Previous Page  24 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 24 / 62 Next Page
Page Background

24

นิตยสาร สสวท.

พัฒนชัย รวิวรรณ

นักวิชาการ สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย สสวท. / e-mail:

pravi@ipst.ac.th

ในปัจจุบันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่พบได้บ่อย

เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบในชายมากกว่าหญิงประมาณ 3 เท่า

ส�

ำหรับประเทศไทยจะพบคนที่เป็นโรคนิ่วมากในภาคเหนือและภาคอีสาน

ทางการแพทย์จึงให้ความส�

ำคัญกับการรักษาโรคนี้และมี

การพัฒนาวิธีการรักษาอยู่ตลอดเวลาจนในปัจจุบันมีวิธีการรักษาแบบหนึ่ง

ซึ่งเป็นการรักษาจากภายนอกและใช้เวลาพักฟื้นไม่นานนัก แต่สิ่งที่น่าทึ่ง

คือการรักษาด้วยวิธีนี้ได้น�

ำความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์มาช่วยใน

กระบวนการด�

ำเนินงานด้วย

นิ่ว

เป็นสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในร่างกายของเรา นิ่วในระบบทางเดิน

ปัสสาวะเกิดจากการตกผลึกของตะกอนในปัสสาวะ เช่น หินปูน

(แคลเซียม) ออกซาเลต ฟอสเฟต กรดยูริก และซีสตีน ดังนั้น

อวัยวะใดที่ปัสสาวะผ่านในระบบทางเดินปัสสาวะ ดังรูปที่1 ก็จะท�

ำให้

เกิดนิ่วได้ นิ่วจึงสามารถเกิดได้ทั้งในไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และ

ท่อปัสสาวะ

วงรี

สลายนิ่ว

“อั้นฉี่นาน ๆ ระวังเป็นนิ่วนะ” เป็นวลีที่คงจะคุ้นหูตั้งแต่เด็ก

เพราะว่าการอั้นปัสสาวะนาน ๆ จะท�

ำให้ตะกอนที่อยู่

ในปัสสาวะตกค้างอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อนานเข้าตะกอน

ก็จะสะสมกันจนเกิดเป็นก้อนนิ่ว นอกจากนั้น เพศ อายุ

กรรมพันธุ์ ปริมาณน�้

ำที่ดื่ม ก็ยังเป็นปัจจัยที่ท�

ำให้เกิดนิ่วได้อีกด้วย

โดยปกติ นิ่วที่มีขนาดเล็กจะหลุดออกได้เองพร้อมกับปัสสาวะ

โดยการดื่มน�้

ำสะอาดมาก ๆ รับประทานยาละลายนิ่ว หรือยาขับ

ปัสสาวะ ในกรณีที่นิ่วมีขนาดใหญ่จนร่างกายไม่สามารถขับออกมาได้

จ�

ำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการรักษาแบบอื่นที่เรียกว่า lithotripsy

และในบทความนี้จะขอพูดถึงวิธีการรักษาดังกล่าว เนื่องจาก

เครื่องมือที่ใช้มีความน่าสนใจทางคณิตศาสตร์ เพราะใช้สมบัติ

การสะท้อนของวงรีในกระบวนการท�

ำงาน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้

จะเหมาะกับนิ่วที่อยู่ในไตและท่อไต และนิ่วจะต้องมีขนาดไม่เกิน

2 เซนติเมตร ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่กว่านี้ต้องใช้วิธีการผ่าตัด

วงรีมีสมบัติที่มีความส�

ำคัญประการหนึ่ง คือ สมบัติการสะท้อน

เช่น ถ้าสร้างทรงรีให้เป็นกระจกที่สะท้อนแสงได้ แล้วแสงจะเดินทาง

จากโฟกัสหนึ่งของทรงรีไปกระทบกับพื้นผิวของทรงรีจากนั้นจะถูก

สะท้อนไปยังโฟกัสที่สองของทรงรี ดังรูปที่ 2

รูปที่ 1 ระบบทางเดินปัสสาวะ

(ที่มา:

http://bomsand.blogspot.com/2013_01_01_archive.html

)

รูปที่ 2 การสะท้อนของวงรี

เส้นสัมผัสวงรีที่จุด P

(kidneys)

(ureters)

(bladder)

(urethra)