Previous Page  21 / 61 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 21 / 61 Next Page
Page Background

ดวงตากับการรับรู้สี

การรับรู้ (perception) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้อง

กับขั้นตอนการเลือกสิ่งเร้า (selection) การประมวลสิ่งเร้า

(organization) และการแปลผลตีความสิ่งเร้า (interpretation)

การรับรู้มีความเกี่ยวโยงกับผัสสะ (sensation) หรือขั้นตอน

ที่สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัส (อายตนะ) ซึ่งเป็นการรับ

ข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่ตัว นอกจากนี้การรับรู้ยังเป็นกระบวนการ

ที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับความจ�

ำ (memory) กล่าวคือการแปลผล

ตีความสิ่งเร้ าจะต้องเทียบเคียงกับประสบการณ์ เดิม

ที่บันทึกไว้ หรืออาจกล่าวได้ว่า การรับรู้เป็นสิ่งที่ต้องเรียน

รู้เพราะหากขาดการเรียนรู้หรือประสบการณ์ จะเป็นเพียง

การรับสัมผัสเท่านั้น

ตัวอย่างเช่นการที่มนุษย์ได้ยินค�

ำว่า“แม่”กระบวนการ

ที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังประกอบด้วย การที่หูได้รับข้อมูลที่อยู่ในรูปของ

ชุดความถี่ จากนั้นท�

ำการเปลี่ยนเป็นกระแสประสาทส่งไป

ยังสมองเพื่อตีความ หากมนุษย์ผู้นั้นไม่เคยมีประสบการณ์

เกี่ยวกับค�

ำว่า “แม่” มาก่อนก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายได้

เปรียบเหมือนเวลาที่มีคนต่างชาติมาพูดกับเราด้วยภาษา

ของเขาซึ่งเราไม่รู้จัก เราก็ไม่เข้าใจว่าคนต่างชาติผู้นั้นต้องการ

จะสื่อสารเรื่องอะไรกับเรา หรืออาจกล่าวได้ว่าเราไม่ได้รับรู้

สิ่งที่คนต่างชาติพูด เป็นเพียงการรับสัมผัสทางหูเท่านั้น

อวัยวะส�

ำคัญของมนุษย์ที่ใช้ ในการรับรู้สี คือ ตา

ท�

ำหน้าที่รับแสงสีหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น

ในช่วงที่ตาสามารถมองเห็นได้ หลังจากที่แสงสีต่าง ๆ

ผ่านเลนส์ตา แสงเหล่านั้นจะถูกโฟกัสให้ตกลงบนเรตินา (retina)

หรือจอประสาทตา ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อแสง

บุอยู่บนผิวด้านในของตา เซลล์ที่อยู่บนเรตินามีอยู่สองชนิด

คือ เซลล์รูปกรวย (cone cell) และเซลล์รูปโคน (rod cell)

(ดูรูปที่ 3) ท�

ำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณ

ประสาทหรือกระแสประสาทส่งต่อไปยังสมองให้ท�

ำการแปลผล

รูปที่ 3 องค์ประกอบภายในดวงตา

ที่มา

http://media.tumblr.com/tumblr_lnt5yvtBz71qc9f5v.jpg

เซลล์รูปกรวยท�

ำให้มนุษย์สามารถรับรู้สีต่าง ๆ ได้

เซลล์รูปกรวยเริ่มท�

ำงานได้ดีเมื่อมีความสว่างประมาณหนึ่ง

สังเกตได้จากการที่เราไม่สามารถเห็นสีสันของวัตถุได้หาก

บริเวณที่วัตถุอยู่มีความสว่างน้อย เช่น ในห้องที่ปิดไฟใน

เวลากลางคืน เซลล์รูปกรวยมี 3 ชนิด ตอบสนองได้ดีต่อแสง

ที่มีช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน (ดูรูปที่ 4) ได้แก่ เซลล์

รูปกรวยที่ตอบสนองได้ดีต่อแสงสีแดง แสงสีเขียวและ

แสงสีน�้

ำเงิน การรับรู้สีสันของมนุษย์เกิดจากการที่สมอง

ประมวลและตีความตามปริมาณสัญญาณประสาทที่ส่งมา

จากเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิดนี้ รายละเอียดจะกล่าวถึงใน

หัวข้อถัดไป

รูปที่ 4 กราฟแสดงช่วงคลื่นแสงที่เซลล์รูปกรวยแต่ละชนิด

สามารถตอบสนองได้

ที่มา

http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/vision/img-

vis/colcon.gif

การดูดกลืนแสง

ความยาวคลื่น

21

ปีที่ 44 ฉบับที่ 197 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2558