

22
นิตยสาร สสวท.
สมเกียรติ เพ็ญทอง
ผู้อ�
ำนวยการสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. / e-mail :
spent@ipst.ac.thเมื่อปีพุทธศักราช 2549 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปจัดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ให้กับโรงเรียนอนุบาลบางสะพาน อ�
ำเภอบางสะพาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในครั้งนั้นได้คิดกิจกรรมท�
ำน�้
ำสับปะรดขึ้นมาให้นักเรียนได้ทดลองท�
ำกัน ที่มาของการน�
ำกิจกรรมนี้มาใช้ในค่าย
คณิตศาสตร์ เนื่องมาจากอ�
ำเภอบางสะพานเป็นพื้นที่ที่ปลูกสับปะรดเป็นจ�
ำนวนมาก สับปะรดเป็นผลไม้ใกล้ตัวนักเรียน น่าจะน�
ำมาเป็นสื่อ
ให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ จุดประสงค์หลักของกิจกรรมท�
ำน�้
ำสับปะรดก็คือ ต้องการให้นักเรียนได้บูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์
ที่ได้เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ผ่านสถานการณ์การท�
ำน�้
ำสับปะรด อันจะส่งผลให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความส�
ำคัญของ
วิชาคณิตศาสตร์ เห็นประโยชน์ของเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่อุตส่าห์เรียนมาด้วยความยากล�
ำบาก
กิจกรรมท�
ำน�้
ำสับปะรด
ได้มากกว่าน�้
ำสับปะรด
จากที่เกริ่นมา ผู้อ่านอาจจะเริ่มตั้งค�
ำถามแล้วว่า เหตุการณ์
เกิดมาตั้งแต่ปี 2549 9 ปีผ่านไป เพิ่งคิดอยากจะเขียนบอกเล่า
กิจกรรมให้เพื่อนครูได้อ่านใช่ไหม ก็คงตอบว่า ใช่ครับ เพียงแต่ ถ้า
เขียนบอกเล่ากิจกรรมให้อ่านแต่เพียงว่า กิจกรรมท�
ำอย่างไร
นักเรียนได้ความรู้หรือประโยชน์อะไรบ้าง ตอนนี้อาจจะล้าสมัยไป
แล้วก็ได้ เจตนาที่ขุดเอากิจกรรมนี้มาเขียนเป็นบทความนั้น มา
จากค�
ำว่า STEM ใช่ครับ STEM เป็นเหตุผลที่ท�
ำให้ผู้เขียนนึกถึง
กิจกรรมท�
ำน�้
ำสับปะรดเมื่อ 9 ปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นค�
ำว่า STEM ยัง
ไม่มีการพูดถึงกัน วันนี้จึงขออนุญาตน�
ำกิจกรรมนี้มาโยงเข้าสู่
STEM เพื่อไม่ให้ล้าสมัย และอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนครู
หลาย ๆ ท่านนึกย้อนไปถึงกิจกรรมเก่าก่อน แล้วน�
ำมาปัดฝุ่นใหม่
และปรับปรุงอีกเล็กน้อย เพื่อให้เข้ากับยุค STEM ในตอนนี้
กิจกรรมท�
ำน�้
ำสับปะรด เป็น STEM อย่างไร ขออนุญาต
แบ่งปันประสบการณ์ให้เพื่อนครูทุกท่านได้อ่านกันดังนี้