Previous Page  7 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 7 / 62 Next Page
Page Background

7

ปีที่ 42 ฉบับที่ 189 กรกฎาคม- สิงหาคม 2557

ดร.สนธิ พลชัยยา

นักวิชาการ สาขาเคมี สสวท. / e-mail :

sopho@ipst.ac.th

หลักสูตรหรือการจัดการ เรียนรู้ ที่มีการบูรณาการ

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์เข้า

ด้วยกัน หรือที่เรียกว่า “สะเต็มศึกษา (STEM Education)” เป็น

ค�

ำย่อที่มาจากค�

ำว่า Science Technology Engineering and

Mathematics Education ได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมาย

ส�

ำคัญเพื่อน�

ำผู้เรียนไปสู่การคิดแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์

นวัตกรรมใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยง

บทเรียนในห้องเรียนกับการน�

ำความรู้ ไปใช้ประโยชน์ ใน

ชีวิตประจ�

ำวันได้จริง การจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการหลัก

สะเต็มศึกษาเข้าไปในหลักสูตรหรืออาจน�

ำมาใช้เพียงบางส่วน

ของเนื้อหาวิชา ก็นับได้ว่ามีการผสมผสานการเรียนรู้แบบผู้เรียน

เป็นส�

ำคัญเพราะผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ และ

สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้

ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมา

ได้มีบทความเกี่ยวกับความส�

ำคัญของสะเต็มศึกษาและการบูรณาการ

หลักการของสะเต็มในหลักสูตรหรือเนื้อหาวิชา รวมทั้งตัวอย่าง

การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสะเต็มในวารสารต่าง ๆ เช่น

กิจกรรมช่วยเหลือนกเพนกวิน กิจกรรม I want my pizza hot

และกิจกรรม building roller coasters

จุดเด่นส�

ำคัญอีกประการหนึ่งของสะเต็มศึกษาที่นอกเหนือ

จากการออกแบบการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้บูรณาการ

ความรู้ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์

และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน และการเชื่อมโยงองค์ความรู้จาก

บทเรียนในห้องเรียนเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�

ำวันแล้ว

สะเต็มศึกษายังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการคิดขั้นสูง (Higher-ordered

thinking) ซึ่งเป็นทักษะที่จ�

ำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century

skills) สะเต็มศึกษาช่วยส่งเสริมการคิดขั้นสูงของผู้ เรียน

ได้อย่างไร เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และจะได้กล่าวต่อไป แต่ก่อนอื่น

ผู้เขียนขออธิบายเกี่ยวกับความหมายและประเภทของการคิดขั้นสูงก่อน

สะเต็มศึกษา

กับการคิดขั้นสูง

1. ความหมายและประเภทของการคิดขั้นสูง

ค�

ำว่ า

คิด

ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับ

ราชบัณฑิตยสถาน หมายถึงทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบ

ให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ

การคิด

เป็นกิจกรรมทางสมอง

ที่ต้ องอาศัยข้ อมูลการรับรู้ จากประสาทสัมผัสทั้งห้ าและ

จากประสบการณ์ ผนวกกับพื้นฐานของเหตุและผล มาประมวล

และวิเคราะห์เพื่อการรับรู้ หรือท�

ำความเข้าใจสถานการณ์หรือ

สิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมทั้งตอบสนองและตัดสินใจ นอกจากนี้

ยังอาจใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น การแก้ปัญหา

การตัดสินใจ หรือการวางแผน

การคิดขั้นสูง

เป็นการคิดที่น�

ำไปสู่

วิธีการแก้ปัญหา การคิดอย่างสร้ างสรรค์ การคิดอย่างมี

วิจารณญาณ หรือการคิดซับซ้อนอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ความจ�

หรือความเข้าใจ

การคิดขั้นสูงมีหลายประเภทซึ่งหนังสือแต่ละเล่มได้อธิบาย

ไว้ในบริบทที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในบทความนี้จะกล่าวถึง

การคิดขั้นสูง 3 ประเภท คือ การคิดแก้ปัญหา (problem solving)

การคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) และการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ (critical thinking) ซึ่งเป็นการคิดที่มีการกล่าวถึง

และตีพิมพ์อย่างแพร่หลายว่าสามารถฝึกฝนให้เกิดกับผู้เรียนผ่านการ

ท�

ำกิจกรรมสะ เต็ม และนอกจากนี้ การคิดแก้ ปั ญหา

การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ยังเป็นทักษะ

ส�

ำคัญต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รายละเอียดของการคิดขั้นสูง

ทั้ง 3 ประเภท สามารถสรุปได้ดังนี้

1.1 การคิดแก้ปัญหา

การคิดแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการพิจารณาจ�

ำแนก

เกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความล�

ำบาก

หรือยุ่งยาก จากนั้นมีการประยุกต์น�

ำสิ่งของ วิธีการ หรือ

เหตุการณ์ บางอย่างมาปรับใช้อย่างเหมาะสม โดยสอดคล้อง

กับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และ สภาพแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหา

หรือให้บรรลุผลส�

ำเร็จตามจุดประสงค์ที่ก�

ำหนดไว้