

17
ปีที่ 42 ฉบับที่ 189 กรกฎาคม- สิงหาคม 2557
จากการวิเคราะห์ สามารถสรุปผลการท�
ำกิจกรรมได้ว่า การที่
น�้
ำมันพืชสามารถไหลซึมลงไปในเนื้อหินทรายได้ภายในเนื้อหินทราย
จะต้องมีช่องว่างระหว่างเม็ดแร่ และช่องว่างดังกล่าวจะต้องมี
ลักษณะเชื่อมต่อกัน เพื่อให้น�้
ำมันพืชไหลซึมเข้าไปสะสมตัวอยู่ได้
การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการท�
ำกิจกรรมสู่หินกักเก็บปิโตรเลียม
ในธรรมชาติ สามารถสรุปได้ว่า ในธรรมชาติ หินกักเก็บปิโตรเลียมจะ
ต้องเป็นหินที่มีรูพรุนหรือมีช่องว่างระหว่างเม็ดแร่หรือมีรอยแตก รอย
แยกภายในเนื้อหินและรูพรุนหรือช่องว่างดังกล่าวต้องมีลักษณะเชื่อม
ต่อกัน เพื่อที่จะสามารถกักเก็บน�้
ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติไว้ได้
กิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรมง่ายๆที่ท�
ำให้เราเข้าใจลักษณะของหิน
กักเก็บปิโตรเลียมที่อยู่ลึกใต้ผิวโลกได้
ในธรรมชาติหากหินกักเก็บปิโตรเลียมถูกปิดทับด้วยหินที่มีเนื้อ
ละเอียดแน่น ที่เรียกว่า หินปิดกั้นปิโตรเลียม จะท�
ำให้ปิโตรเลียมไม่
สามารถไหลซึมผ่านหินเนื้อละเอียดแน่นนี้ขึ้นสู่ผิวโลกได้ ลักษณะ
โครงสร้างที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ในหินกักเก็บปิโตรเลียมและมีหิน
ปิดกั้นปิดทับไว้นี้ เรียกว่า แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
ตัวอย่างผลการท�
ำกิจกรรม
ชนิดหิน
ลักษณะเนื้อหิน
การเปลี่ยนแปลงของน�้
ำมันพืช
หินทราย
เนื้อหยาบ ประกอบด้วยเม็ดแร่ขนาดเล็ก ที่ผิว
หน้าของหินสามารถมองเห็นรอยต่อระหว่าง
เม็ดแร่ได้บ้าง
น�้
ำมันพืชซึมลงไปในเนื้อหินได้
หินปูน
เนื้อเนียนละเอียดมาก มองไม่เห็นรอยต่อหรือ
ช่องว่างระหว่างผลึกแร่
น�้
ำมันพืชยังคงปรากฏอยู่ที่ผิวหน้าของหิน
หินแกรนิต
เนื้อหยาบ ผลึกแร่เกาะกันแน่นแข็ง มองไม่เห็น
รอยต่อหรือช่องว่างระหว่างผลึกแร่
น�้
ำมันพืชยังคงปรากฏอยู่ที่ผิวหน้าของหิน