

เนื่องจากเซลล์รูปกรวยมีส่วนส�
ำคัญในการรับรู้สี
ของมนุษย์ ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติกับเซลล์รูปกรวย
ย่อมท�
ำให้การรับรู้สีของมนุษย์มีความผิดเพี้ยนไปด้วย
ความผิดเพี้ยนดังกล่าวสามารถแสดงได้ด้วยปรากฏการณ์
ที่เรียกว่า “ภาพติดตา (after image)” ซึ่งเป็นการท�
ำให้ความ
สามารถในการตอบสนองของเซลล์รูปกรวยบกพร่องชั่วคราว
แต่หากความผิดปกติในเซลล์รูปกรวยเกิดในลักษณะถาวร
จะเรียกอาการที่เกิดขึ้นมีชื่อเรียกว่า “ตาบอดสี (color blindness)”
เช่น คนที่มีความผิดปกติกับเซลล์รูปกรวยที่ตอบสนองต่อ
แสงสีแดงจะมีอาการตาบอดสีแดง กล่าวคือ คนผู้นั้นจะรับรู้สี
ที่มีองค์ประกอบของสีแดงผิดเพี้ยนไปจากคนธรรมดา
ความผิดเพี้ยนที่เกิดขึ้นมากน้ อยขึ้นอยู่กับปริมาณและ
ความรุนแรงของเซลล์รูปกรวยที่ตอบสนองต่อแสงสีแดง
แสงสีปฐมภูมิกับการผสมแสงสี
แสงสีปฐมภูมิโดยนิยาม คือ “แสงสีที่รวมกันแล้ว
ท�
ำให้เกิดแสงสีอื่น ๆ แต่แสงสีอื่น ๆ ไม่สามารถรวมกันแล้วเกิด
เป็นแสงสีดังกล่าวได้” ประกอบด้วย แสงสีแดง แสงสีเขียวและ
แสงสีน�้
ำเงิน สอดคล้องกับแสงสีที่เซลล์รูปกรวยสามารถ
ตอบสนองได้ดี รูปที่ 5 แสดงการผสมกันของแม่สีปฐมภูมิที่
มีปริมาณเท่า ๆ กัน เกิดเป็นแสงสีม่วงแดง (แสงสีแดงผสม
กับแสงสีน�้
ำเงิน) แสงสีฟ้าน�้
ำทะเล (แสงสีน�้
ำเงินผสมกับ
แสงสีเขียว) แสงสีเหลือง (แสงสีแดงผสมกับแสงสีเขียว)
และแสงสีขาว (แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีน�้
ำเงินผสมกัน)
รูปที่ 5 ภาพแสดงการผสมกันของแสงสีปฐมภูมิ
ที่มา
http://www.ladyada.net/learn/proj1/AdditiveColorMixing.png
แสงสีที่เกิดจากการผสมกันของแสงสีปฐมภูมิเรียกว่า
“ระดับคล�้
ำสี (shades) หรือ เฉดสีที่เราคุ้นเคย” สีของแสง
ที่เกิดขึ้น ขึ้นกับสีและความเข้มของแสงที่น�
ำมาผสมกัน ดังที่
เราสามารถสร้างสีต่าง ๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วย
การปรับค่าของ Red, Green และ Blue ในโปรแกรม
ตัวอย่างเช่น ถ้าก�
ำหนดค่าสีของตัวอักษรในโปรแกรม
ไมโครซอฟต์เวิร์ด (ดูรูปที่ 6) โดยให้ Red มีค่ามากกว่า Green
และ Blue สีที่ท่านจะได้ คือ ช่วงสีแดง แสด ส้ม เหลือง
รูปที่ 6 ภาพแสดงการเปลี่ยนสีตัวอักษรบนหน้ าจอ
คอมพิวเตอร์ โดยการปรับค่าความสว่างของแสงสีแดง (Red) แสงสีเขียว
(Green) และแสงสีน�้
ำเงิน (Blue)
นิตยสาร สสวท.
22