

แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
แสงที่จะกล่าวถึงในบทนี้ คือ แสงที่มนุษย์สามารถ
มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (visible light) หรือที่เรียกว่า
“แสงขาว” (white light) แสงดังกล่าวประกอบด้วย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ (frequency) ต่าง ๆ เรียงกัน
เป็นแถบ เรียก “สเปกตรัม” (ดูรูปที่ 1 ส่วนที่วงด้วยเส้นประ)
ในทางวิทยาศาสตร์นิยมก�
ำหนดความยาวคลื่น (wavelength)
ในหน่วยนาโนเมตร (nanometer)
ท่านเคยมีประสบการณ์ในการซื้อของที่ท่านคิดว่า
มีสีสันสวยงามจากร้านค้า แต่พอกลับมาถึงบ้านหรือ
เพียงแค่น�
ำของออกมาจากร้านค้า สีของของชิ้นนั้นกลับ
ไม่เป็นอย่างที่คิดหรือไม่ บทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจ
ว่าท�
ำไมสีของของที่ท่านคิดว่าสวยงามเมื่อเห็นในร้านค้า
จึงไม่สวยงามเหมือนที่ท่านคิดเมื่ออยู่นอกร้านค้า
ผศ.ดร.ทัศนียา นพรัตน์แจ่มจ�
ำรัส / ผศ.ดร.สุชัย นพรัตน์แจ่มจ�
ำรัส
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อสีที่เห็น
ไม่เป็นอย่างที่คิด
(แสงสีและการมองเห็น)
รูปที่ 1 สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่มา
http://farm3.staticflickr.com/2690/4209533360_517efecd6b_o.jpg
แสงขาวมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400 – 700
นาโนเมตร ประกอบด้วยแสงสีต่าง ๆ ได้แก่ ม่วง คราม
น�้
ำเงิน เขียว เหลือง แสดและแดง หรือสีรุ้งที่เราเห็น
แสงสีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถแยกได้ด้วยปริซึม เรียก
“การกระจายแสง” (light dispersion) หรือด้วย เกรตติ้ง
โดยอาศัย “การเลี้ยวเบน” (diffraction) (ดูรูปที่ 2)
แหล่งก�
ำเนิดแสงขาวที่ส�
ำคัญ คือ ดวงอาทิตย์
ส่วนแสงที่เปล่งออกมาจากหลอดฟลูออเรสเซนซ์หรือหลอดไส้
ที่เราใช้ในชีวิตประจ�
ำวันถือเป็นแสงขาวเช่นกัน
รูปที่ 2 การแยกแสงสีต่างๆออกจากแสงขาวโดยใช้ปริซึม
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/files/u2693/spectr1.jpgแผ่นซีดีซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเกรตติ้ง
ที่มา
http://www.giangrandi.ch/optics/spectrum/spectrum-on-a-cd.jpg
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่อนไหว
นิตยสาร สสวท.
20