Previous Page  12 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 12 / 62 Next Page
Page Background

อะไรที่หายไป??

ปะติดปะต่อ

12

นิตยสาร สสวท.

เราทราบว่าช่วงเวลาแห่งความสงบอันยาวนานกินเวลาส่วนใหญ่

ของช่วงชีวิตดาวฤกษ์ภายหลังการก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่ๆแกนกลาง

ของมันจะมีอุณหภูมิหลายสิบล้านองศา ซึ่งร้อนมากพอที่จะหลอม

ไฮโดรเจนเข้าด้วยกันไปเป็นฮีเลียมและพลังงาน ในช่วงระยะของ

“การเผาไหม้”ทางนิวเคลียร์นั้นลักษณะที่ปรากฏของดาวฤกษ์

ยังค่อนข้างเสถียรมีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างขนาดและอุณหภูมิ

เพียงเล็กน้อย ในตอนปลายชีวิตดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ที่มีมวลน้อยกว่า

10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะถูกใช้จนหมด

ดาวจะพองออกและสลัดชั้นนอก ๆ ออกไป แกนกลางจะเย็นตัวลง

เมื่อเวลาผ่านไปกลายเป็น“ดาวแคระขาว”อันเป็นซากที่

ประกอบด้วยคาร์บอนและออกซิเจน (เนื่องจากธาตุเหล่านี้เป็น

ผลผลิตจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของไฮโดรเจนและฮีเลียม

ในแกนกลางของดาวฤกษ์) และชั้นบาง ๆ ของไฮโดรเจนบนผิว

และเนื่องจากไม่มีแหล่งพลังงานนิวเคลียร์มันจึงเย็นตัวลงตามกาลเวลา

และแผ่รังสีความร้อนที่เก็บไว้ออกไป

เรามีความเข้าใจที่แจ่มแจ้งแล้วเกี่ยวกับขั้นการเผาไหม้ไฮโดรเจน

และขั้นดาวแคระขาวในวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ แต่การติดตาม

ว่าเกิดอะไรขึ้นในระหว่างกลางยังคงเป็นปริศนาอันยิ่งใหญ่

ในช่วงเวลาเหล่านี้เองที่ดาวฤกษ์ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย

และสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้อย่างรวดเร็วเป็นหลักหลาย ๆ

หมื่นเท่า วิวัฒนาการนี้เกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ที่ใช้ไฮโดรเจนในแกน

กลางจนหมดเริ่มเผาไหม้ไฮโดรเจนบริเวณที่ห่อหุ้มส่วนที่อยู่ด้านใน

ชั้นด้านนอกของดาวฤกษ์เริ่มกระจัดกระจายและขยายตัว ซึ่งเรา

เรียกว่าดาวยักษ์แดง ในขั้นตอนนี้ดาวฤกษ์จะมีความสว่างมากกว่า

ดาวแคระขาวที่มีอุณหภูมิเท่า ๆ กันมาก เนื่องจากมีการปลด

ปล่อยพลังงานออกจากพื้นที่ผิวที่มากกว่า

เมื่อดาววิวัฒนาการต่อไปใน “เส้นทางของดาวยักษ์แดง”

ตามชื่อที่มันถูกเรียกบนแผนภูมิเอช-อาร์ โดยจะมีความสว่างมาก

ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ลมดาวฤกษ์ (stellar wind)

1

สามารถขับดัน

ชั้นนอกออกไปจากดาวฤกษ์และทิ้งมันไปในสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ

ขนาดของมวลที่ดาวฤกษ์ทิ้งไปในตอนที่เป็นดาวยักษ์แดงจะเป็น

ตัวก�

ำหนดอนาคตของดาวฤกษ์โดยตรง

1

ลมดาวฤกษ์ คือ การไหลของสสาร (โปรตอน อิเล็กตรอน และอะตอมของโลหะที่

หนัก) ซึ่งถูกขับออกมาจากดาวฤกษ์ ลมนี้มีลักษณะพิเศษคือเป็นการไหลออกอย่าง

ต่อเนื่องของสสารที่เคลื่อนที่ในอัตราเร็วระหว่าง 20 ถึง 2,000 กิโลเมตรต่อวินาที

หลังจากขั้นดาวยักษ์แดง ดาวฤกษ์จะเผาไหม้ฮีเลียมในแกนกลาง

ของมันและมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและขนาดอีกครั้งเมื่อดาวฤกษ์

เคลื่อนที่ไปตาม “เส้นก�

ำกับตามเส้นทางดาวยักษ์ (asymptotic

giant branch)”และเผาไหม้ฮีเลียมที่ล้อมรอบอยู่ ช่วงชีวิตของ

ดาวฤกษ์ตามเส้นทางนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการพ่นแก๊สที่ห่อหุ้ม

อยู่ออกไปจนหมดรวมถึงความสว่างที่มันจะไปถึง ถ้าดาวฤกษ์สูญเสีย

สิ่งห่อหุ้มอย่างรวดเร็วขั้นวิวัฒนาการจะสิ้นสุดลงและก่อตัวเป็น

ดาวแคระขาว แต่ถ้าดาวฤกษ์สูญเสียสสารไปอย่างช้า ๆ มันจะมีชีวิต

อยู่บนเส้นก�

ำกับตามเส้นทางดาวยักษ์นานขึ้นและด�

ำเนินต่อไป

จนมีความสว่างมากขึ้นและพองตัวมากขึ้น การทราบว่าดาวฤกษ์สูญเสีย

สสารไปมากเพียงไรช่วยให้เราเข้าใจระยะต่อมาของวิวัฒนาการดาวฤกษ์

เราสามารถใช้การสังเกตสีและความสว่างของดาวฤกษ์ รวมทั้งใช้

แบบจ�

ำลองที่ท�

ำนายถึงผลของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อ

สเปกตรัมปรากฏ (emergent spectrum) เพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ

คุณสมบัติต่าง ๆ เช่นอายุองค์ประกอบทางเคมีและอัตราการเกิดของ

ดาวฤกษ์ ของกาแล็กซีที่ดาวฤกษ์เหล่านั้นอาศัยอยู่

คาลิไร (Kalirai) และคณะได้ศึกษาดาวฤกษ์หลายดวงในระยะต่าง ๆ

ของวิวัฒนาการเพื่อที่จะปะติดปะต่อกระบวนการเข้าด้วยกัน การจะหา

ว่าดาวฤกษ์สูญเสียสสารไปเพียงใดในวิวัฒนาการนั้น เราจ�

ำเป็น

ต้องทราบมวลตั้งต้นและมวลสุดท้ายของดาวฤกษ์ดวงเดียวกัน

แต่มาตราส่วนเวลา (timescale) ในช่วงเวลาหลายล้านถึง

หลายพันล้านปีก็ยาวนานเกินไปที่จะเฝ้าดูดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่ง

วิวัฒนาการ เราไม่มีทางเลยที่จะอนุมานคุณสมบัติสุดท้ายของ

ดาวแคระขาวจากดาวฤกษ์ที่เผาไหม้ไฮโดรเจนที่ก�

ำลังฉายแสง

อยู่บนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ในท�

ำนองเดียวกัน เราก็ไม่มีทางที่จะ

อนุมานมวลดาวฤกษ์ในตอนตั้งต้นของดาวแคระขาวที่อยู่ใกล้เคียง

ในความเป็นจริงเรามีห้องปฏิบัติการที่จะใช้จัดการกับปัญหาซึ่งก็คือ

กระจุกดาวต่าง ๆ อันเป็นสภาพแวดล้อมของดาวฤกษ์หลายพันดวง

ที่ล้วนมาจากแหล่งเดียวกัน ดาวฤกษ์ทุกดวงภายในกระจุกดาว

ก่อก�

ำเนิดในเวลาเดียวกันและมีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่มีมวลที่

หลากหลายต่างกัน แต่ละกระจุกดาวให้ข้อมูลดาวฤกษ์ที่อายุหนึ่ง ๆ

เราจึงสามารถเห็นผลกระทบที่วิวัฒนาการของดาวฤกษ์มีต่อดาวฤกษ์

ที่มีมวลต่างกันได้โดยตรง

เพื่อที่จะส�

ำรวจทั้งระยะแรกเริ่มและระยะสุดท้ายในเวลาเดียวกัน

และเพื่อที่จะวัดว่าดาวฤกษ์สูญเสียมวลไปเท่าใดในวิวัฒนาการ เรา

สามารถใช้กระบวนการ 3 ขั้นตอนต่อไปนี้