

37
ปีที่ 44 ฉบับที่ 200 พฤษภาคม - มิถุนายน 2559
แนวทางที่สองที่เราสามารถกระตุ้นความสนใจ
เรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพัฒนาทัศนคติของ
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในสังคมไทย คือการให้อดีตผู้แทน
ประเทศ รวมทั้งนักเรียนที่ผ่านการอบรมโอลิมปิกวิชาการ
ที่ส�ำเร็จการศึกษาและมีอาชีพมั่นคงแล้ว ได้เข้ามาให้ความรู้
เกี่ยวกับงานที่ก�ำลังท�ำ รวมถึงอธิบายความส�ำคัญของ
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทั้งในค่ายโอลิมปิกวิชาการ รวมทั้ง
ประชาชนทั่วไปอย่างเป็นระบบ จริงอยู่ที่ค่ายอบรมและคัดเลือก
ผู้แทนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการนั้นได้ช่วยกระตุ้นให้เกิด
บรรยากาศการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนต่างๆ
ทั่วประเทศ และนักเรียนที่แม้จะไม่ได้เป็นตัวแทนประเทศ
ก็ยังได้ความรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ติดตัวไป
ถึงกระนั้น ก็ยังมีช่องว่างของการเชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ เพื่อน�ำไปใช้ ในการแข่ งขันกับการน�ำไปใช้
ประกอบอาชีพและด�ำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ศิษย์เก่า
ค่ายโอลิมปิกวิชาการผู้มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์แม้จะไม่ใช่โดยตรง ก็สามารถช่วยจัดบทเรียน
ออกข้อสอบ หรือบรรยายความรู้ที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนในค่าย
กับการน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน โดยเฉพาะกระบวนการคิด
อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ส่วนศิษย์เก่าค่ายโอลิมปิกวิชาการที่
ก�ำลังศึกษาหรือมีอาชีพวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
สาขานั้นๆ โดยตรงก็สามารถจัดบทเรียน ออกข้อสอบ หรือ
บรรยายความรู้เกี่ยวกับวงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ว่า
มีงานวิจัยใดที่ก�ำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน และที่สามารถ
น�ำมาช่วยพัฒนาประเทศได้ ปัจจุบันเรายังไม่มีระบบการจัด
กิจกรรมเช่นนี้ให้ศิษย์เก่าค่ายคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
โอลิมปิก แต่การนัดประชุมกันครั้งนี้นับเป็นความหวังที่จะได้
จัดการให้มีระบบต่อไป
ภาพ:
บรรยากาศระหว่างการอบรมค่ายคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ