Table of Contents Table of Contents
Previous Page  29 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 29 / 62 Next Page
Page Background

ปีที่ 43 ฉบับที่ 192 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2558

29

จากโจทย์ปัญหาข้อนี้ ก็มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง

โดยผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการมีความคิดเห็นว่า ถึงแม้โจทย์จะ

เป็นการอ้างอิงจากสถานการณ์ในชีวิตจริง แต่ลักษณะและ

โครงสร้างของค�

ำถามยังมีความเป็นคณิตศาสตร์ที่ไม่สอดคล้องกับ

กระบวนการแก้ปัญหาในชีวิตจริงมากนัก เช่น การใช้ตัวแปร x เป็น

ส่วนหนึ่งของโจทย์แสดงสิ่งที่ไม่ทราบค่า สะท้อนถึงลักษณะการคิด

แบบคณิตศาสตร์ซึ่งอันที่จริงผู้เรียนควรเป็นฝ่ายสร้างโมเดล

โดยก�

ำหนดตัวแปรแทนสิ่งที่ไม่ทราบค่าด้วยตนเอง และควรมีอิสระ

ในการใช้ตัวแปรอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ในส่วนของโจทย์ที่ต้องการ

ให้แสดงว่า พื้นที่ของสนามหญ้าใหม่จะเป็น x

2

+ 35x + 300

ตารางเมตรนั้น มีลักษณะของโจทย์ที่ต้องการให้เกิดการพิสูจน์

ในทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นค�

ำถามที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในชีวิตจริงเช่นกัน

แต่ที่ไม่สมเหตุสมผลมากที่สุดคือค�

ำถามสุดท้าย ที่โจทย์ให้ข้อมูลว่า

คุณก๊อกทราบว่าพื้นที่ของสนามหญ้าใหม่มีขนาดเท่ากับ 374

ตารางเมตร แต่กลับไม่ทราบว่าตนได้ขยายขนาดของสนามไปเท่าไร

และหากคุณก๊อกสามารถวัดและค�

ำนวณหาพื้นที่ใหม่ได้ เหตุใดเขาจึง

ไม่สามารถวัดขนาดของสนามที่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่า

ตัวอย่างโจทย์นี้แสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า การเรียนการสอน

คณิตศาสตร์ที่สมจริงนั้น ไม่ได้เป็นเพียงการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์

เข้ากับสถานการณ์ในชีวิตจริง แต่ลักษณะของค�

ำถามรวมถึงวิธี

การแก้ปัญหาควรมีความสมจริงตามไปด้วย ซึ่งในโจทย์ข้อนี้จะเห็น

เจตนาได้อย่างชัดเจนว่าผู้ตั้งโจทย์ต้องการให้นักเรียนสามารถแสดง

วิธีแก้สมการก�

ำลังสองเพื่อหาค�

ำตอบ จากนั้นจึงพยายามแต่ง

สถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการ

ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ควรปฏิบัติ แต่ผู้ออกแบบโจทย์ควรสร้างสรรค์

สถานการณ์ที่อ้างอิงจากชีวิตจริงเหล่านี้ให้มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

เช่น มีผู้เสนอว่า ควรให้ข้อมูลเบื้องต้นเพียงขนาดของสนามและ

ความต้องการในการขยายความกว้างและความยาวของสนามด้วย

ความยาวเท่า ๆ กัน แต่คุณก๊อกสามารถขยายขนาดให้มีพื้นที่มาก

ที่สุดได้เท่ากับ 374 ตารางเมตรตามกฎหมาย คุณก๊อกจะสามารถ

ขยายสนามแต่ละด้านได้เท่าใด

ในส่วนของตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่อ้างอิงจากสถานการณ์

ในชีวิตจริง ได้มีการน�

ำโจทย์ปัญหาจากข้อสอบ PISA มาพัฒนาเป็น

กิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการแก้

ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ โดยสถานการณ์ปัญหาที่ก�

ำหนดให้คือ

เทศบาลต้องการติดตั้งเสาไฟซึ่งสามารถส่องพื้นเป็นรูปวงกลมส�

ำหรับ

สนามหญ้ารูปสามเหลี่ยมแห่งหนึ่ง ทางเทศบาลควรติดตั้งเสาไฟ

ณ จุดใดเพื่อให้สามารถส่องสนามได้ทั่วโดยใช้ก�

ำลังไฟน้อยที่สุด

ซึ่งวิทยากรผู้น�

ำการอบรมได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมใช้

อุปกรณ์อันประกอบด้วย แผ่นกระดาษรูปสามเหลี่ยมที่มีลักษณะ

ต่าง ๆ เช่น สามเหลี่ยมมุมแหลม สามเหลี่ยมมุมฉาก และ

สามเหลี่ยมมุมป้าน และกระบอกไฟฉายทดลองส่องรูปสามเหลี่ยม

เหล่านี้ที่ระยะความสูงต่าง ๆ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ใช้โปรแกรม

เรขาคณิตพลวัต GeoGebra ในการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อการหา

ค�

ำตอบได้อีกด้วย ซึ่งผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันท�

ำกิจกรรมจากอุปกรณ์

และเทคโนโลยีที่ให้มา จากนั้นได้ร่วมกันอภิปรายประเด็นที่เกิดขึ้น

ระหว่างการท�

ำกิจกรรม โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการสร้างโมเดล

ทางคณิตศาสตร์ส�

ำหรับการแก้ปัญหานี้ในหลายส่วน เช่น การใช้

รูปสามเหลี่ยมทั้งที่เป็นกระดาษและรูปสามเหลี่ยมพลวัตใน

โปรแกรม GeoGebra แทนรูปทรงของสนามหญ้า และมีการสร้าง

โมเดลการส่องของไฟฉายบนพื้นราบด้วยรูปวงกลมที่ปรับความยาว

เส้นผ่านศูนย์กลางได้ตามระยะความสูงของไฟฉาย เพื่อหาโมเดล

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปสามเหลี่ยมต่าง ๆ และวงกลมที่เล็กที่สุด

ที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ของสามเหลี่ยมทั้งรูปได้ นอกจากนี้

การใช้โปรแกรม GeoGebra มีประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์

ปัญหากับรูปสามเหลี่ยมของสนามที่สามารถปรับเปลี่ยนให้มี

รูปร่าง ๆ ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายและสะดวกง่ายดาย เปิดโอกาส

ให้มีการศึกษาความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพและลึกซึ้งได้มากขึ้น

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ CIEAEM ในครั้งนี้ ท�

ำให้

เห็นถึงประเด็นอันละเอียดอ่อนหลายประการในการสร้างโมเดล

ทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในโลกของความเป็นจริง ซึ่งครูผู้สอน

หรือผู้ออกแบบกิจกรรมควรตระหนักถึงธรรมชาติของคณิตศาสตร์

ธรรมชาติของโลกความเป็นจริง และช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง

ธรรมชาติสองส่วนนี้ ก่อนจะสามารถพัฒนากิจกรรมหรือออกแบบ

วิธีการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับโลกความเป็นจริง

ได้อย่างมีประสิทธิผล

บรรณานุกรม

The International Commission for the Study and Improvement

of Mathematics Teaching (2014). Conference CIEAEM 66 Lyon,

Mathematics and Realities. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2557, จาก

http://www.cieaem.org/?q=node

/41

กิจกรรมการแก้ปัญหาในชีวิตจริง