำอ่านภาษาไทย
ค�
ำอ่านภาษาอังกฤษ
-3
ลบสาม
Negative three
5 - 3
ห้าลบสาม
Five minus three
5 + (-3)
ห้าบวกลบสาม
Five plus negative three
-3 + 5
ลบสามบวกห้า
Negative three plus five
3 - (-5)
สามลบลบห้า
Threeminus negative five
แสดงให้เห็นว่าการอ่านเป็นภาษาไทยนั้นไม่ชัดเจนเพราะมีค�
ำเดียวให้ใช้ คือ “ลบ” หากครูไม่เน้นย�้
ำให้เห็นความแตกต่าง
อย่างชัดเจนระหว่าง “การลบ” (subtraction) กับ “จ�
ำนวนลบ” (negative number) รวมทั้ง “การบวก” (addition)
และ “จ�
ำนวนบวก” (positive number) จะท�
ำให้นักเรียนเกิดความสับสนได้ และจะท�
ำให้เกิดความรู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ชัดเจน
ไม่สมเหตุสมผล และยาก และอาจส่งผลให้นักเรียนไม่สนใจเรียนคณิตศาสตร์อีกต่อไป