Previous Page  20 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 20 / 62 Next Page
Page Background

20

นิตยสาร สสวท.

ศราวุธ จอมน�

ำ อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) / e-mail:

krudento@hotmail.com

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีความต่างกันทั้งรากฐานของภาษา ไวยากรณ์ ส�

ำนวน บริบท ค�

ำศัพท์ ฯลฯ องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์

ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาอังกฤษก่อนที่จะถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ซึ่งในบ้านเราคือภาษาไทย เนื่องจากภาษาเดิมและภาษาที่แปลมีความต่างกัน

ท�

ำให้เกิดความคลาดเคลื่อนบางประการที่เป็นอุปสรรคในการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยภาษาไทยของเด็กไทย โดยผู้เขียนได้รวบรวมอุปสรรค

ทางภาษาในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กไทยไว้ดังนี้

1. นิยามที่สร้างขึ้นด้วยส�

ำนึกทางภาษาของผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก

นิยามทางคณิตศาสตร์ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ความเข้าใจในภาษาอังกฤษเป็นฐานในการเขียน ในบริบทของผู้ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่ง

อาจต่างจากส�

ำนึกในการใช้ภาษาของคนไทย เมื่อมีการน�

ำคณิตศาสตร์เข้ามาในประเทศไทย นิยามเหล่านั้นจึงถูกแปลเป็นภาษาไทย

โดยคงความหมายเดิมไว้ ตัวอย่างเช่น นิยามการคูณจ�

ำนวนเต็มบวก

อุปสรรคทางภาษาในการเรียน

คณิตศาสตร์ของเด็กไทย

นิยาม

a x b อ่านว่า เอ คูณ บี

ความหมายคือ b + b + b + … + b

a ตัว

นิยามการคูณนี้มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่า “a times b”

ความหมายคือ “มี b (บวกกัน)ทั้งหมด a ตัว”

ท�

ำให้ 3 x 5 = 5 + 5 + 5 แทนที่จะเป็น 3 + 3 + 3 + 3 + 3

จากประสบการณ์ของผู้เขียน เมื่อใดก็ตามที่ถามนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาว่า “สองคูณแปดมีค่าเท่าไร” นักเรียนทุกคน

จะน�

ำ 2 มาบวกกัน 8 ตัว แล้วจึงบอกผลลัพธ์ เมื่อถามว่าท�

ำไม

ถึงคิดแบบนั้น นักเรียนกล่าวว่าจะหาค่าของ สองคูณแปด ต้อง

ท่องสูตรคูณแม่สอง ซึ่งตนยังท่องไม่คล่อง จึงบวกเพิ่มทีละ 2

ตามความหมายของสูตรคูณแม่สอง แสดงว่านักเรียนมองเห็น

ภาพของสูตรคูณแม่สอง ดังนี้

2 x 1 = 2

2 x 2 = 2 + 2

2 x 3 = 2 + 2 + 2

2 x 4 = 2 + 2 + 2 + 2

2 x 5 = 2 + 2 + 2 + 2 + 2

...

เปรียบเทียบการอ่าน 3 x 5 ระหว่างเด็กไทย กับเด็กฝรั่ง

เด็กไทย

เด็กฝรั่ง

ภาษาอย่างง่าย

สามคูณห้า

Three times five

ภาษาที่ยากขึ้น

สามเท่าของห้า

Three multiplied by five

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เด็กไทยท่องสูตรคูณด้วยภาพของการคูณ

ดังกล่าว แต่เมื่อต้องการเขียนกระจายให้อยู่ในรูปการบวก กลับ

ต้องเขียนให้ถูกต้องตามนิยามซึ่งเป็นอีกภาพหนึ่งซึ่งขัดแย้ง

กับส�

ำนึก (sense) โดยเฉพาะนักเรียนในชั้นประถมศึกษาตอนต้น

ที่เริ่มเรียนการคูณ ท�

ำให้นักเรียนสับสน จนเกิดอคติกับการเรียน

คณิตศาสตร์ตั้งแต่แรกเริ่ม