Table of Contents Table of Contents
Previous Page  36 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 36 / 62 Next Page
Page Background

36

นิตยสาร สสวท

ทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา

ค่ายโอลิมปิกวิชาการของ สสวท. ถูกจ�ำกัดจ�ำนวนไว้

ส�ำหรับนักเรียนเพียงไม่กี่สิบคนต่อวิชา แล้วโครงการ

สอวน. ได้ขยายโอกาสโดยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัย

หลายแห่ งจัดค่ ายอบรมให้แก่นักเรียนทั่วประเทศ

และในปัจจุบัน โครงการ สอวน. ได้ขยายโอกาสเพิ่ม

โดยจัดอบรมครูในโรงเรียนมัธยมที่มีศักยภาพเพียงพอ

เป็นผู้จัดค่ายวิชาการเอง การกระท�ำเช่นนี้ ท�ำให้นักเรียน

จ�ำนวนหลักร้อยหรือพันคนในแต่ละวิชาได้เรียนวิชา

คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ที่ท้าทาย และมีคุณภาพใกล้เคียง

กับการแข่งขันในระดับนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองเรื่องบทบาทของ

โอลิมปิกวิชาการ ที่มีต่อการศึกษาคณิตศาสตร์และ

วิทยาศาสตร์ ในประเทศไทย กับสถานภาพของ

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยนั้น ยังมีวิธี

พัฒนาที่น่าสนใจอีกมากดังนี้

แนวทางแรก เราสามารถกระตุ้นความสนใจ

ในการเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และมีการประกัน

คุณภาพการศึกษาในระดับหนึ่งด้วยจัดค่ายโอลิมปิก

วิชาการให้มีความยากง่ายหลายระดับ และสามารถเข้าถึง

ได้ง่าย โดยผ่านสื่อการเรียนรู้ออนไลน์

ได้ในโรงเรียนมัธยมทั่วไป ยิ่งทุกวันนี้การทดลองสามารถ

จ�ำลองได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวีดิทัศน์ออนไลน์

จึงเป็นการกระท�ำที่แพร่ หลายในขณะที่ราคาอุปกรณ์

อิเล็กทรอนิกส์ได้ลดลงเรื่อยๆดังนั้นหนทางการพัฒนาที่น่าสนใจ

ทางหนึ่งคือ การผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ทั้งวีดิทัศน์

ที่สอนเนื้อหา และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จ�ำลองการทดลอง

เพื่อให้นักเรียนและครูสามารถน�ำไปเรียนหรือจัดค่ายวิชาการ

ได้ด้วยตนเอง โดยแบ่งเนื้อหาให้มีหลายระดับ ตั้งแต่เกริ่นน�ำ

เนื้อหาที่ใช้คณิตศาสตร์ค่อนข้างน้อย เนื้อหาที่ใช้คณิตศาสตร์

มาก และเนื้อหาที่มุ่ งเน้ นเพื่อการแข่ งขันโดยเฉพาะ

ถ้าท�ำได้เช่นนี้ นักเรียนและครูที่สนใจจะแข่งขันอย่างจริงจัง

หรือแค่อยากได้ประสบการณ์เป็นผู้แทนประเทศ ก็สามารถ

เลือกเนื้อหามาใช้ เพื่อเรียนรู้ตามที่ต้องการได้ ปัจจุบัน

อาจารย์ผู้จัดการค่ายฟิสิกส์โอลิมปิกได้แสดงความสนใจ

ในประเด็นนี้ และหวังจะมีวีดิทัศน์เนื้อหาฟิสิกส์คุณภาพดี

ให้เราเห็นในเร็วๆ นี้

ปัจจุบันนักเรียนที่เคยเป็นผู้แทนประเทศไทยได้

ร่วมมือกันจัดท�ำสื่อการเรียนการสอนเช่น Khan Academy

Thailand โดยได้จัดการแปลเนื้อหาความรู้จากภาษาอังกฤษ

เป็นภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายส�ำหรับใช้ในการเรียนการสอน

ด้วยตนเองของนักเรียนที่สนใจ หรือครูน�ำไปใช้ในห้องเรียน

การเป็นผู้แทนประเทศไป

แข่งโอลิมปิกวิชาการเป็นค�ำที่ฟังดู

มีเกียรติ และเป็นเรื่องยากที่ใครจะเข้าถึง

ได้แต่แท้จริงแล้ว การเรียนรู้ การเข้าค่าย

คัดเลือกและเตรียมตัวเป็นผู้แทนประเทศ

เป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป

จึงสามารถแยกย่ อยเพื่ออธิบาย

ให้เข้าใจได้ ส่วนอุปกรณ์ทดลองที่ใช้

ประกอบการสอนบางเรื่องสามารถหา