

44
นิตยสาร สสวท.
การประเมินการรู้เรื่องการอ่านของ
PISA 2015
พัชรินทร์ อารมณ์สาวะ
นักวิชาการ สาขาวิจัย สสวท. / e-mail :
phard@ipst.ac.th“การอ่าน”
เป็นกระบวนการเริ่มต้นของการเรียนรู้ทำ
�ให้เกิดการขยายความรู้และทักษะที่แต่ละบุคคลพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สำ
�หรับการประเมินของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA)
“การรู้เรื่องการอ่าน” (Reading Literacy) เป็นหนึ่งในสามด้านของการประเมินในโครงการ PISA ซึ่งมีความหมายมากกว่าเพียงการ
ประเมินการ “อ่านออก” และ “เขียนได้” เท่านั้น ใน PISA 2015 จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการสอบเป็นให้นักเรียนทำ
�ข้อสอบด้วย
คอมพิวเตอร์
(Computer-based) และจะจัดการประเมินในเดือน
สิงหาคม พ.ศ. 2558
เรามาดูกันว่ากรอบการประเมินการรู้เรื่องการอ่านนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
การประเมินการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทาง PISA เป็นอย่างไร
การรู้เรื่องการอ่าน หมายถึง ความสามารถที่จะทำ
�ความเข้าใจกับสิ่งที่ได้อ่าน สามารถนำ
�ไปใช้ สะท้อนออกมาเป็น
ความคิดเห็นของตนเอง และมีความรักและผูกพันกับการอ่าน เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพ และการมีส่วนร่วมในสังคม
กรอบการประเมินการรู้เรื่องการอ่านของ PISA 2015 มีดังนี้
การรู้เรื่องการอ่าน
ใช้เฉพาะเนื้อหาภายในเรื่องที่อ่าน
ดึงความรู้นอกเนื้อเรื่องเข้ามาใช้ด้วย
การเข้าถึงและ
ค้นคืนสาระ
การบูรณาการ
และตีความ
การสะท้อนและประเมิน
ค้นหาสาระ
สำ
�คัญ
สร้างความเข้าใจ
ในภาพรวม
ตีความเนื้อเรื่อง
สะท้อนและประเมิน
เนื้อหาสาระ
สะท้อนและประเมิน
รูปแบบและวิธีการเขียน
ในแบบทดสอบของ PISA นักเรียนจะได้อ่านเนื้อเรื่อง
จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่หลากหลาย
การที่จะอ่านและทำ
�ความเข้าใจในเรื่องที่อ่านอย่างลึกซึ้งได้นั้น
ต้องอาศัยสมรรถนะการอ่านสามด้าน ได้แก่ การค้นหาสาระ
สำ
�คัญ ทำ
�ความเข้าใจและตีความเนื้อเรื่อง และการประเมินสิ่งที่
ได้อ่าน ซึ่งในบางครั้งต้องนำ
�ความรู้อื่น ๆ นอกเหนือจากเนื้อเรื่อง
มาเชื่อมโยงกับสาระสำ
�คัญภายในเรื่องที่ได้อ่านแล้วมาพิจารณา
ร่วมกัน และสะท้อนสิ่งที่ได้อ่านออกมาตามความคิดของตนอย่าง
สมเหตุสมผล โดย PISA คาดหวังให้นักเรียนแสดงความสามารถ
ในการอ่าน ดังนี้
การเข้าถึงและค้นคืนสาระ
• รู้ขอบเขตของข้อมูลว่าข้อมูลที่เราต้องการอยู่ในตำ
�แหน่งใด
ของเรื่องที่อ่าน
• จำ
�แนกความเหมือนและความต่างของข้อมูลที่มีอยู่ในเนื้อเรื่อง
การบูรณาการและตีความ
• แสดงความเข้าใจโดยสามารถระบุใจความสำ
�คัญหรือ
จุดประสงค์ของเรื่อง
• เชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อทำ
�ให้
เกิดความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
• ตีความเนื้อเรื่องเพื่อนำ
�ไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่อ่านได้
ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
การสะท้อนและประเมิน
• วิเคราะห์เนื้อเรื่อง รูปแบบ และวิธีการเขียนของเรื่องที่อ่าน
• ประเมิน แสดงความคิดเห็น และให้ข้อโต้แย้งจาก
มุมมองของตนเองได้