Previous Page  19 / 61 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 19 / 61 Next Page
Page Background

การขึ้นหรือลงของ เครื่องบินอาศัยลมผิวพื้น

ที่มีทิศสวนทางกับทิศการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน ตัวอย่างเช่น

เครื่องบิน DC-8 บินขึ้น-ลงในขณะที่ลมผิวพื้นในสนามบิน

มีความเร็ว 10 นอต ถ้าบินขึ้นในทิศเดียวกับลม เครื่องบินจะต้อง

ใช้ทางวิ่งเป็นระยะทางเพิ่มอีก 500 เมตร แต่ในทางกลับกัน

ถ้าบินในทิศทางสวนกับทิศของลมที่มีความเร็วเท่ากัน

จะใช้ทางวิ่งในระยะทางสั้นลง 100 เมตร นอกจากนี้ลมชั้น

บนที่ระดับความสูงต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพใน

การบิน เช่น ระยะเวลาบิน หรือ การสิ้นเปลืองน�้

ำมันเชื้อเพลิง

ทัศนวิสัยด้านการบิน หมายถึงระยะไกลที่สุดที่

สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ต้องเห็นได้ชัดเจนในวันที่

อากาศแจ่มใส ตามปกติ ภูเขา บ้านเรือน ต้นไม้ หรือปล่องไฟ

ในสนามบินแต่ละแห่งจะต้องมีการตรวจทัศนวิสัยส�

ำหรับ

นักบินด้วยเช่นกัน หากพบภาวะที่ท�

ำให้ทัศนวิสัยลดคุณภาพ

เช่น หมอก ฟ้าหลัว ฝน หรือฝุ่น ท�

ำให้ไม่สามารถมองเห็น

ได้ชัดเจนเหมือนในภาวะอากาศแจ่มใส ก็ให้ระยะนั้นเป็น

ค่าทัศนวิสัย ในทางการบินค่าทัศนวิสัยของทางวิ่งในสนามบิน

นอกจากนี้ยังมีค่าทัศนวิสัยที่นักบินสามารถมองเห็นได้จาก

ห้องนักบิน ซึ่งมีความส�

ำคัญต่อการบินขึ้นลงมาก ในทางปฏิบัติ

ไม่สามารถวัดค่าได้ด้วยสายตา แต่จะใช้เครื่องมืออัตโนมัติ

ที่เรียกว่า Transmissometer ติดตั้งใกล้กับจุดแตะพื้น

ของเครื่องบิน

นอกจากค่าทัศนวิสัยทั่วไปแล้วก็ยังมีความสามารถ

ในการมองเห็นของนักบินในแนวนอนและแนวเฉียงเพื่อให้

สามารถมองเห็นได้ไกลในแนวราบและเห็นทางวิ่งในแนวเฉียง

คว ามส�

ำคัญใ น ก า ร ร า ย ง า นทั ศ น วิ สั ย เ พื่อ ก า ร บิน

ในกรณีที่ต�

ำแหน่งของเครื่องบินอยู่ในสภาวะอากาศแจ่มใส

แต่มีหมอกปกคลุมเบื้องล่าง นักบินอาจเห็นสภาพของสนามบิน

ได้ค่อนข้างชัดเจน แต่เมื่อลดระดับลงมาจนเครื่องบิน

อยู่ใกล้ชั้นหมอก หรือในชั้นหมอก นักบินอาจมองไม่เห็น

สภาพทางวิ่ง ท�

ำให้นักบินตัดสินใจผิดพลาดอาจท�

ำให้เกิด

อุบัติเหตุด้านการบินขึ้นได้

ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการบินแต่ไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้

เช่น ความกดอากาศ อุณหภูมิ อย่างไรก็ตามก่อนที่นักบิน

จะน�

ำเครื่องบินขี้นท้องฟ้าจ�

ำเป็นต้องทราบข้อมูลอุตุนิยมวิทยา

และพูดคุยกับนักอุตุนิยมวิทยาที่ประจ�

ำที่สนามบิน

เพื่อประเมินสภาพอากาศและเตรียมความพร้อมในการน�

เครื่องขึ้นสู่ท้องฟ้า

ทิศทางลมที่ใช้ในการบินขึ้นและลงคือ ลมปะทะหน้า (head

wind) มีทิศตรงกันข้ามกับทิศของเครื่องบิน (บินสวนทิศทางลม) และ

ลมส่งท้าย (tail wind) มีทิศเดียวกับทิศของเครื่องบิน (บินตามทิศทางลม)

ลมปะทะหน้า

ลมส่งท้าย

ลมที่พัดขวางทางวิ่ง

บรรณานุกรม

IVAO HQ training department. (2015). Headwind & crosswind

calculation. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2558, จาก https://

www.ivao.aero/training/documentation/books/PP_ADC_

Headwind_croswind_calc.pdf

ทวีชัย วรศักดิ์. (ม.ป.ป.). ลมมีความส�

ำคัญต่อการบินอย่างไร. สืบค้น

เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558, จาก

htttp://www.aeromet.tmd.go.th/

met/story/show_2.htm

19

ปีที่ 44 ฉบับที่ 197 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2558